Pineapple TH-PH

Done

Thursday, May 27, 2010

ทำงานกะดึก ชีวิตกลับตาลปัตร

คนที่ทำงานเป็นกะ โดยเฉพาะเป็นกะดึกหรือผู้ที่ทำงานหมุนเวียนสลับกะไปเรื่อยๆ แบบนี้จะเป็นการรบกวนวงจรนาฬิกาของร่างกาย ผลที่ตามมา...น่าสนใจยิ่ง

1 ปีก่อน หนูนา แม่ลูกอ่อนวัย 35 ปีตัดสินใจลาออกจากงานประจำเพื่อย้ายตามสามีสุดที่รักพร้อมหอบลูกวัย 3 ขวบและ 2 ขวบไปอยู่ต่างจังหวัด เธอเลือกทำงานให้กับบริษัทอเมริกันแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่คนละเขตเวลา นั่นหมายความว่าพอเมืองไทยพลบค่ำ อเมริการุ่งสาง

 ในฐานะผู้จัดการฝ่ายวิจัย หนูนาเริ่มทำงาน 3 ทุ่มไปจนถึง 8 โมงเช้ารุ่งขึ้นทุกวัน จันทร์ถึงศุกร์ หยุดเสาร์ -อาทิตย์ ทำให้ช่วงชีวิตของเธอผิดแผกแตกต่างจากคนทั่วไป

 ลักษณะงานของ หนูนา เหมือนกับเหมยลี่ นางเอกภาพยนตร์เรื่องรถไฟฟ้ามาหานะเธอ ที่ต้องหาข้อมูลหุ้นส่งให้ลูกค้าทั่วโลกไม่มีผิด ต่างกันตรงที่ หนูนา เป็นสาวแม่ลูกอ่อนจึงมีภาระหน้าที่ในการดูแลลูก และสามี ทำให้เวลาในการพักผ่อนน้อยกว่า 

 ที่แย่กว่าคือ เธอเริ่มเผชิญปัญหาสุขภาพเข้าอย่างจัง หลังจากเปลี่ยนมาทำงานกะดึกได้ปีกว่า  สังเกตได้จากอาการหงุดหงิด ซึมเซา น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนดูราวกับว่ากำลังตั้งครรภ์ลูกคนที่ 3   

 " เริ่มรู้สึกตัวว่า มองโลกในแง่ร้าย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะไม่ค่อยได้สังคมกับใครเหมือนสมัยก่อน บางครั้งเกิดอยู่ดีๆ ปากก็ชาขึ้นมาจนตกอกตกใจ เพราะกลัวว่ามันลุกลามไปมากกว่านี้  จนไม่แน่ใจว่า จะสามารถทำงานนี้ต่อไปได้อีกนานแค่ไหน " หนูนาเอ่ยปรับทุกข์

   นพ.อดุลย์ บัณฑุกุล  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาชีวเวชศาสตร์จากศูนย์อาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่ง แวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวว่า ประเทศไทยเริ่มมีคนส่วนหนึ่งเริ่มหันมาทำงานกะกลางคืนกันมากขึ้น นอกเหนือจากอาชีพในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ อย่างแพทย์ พยาบาล ตำรวจ รปภ.นักจัดรายการวิทยุ

 "คนที่ทำงานเป็นกะ โดยเฉพาะเป็นกะดึกหรือผู้ที่ทำงานหมุนเวียนสลับกะไปเรื่อยๆ แบบนี้จะเป็นการรบกวนวงจรนาฬิกาของร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้ฮอร์โมน เอ็นไซม์ต่างๆ หรือสารเซลล์ประสาทสมองของเรา มีกระบวนการทำงานเปลี่ยนแปลงไป ถ้าคนไหนที่ปรับตัวได้ดีก็ไม่มีปัญหา แต่คนไหนที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะทำให้มีความผิดปกติทางด้านสุขภาพขึ้นได้"

 การทำงานเป็นกะในช่วงกลางคืนจะทำให้เวลานอนของผู้ประกอบอาชีพเปลี่ยน แปลงไป ก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพตามมาได้หลายอย่างเช่น อ่อนเพลียเรื้อรัง, น้ำหนักขึ้น, นอนไม่หลับ, โรคกระเพาะอาหารอักเสบ ไม่นับรวมโรคมะเร็ง ทั้งนี้เนื่องจากมันเข้าไปขัดจังหวะการทำงานของนาฬิกาชีวภาพในร่างกาย และฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งผลิตในเวลากลางคืน มีคุณสมบัติกดการเติบโตของก้อนเนื้อ

 “การนอนไม่พอจะทำให้ระบบภูมิคุ้มโรคอ่อนแอถูกจู่โจมได้ง่ายและสามารถ ต่อสู้ กับเซลล์มะเร็งได้น้อยลง งานวิจัยหลายชิ้นพบอัตราการเป็นมะเร็ง ทรวงอก และมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้นในหมู่ชายหญิงที่ทำงานตอนกลางคืน  รวมถึงโอกาสที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ เพราะความดันโลหิตสูงกว่าผู้ที่ทำงานกะกลางวัน ”  ผู้เชี่ยวชาญ กล่าว

        ผู้ประกอบอาชีพที่จำเป็นต้องทำงานอยู่กะกลางคืน จึงควรดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง  โดยเฉพาะผู้หญิง หรือผู้สูงวัย ซึ่งจะมีข้อจำกัดเรื่องปัญหาทางด้านร่างกายและจิตใจมากกว่าผู้ชาย หรือผู้ที่มีสถานภาพโสด ยกตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้วย่อมมีภาระหน้าที่เพิ่มขึ้น ยิ่งถ้าในช่วงเป็นประจำเดือน หรือ ตั้งครรภ์ จะมีอารมณ์แปรปรวนง่าย   

 ข้อแนะนำสำหรับคนทำงานกะดึกอย่างแรก คือ การนอน ถ้าใครที่ทำงานช่วงค่ำเลิกงาน 8 โมงเช้า ควรที่จะฝึกตัวเองให้นอนหลับในช่วงเช้า 9-10 โมงเช้า ฝึกร่างกายให้รับรู้ว่าเราต้องนอนหลับให้ได้  แต่ไม่ควรใช้ยานอนหลับ เพราะอาจทำให้ต่อไปเราจะเกิดอาการดื้อยาและต้องเพิ่มยาไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่เป็นผลดีในระยะยาว  โดยหลักการที่ถูกต้องควรจะนอนให้ได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง

  ต่อมาคือ อาหาร  การทำงานกะดึกก่อนเข้างานต้องทานแค่เพียงเล็กน้อย ถ้าระหว่างทำงานถ้าหิวก็ให้ทานเป็นมื้อเล็กๆ พอเลิกงานก็ให้ทานเป็นมื้อใหญ่ได้เลยทำให้หลับสบาย

 นอกจากนี้ คนทำงานกะควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มจำพวกน้ำอัดลม  เครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีน อาจจะช่วยให้เราตื่นตัวได้บ้าง แต่ถ้าบริโภคมากไปจะทำให้เกิดแนวโน้มเป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือปวดศีรษะ

  นอกจากต้องปรับในเรื่องของการนอนและการรับประทานอาหารแล้ว ควรใส่ใจเรื่องของการออกกำลังกาย  3 วันต่อสัปดาห์ เฉลี่ยวันละ 30 นาที
ส่วน ผู้ที่มีโรคประจำตัวต้องทานยาเป็นประจำ เช่น โรคเรื้อรังอย่างโรคเบาหวาน โรคความดัน  ควรที่จะปรึกษาแพทย์ประจำตัว เพราะการทำงานอาจจะรับประทานหรือนอนไม่ตรงเวลาตามที่แพทย์กำหนด เพื่อแพทย์จะได้ปรับเวลาการรับประทานยาให้เหมาะสมกับเรา รวมทั้งเวลาที่ไม่สบาย ควรแจ้งแพทย์ที่รักษาด้วยว่าเราทำงานกะกลางคืน เพื่อจะได้สามารถปรับการกินยาได้อย่างเหมาะสม

Saturday, May 15, 2010

Color Therapy ศาสตร์แห่งสีเพื่อการบำบัดโรค

Color Therapy ศาสตร์แห่งสีเพื่อการบำบัดโรค
 


สีต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่เราสามารถรับรู้ และมองเห็นได้ด้วยตาเท่านั้น แต่พลังของสี ยังส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และการตัดสินใจของเราอีกด้วย พญ. เรขา กลลดาเรืองไกร จิตแพทย์ ได้เล่าถึงหลักการทำงานของสีไว้ว่า สีแต่ละสีมีความยาวคลื่น (Wave length) และความถี่ (Frequency) ที่แตกต่างกัน เมื่อจอประสาทตาของเรารับแสงสีต่างๆผ่านเข้าไปสู่ต่อมไพเนียลในสมอง (ต่อมไพเนียลทำหน้าที่ควบคุมจังหวะการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของเรา เช่น การกิน การนอน การขับถ่าย เป็นต้น) ต่อมไพเนียลจะมีปฎิกิริยาในการตอบสนองต่อสีแต่ละสีแตกต่างกันออกไป ซึ่งส่งผลให้ความรู้สึก จิตใจ ฮอร์โมน และอารมณ์ในร่างกายของเราในขณะนั้น รู้สึกแตกต่างกันออกไป เช่น เมื่อจอประสาทตารับแสงสีแดงจะทำให้เกิดความรู้สึกตื่นตัว รับแสงสีม่วงจะทำให้รู้สึกสงบ เป็นต้น

ด้วยความหลากหลายของสี นี่เอง นักจิตวิทยาจึงสามารถนำพลังของแต่ละสีมาปรับใช้เพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วย ต่างๆของร่างกายและจิตใจให้กับผู้ป่วยมากมายในปัจจุบัน โดยเรียกศาสตร์แห่งการรักษานี้ว่า สีบำบำบัด หรือ Color Therapy

พลัง แห่งสีกับการบำบัดโรค

การใช้สีบำบัดสามารถแบ่งชนิดหรือโทนของสีออก เป็นสองแบบคือ สีโทนร้อน และสีโทนเย็น 

กลุ่มสีโทนร้อน เช่น สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง จะเป็นกลุ่มสีที่ทำให้เกิดความรู้สึกมีพลัง เร่าร้อน  กระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง ในทางจิตวิทยาความแรงของสีโทนร้อนจะช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเจริญอาหาร ทำให้เกิดความรู้สึกหิว และกระตุ้นให้มีชีวิตชีวาอยู่เสมอ

  • สี เหลือง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น
    สีเหลืองเป็นสีแห่งความสนุกสนาน ความฉลาดรอบรู้ สดใสร่าเริง และทำให้มีอารมณ์ขัน ทั้งนี้ผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองมักอุดมไปด้วยวิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันหวัดและช่วยเสริมสร้างความเจริญเติบโตในร่างกาย พลังของสีเหลือง ช่วยให้ระบบการทำงานของน้ำดีและลำไส้เป็นไปตามปกติ ช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ทำให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น ทั้งยังสามารถใช้เยียวยาอาการท้อแท้หดหู่และหมดกำลังใจของผู้ป่วยบางประเภท ได้อีกด้วย
  • สีส้ม รักษาโรคหอบหืด
    สีส้มเป็นสีแห่งความสร้าง สรรค์ อบอุ่น สดใส มีสติปัญญา ความทะเยอทะยานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง และในขณะเดียวกันก็มีความระมัดระวังไปในตัว ผลไม้และผักที่มีสีส้มอุดมด้วยวิตามินบี ที่ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด เผาผลาญแป้งและน้ำตาล บำรุงระบบประสาท พลังของสีส้ม ช่วยคลายอาการหอบหืด และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ช่วยรักษาความผิดปกติของม้าม ตับอ่อน ลำไส้ ทั้งยังช่วยในการดูดซึมอาหารของกระเพาะและลำไส้ได้เป็นอย่างดี

    ใน ทางจิตวิทยา พลังของสีส้มมีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการซึมเศร้า หากคุณต้องการเรียกพลังความกระตือรือร้นในชีวิตให้กลับคืนมา สีส้มเป็นสีที่คุณควรมองหาและนำมาประยุกต์ใช้ให้มากที่สุด
  • สี แดง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
    สีแดง เป็นสีที่กระตุ้นระบบประสาทของเราได้รุนแรงที่สุด ให้ความรู้สึกเร้าใจ ตื่นเต้น ท้าทาย ตื่นตัว ผักและผลไม้สีแดงเป็นแหล่งของวิตามินบี 12 ทองแดงและเหล็ก ซึ่งช่วยบำรุงระบบประสาท พลังของสีแดงกระตุ้นพลังชีวิตให้มีความเข้มแข็ง กระตือรือล้นและมีชีวิตชีวา ในแง่ของการรักษา สีแดงมีอิทธิพลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง เพิ่มอุณหภูมิในร่างกาย เพิ่มพลังในระบบการไหลเวียนของเลือด และรักษาอาการหวัด

    เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ ควรรีบหาสีแดงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันโดยเร็ว ทั้งนี้เพราะพลังแห่งความมั่นใจ กล้าแสดงออก และความรักที่มีอยู่ในสีโทนร้อนเช่นสีแดงนั้นจะสามารถสร้างความรู้สึกเชื่อ มั่นในตัวเองให้กับคุณได้เป็นอย่างดี
  • สีม่วง ปรับสมดุลในร่างกาย
    สีม่วง เป็นสีแห่งผู้รู้ ช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย กระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ และสร้างความสงบในจิตใจได้เป็นอย่างดี ผักและผลไม้ที่มีสีม่วงเต็มเปี่ยมไปด้วยวิตามินดี ซึ่งช่วยเพิ่มพลังงาน ช่วยในการย่อยอาหาร พลังของสีม่วงช่วยปรับสมดุลในร่างกายของเราให้กลับมาเป็นปกติ ใช้บำบัดโรคไต กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคผิวหนังบางชนิด อีกทั้งยังช่วยในการบำบัดโรคไขข้อได้อีกด้วย

    จากการวิจัยพบว่าพลัง ของสีม่วง ยังช่วยให้สมองของเราสงบ และสามารถสร้างแรงบันดาลใจในด้านต่างๆ ทั้งยังก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในตัวเราไปในคราวเดียวกัน เมื่อคุณต้องขบคิดกับปัญหาที่ยังไม่สามารถหาทางออกได้ การนำสีม่วงเข้ามาประยุกต์ใช้กับข้าวของเครื่องใช้ที่อยู่รอบตัวคุณ จะทำให้คุณสามารถตัดสินใจกับเรื่องต่างๆได้ง่ายขึ้น


กลุ่มสีโทนเย็น
 ช่น สีเขียว สีน้ำเงิน สีฟ้า เป็นต้น เป็นกลุ่มสีที่ให้ความรู้สึกสดชื่น สงบ ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ และไม่ทำให้เครียด สีโทนเย็นจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องทำงานหนักและใช้ความคิดเป็นอย่าง มาก

  • สีเขียว บรรเทาอาการเครียด
    สีเขียวเป็นสีที่เด่นที่สุดบน โลก ให้ความรู้สึกร่มรื่น สบายตา ผ่อนคลาย ปลอดภัย ทำให้เกิดความหวังและความสมดุล นอกจากนี้ผักผลไม้สีเขียวก็อุดมไปด้วยแร่ธาตุสำคัญมากมายโดยเฉพาะวิตามินซี ซึ่งช่วยในการสมานแผล ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง เล็บสวย ฟันสวย เพิ่มความต้านทานโรค ในด้านการรักษา ใช้เมื่อต้องการผ่อนคลายความตึงเครียด เพราะพลังของสีเขียวสามารถทำให้ประสาทตาผ่อนคลาย และความดันโลหิตของเราลดลงได้ ทั้งยังช่วยผ่อนคลายระบบประสาท ป้องกันการจับตัวของก้อนเลือด ต่อต้านเชื้อโรค รักษาอาการของคนเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เยื่อบุอักเสบ เป็นต้น
  • สีน้ำเงิน บรรเทาความดันสูง
    สีน้ำเงิน เป็นสีที่มีความสุขุม เยือกเย็น หนักแน่น และละเอียดรอบคอบ พลังของสีน้ำเงิน ทำให้ระบบหายใจของเราเกิดความสมดุลและแข็งแรงขึ้น ใช้ในการรักษาโรคความดันสูง และคลายความเหงา อีกทั้งยังเป็นสีที่ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีก ด้วย
  • สีฟ้า บรรเทาโรคปอด
    สีฟ้า เป็นแม่สีที่ให้ความรู้สึกสงบเยือกเย็น เป็นอิสระ ปลอดโปร่ง สบาย ปลอดภัย ใจเย็น และระงับความกระวนกระวายในใจได้ดี พลังของสีฟ้ามีคุณสมบัติในการรักษาอาการของโรคปอด ลดอัตราการเผาผลาญพลังงาน รักษาอาการเจ็บคอ และทำให้ชีพจรของเราเต้นเป็นปกติ


เมื่อ รู้จักประโยชน์ของสีแต่ละสีกันไปแล้ว ทีนี้เรามาดูกันต่อดีกว่า ว่าจะสามารถนำสีสันทั้งหลายเหล่านี้มาปรับและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของ เราได้อย่างไรบ้าง


สีบำบัดกับการปรับใช้ใน ชีวิตประจำวัน

แม้ผลการรักษาอาการผิดปกติของร่างกายโดยการใช้ สีบำบัดจะไม่เห็นผลชัดเจนเท่ากับการกินยา แต่การนำความรู้เรื่องประโยชน์ของสีมาบำบัดอาการต่างๆนั้นก็ทำให้อาการต่างๆ ของโรคที่เป็นอยู่ดีขึ้นได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งยังสามารถทำได้ในทันที เพียงแค่นำของที่มีและใช้อยู่เดิมในชีวิตประจำวันมาปรับใช้ให้เข้ากับอาการ ที่เป็นอยู่ เช่น ทาห้องครัวเป็นสีส้ม ใช้จานใส่อาหาร หรือแก้วน้ำเป็นสีแดง เพื่อกระตุ้นการเจริญอาหาร หรือสำหรับคนทำงานที่ต้องใช้ความคิดเป็นประจำ ก็ควรนำความรู้เรื่องสีมาปรับใช้ เช่น หาต้นไม้สีเขียวต้นเล็กๆมาไว้ที่โต๊ะทำงาน นำดอกไม้โทนสีร้อนเช่น ดอกกุหลาบ ดอกลาเวนเดอร์มาปักแจกัน เพื่อลดความเครียด และกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ 

อย่าง บางคนที่นอนหลับยาก ก็ไม่ควรเลือกใช้เครื่องนอนที่มีสีเข้ม เพราะจะยิ่งไปกระตุ้นให้ยิ่งเครียดและตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ผนังห้องนอนก็ควรทาสีโทนเย็น เช่น สีฟ้าอ่อน สีเขียวอ่อน ชมพูอ่อน เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายและนอนหลับง่าย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกใส่แต่เสื้อผ้าสีเดียวอยู่ตลอดเวลา เพราะจะทำให้ร่างกายเกิดอาการไม่สมดุล และในขณะเดียวกันก็ไม่ควรวิตกกังวลกับการเลือกใช้สีมากเกินไป แค่ประยุกต์สีสันบนข้าวของเครื่องใช้ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันให้เข้ากับตัว เองมากที่สุดก็เพียงพอแล้ว