Pineapple TH-PH

Done

Saturday, December 17, 2011

การวิเคราะห์จริตมนุษย์ 6 ประเภท

การวิเคราะห์จริตมนุษย์ 6 ประเภท  



เราคงจะได้ยินกันบ่อยว่า สามีหรือภรรยา ต่างไม่เข้าใจกันแม้จะอยู่ด้วยกันมานับสิบๆปี หรือ พ่อแม่ มาบ่นให้ผู้เขียนฟังว่าไม่ค่อยเข้าใจ ลูก เลย ทำไมถึงมีพฤติกรรมแปลกๆ ส่วนในที่ทำงาน หลายคนกำลังกลุ้มกับ หัวหน้า ที่ดูเหมือนจะศรศิลป์ไม่กินกัน จนแทบอยากจะลาออกจากงาน ส่วนหัวหน้าก็กลุ้มใจกับ ลูกน้อง ที่ ดูเหมือนจะสั่งงานไม่ไป พูดอย่างไปอีกอย่าง หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้เราเข้าใจบุคคลที่อยู่รอบตัวท่านได้ดีขึ้น ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากการที่ คนเรามักมองตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และ มองออกไปหาคนอื่น เราแทบไม่ได้คิดจากคนอื่นกลับมาหาเรา หรือถ้าคิดก็มักคิดว่า ทุกคนต้องคิดเหมือนเราทำเหมือนเรา ถ้าไม่ทำอย่างอย่างที่เราคิดหรือคาดหวังว่าจะทำแล้วก็จะรู้สึกไม่สบอารมณ์

ที่จริงแล้ว มนุษย์เราแต่ละคนมีระบบความคิด ระบบการมองโลกที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าจะเป็นพี่น้องกัน หรือว่าอยู่ในครอบครัวเดียวกัน การที่เราสามารถเข้าใจระบบการมองโลกและระบบความคิดของเขา

เราสามารถอ่านใจสามีหรือภรรยา ลูก หัวหน้าหรือลูกน้องได้ เราสามารถคาดว่าถ้าเราพูดอย่างนี้ เขาจะโต้ตอบมาว่าอย่างไร จะไม่มีการแปลกประหลาดใจ โดยเฉพาะผู้เป็นคุณพ่อคุณแม่จะได้เข้าใจถึงลูกของตัวเองดีขึ้น หัวหน้าจะได้มอบหมายลูกน้องให้ทำงานตรงกับลักษณะนิสัย จะได้ไม่ประหลาดใจกับผลที่ได้เมื่อสั่งงานไปแล้ว ส่วนหากเราเป็นลูกน้องก็จะสามารถเข้าใจนายว่าทำไม่เขาถึงพูดถึงทำเช่นนั้น และเราจะมีทางหนีทีไล่ได้อย่างไรเมื่อไปเจอกับหัวหน้ารูปแบบแตกต่างๆ

หากคนเรามี ความเข้าใจกันแล้ว สามารถคาดคะเนพฤติกรรมของกันละกันแล้ว รู้ว่าจะพูดอย่างไรทำเช่นไรกับคนประเภทต่างๆ แล้ว ความขัดแย้งก็จะลดน้อยหายไป ในทางกลับกัน เราจะรู้สึกสงสารเห็นใจ รู้จักจักประนีประนอม ถนอมน้ำใจคนอื่น เพื่อให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

ที่สำคัญที่ สุด เราจะได้รู้จักตัวเองดีขึ้นว่า เราเป็นคนเช่นไร คนเราส่วนใหญ่มองตัวเองไม่ออก เพราะเรามักจะมองออก เราไม่คอยได้มองกลับมาหาตัวเอง เราแทบจะเคยสังเกตว่าเราใส่แว่นสีอะไร เพราะเราใส่มันมาตั้งแต่เกิดแล้ว เราแทบไม่เคยสังเกตระบบการมองโลก ระบบความคิด และนิสัยว่าเป็นอย่างไร เพราะเราคุ้นเคยกับมันหรือไม่ก็คิดว่ามันเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับความเป็น ตัวเราจนแยกไม่ออก เราไม่เคยคิดจะเปลี่ยนความคิดเพราะคิดว่ามันหมายถึงเปลี่ยนความเป็นตัวของ เรา หรือเพราะคิดว่ามันเป็นธรรมชาติของเรา หนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้เราเข้าใจจิตใจ ความรู้สึก เข้าใจอารมณ์พื้นฐาน และระบบความคิดของตัวเองได้ดีขึ้น

เมื่อเราเข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้เท่านั้น ท่านจึงจะสามารถเข้าใจผู้อื่น เมื่อเราเข้าใจและเกิดความเมตาในตัวเองเท่านั้น เราจึงจะสามารถมีความเมตราต่อผู้อื่นได้ และเราจะต้องรู้และเข้าใจตัวเราเองแล้ว เราถึงจะปรับเปลี่ยนตัวเราเองได้

แนวความคิด เกี่ยวกับประเภทของจิตมนุษย์ในหนังสือเล่มนี้มีรากฐานจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งผู้ประพันธ์เป็นพระอรหันต์ชาวลังกา ในคัมภีร์ดังกล่าวได้อธิบายถึงสภาวจิตของคนเราหรือจริตมีอยู่ด้วยกัน 6 ประเภท ได้แก่ โทสะจริตหรือสภาวจิตที่โกรธง่าย โมหะจริตหรือจิตที่มักอยู่ในสภาพง่วงนอนซึมเศร้า วิตกจริตหรือสภาวจิตที่ช่างกังวลสงสัยฟุ้งซ่านเป็นอารมณ์ ราคะจริตคือสภาวจิตที่หลงติดในรูปรสกลิ่นเสียง ศรัทธาจริตคือสภาวจิตที่มีปรัชญาหรือหลักการของตัวเองและพยายามให้บรรลุถึง จุดนั้น ประการสุดท้าย พุทธิจริตคือสภาวจิตที่ เน้นการใช้ปัญญาในการหาเหตุหาผลแก้ปัญหา

คำว่าจริตใน ที่นี้จึงหมายถึงสภาวจิตของเรา จากการแบ่งจริตมนุษย์เป็น 6 ประเภทใหญ่ ท่านจะสามารถสังเกตได้ว่าตัวท่านเองและคนรอบๆ ตัวท่านเป็นคนประเภทใด แม้ว่าคนเราอาจมีหลายจริตประสมประสานกันอยู่ แต่จะมีจริตใดจริงหนึ่งที่เด่นกว่าจริตอื่นในแต่ละขณะเวลา

โทสะจริต

หากเราเป็นโทสะจริต

คน ที่อยู่กลุ่มโทสะจริต หรือมีสภาวะอารมณ์เป็นอารมณ์โกรธ คนที่อยู่ในกลุ่มนี้โดยธรรมชาติแล้วเป็นบุคคลผู้มีหลักการของตนเองในการทำ งานและในการกระทำต่างๆ และมักเป็นผู้เคารพกฎเกณฑ์และมีวินัยสูงกว่าจริตอื่นๆ และการที่ตัวเองมีหลักเกณฑ์ ระเบียบวินัยค่อนข้างสูง จึงทำให้ทนไม่ได้เมื่อมาเจอผู้ที่ไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีเคารพหลักเกณฑ์ นอกจากนี้จะเป็นคนที่รักษาคำพูดรักษาเวลา จึงทำให้ทนไม่ได้มาเมื่อกับคนที่ไม่รักษาคำพูดไม่รักษาเวลา

กลุ่ม โทสะจริตมักคาดหวังว่าโลกจะเป็นอย่างที่ตัวเอง และจากการที่ตัวเองมักจะมีระเบียบวินัยสูงกว่าคนปกติ ก็มักจะคิดว่าโลกควรจะเปลี่ยนไปเหมือนตัวเอง แต่เมื่อพบว่าโลกไม่ได้เป็นอย่างนั้น และไม่สามารถเปลี่ยนโลกได้ ก็เกิดความขุ่นเคืองลึกๆ อยู่ในใจอยู่เสมอ และพร้อมจะระเบิดออกมาได้เมื่อเจอกับผู้ที่ไม่มีความเป็นระเบียบวินัย หรือความไม่ถูกต้อง

การ ที่ยึดมั่นในหลักการและกฏเกณฑ์ต่างมากกว่าคนอื่นๆ ทำให้เป็นคนตรงไปตรงมา ทำให้บุคคลที่เป็นโทสะจริงมีสมาธิแรงมาก แต่ในทางกลับคนที่มีพื้นฐานจิตเป็นโทสะจริตมักมีสติค่อนข้างอ่อน เพราะไม่ได้ดูโลกตามความเป็นจริง ไม่ได้ดูว่าคนอื่นเขาคิดอย่างไร แตกต่างกันเราอย่างไร อันที่จริงแล้วคนกลุ่มก็แทบไม่สนใจดูคนอื่นหรือดูโลกเท่าไรเลย เพราะคิดว่าโลกหรือทุกคนควรจะเปลี่ยนตัวเองไปตามหลักการหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง นั้นคือ ทุกคนควรมีวินัย ควรตรงต่อเวลา ควรเคารพกฏเกณฑ์ โลกของกลุ่มโทสะจริตเป็นโลกที่ควรจะเป็น ไม่ใช่เป็นโลกที่เป็นอยู่จริง คนที่ไม่สามารถทำได้จะถูกดูว่าไม่มีความสามารถ และมีท่าทางเย้ยหยันโลก ดูถูกโลก กลุ่มโทสะจริตจึงไม่ค่อยมีความเมตรากับคนอื่นมากนัก เพราะมองว่า คนพวกนี้ทำตัวของตัวเอง ไม่รักษาคำพูด ไม่มีระเบียบวินัยเอง ดังนั้น เขาจึงได้รับผลจากกระทำของตัวเองดังกล่าว

คน ประเภทโทสะจริตลึกๆ แล้วก็เป็นคนอ่อนข้างในเพราะไม่ค่อยได้รับความรักความอบอุ่น จึงมีความน้อยใจหรือต้องการความรักความอบอุ่นอยู่ลึกๆ แต่เมื่อไม่ได้รับการตอบสนอง เลยจำต้องยึดกรอบเกณฑ์ระเบียบเป็นเสมือนเป็นเกราะป้องกันความอ่อนแอภายใน และไม่ต้องการให้ใครได้เห็นความอ่อนแอดังกล่าว แต่การที่มีเกราะขึ้นมาป้องกันมากทำให้ไม่สามารถแสดงความรักความรู้สึกได้ มากเท่าไร ทำให้จิตใจค่อนข้างขุ่นเคืองเป็นประจำ

เราจะสังเกตคนกลุ่มโทสะจริตได้อย่างไร

คน ที่อยู่ในกลุ่มโทสะจริตจะมีวิธีการพูดที่ตรงๆ ไม่กลัวใคร การพูดจาจะมีพลัง เสียงดังฟังชัด ฟังแล้วน่าเกรงขาม เพราะมีสมาธิแรง แต่คำพูดค่อนข้างแรงและหนัก ฟังแล้วไม่รื่นหูคำพูดอาจไม่ไพเราะ เพราะไม่คำนึงถึงความรู้สึกของคนฟังเท่าไร นอกจากนี้ จะพูดค่อนข้างเร็ว เพราะไม่ได้ยินเสียงตัวเอง ทำให้ผู้อื่นรับรู้ พฤติกรรมดูหยาบและดูหนัก

นอก จากนี้ยังเป็นคนพูดชี้ถูกชี้ผิด เพราะคนที่เป็นโทสะจริตเป็นคนที่คิดว่าตัวเองมีหลักการ และยึดกฏเกณฑ์เป็นที่ตั้ง ดังนั้นจะมีสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกต้องอยู่ในใจเสมอ สิ่งไหนที่ไม่เป็นไปตามหลักการและกฏเกณฑ์ของตนเองแล้วย่อมไม่ใช่สิ่งที่ถูก เนื่องจากคนประเภทนี้มักจะเชื่อว่าตัวเองมีคุณธรรม มีวินัยสูง มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นประเภทเจ้าระเบียบ เจ้ากฏเกณฑ์ จึงมักจะใช้หลักเกณฑ์ของตนเองเข้าชี้ผิดชี้ถูกคนอื่นอยู่เสมอ เป็นคนที่เคารพกฏเกณฑ์จึงมักทนไม่ได้ที่เห็นใครละเมิดกฏเกณฑ์ขององค์กรหรือ ของสังคม ทำให้คนอื่นมองว่าเป็นพวกชอบจับผิด

หากจะดูวิธีการแต่งกายของคนที่มีลักษณะโทสะจริตจะเห็นได้ว่า ค่อนข้างเป็นระเบียบ การแต่งตัวค่อนข้างประณีต สะอาด สำหรับสีที่ชอบจะเป็นสีฉูดฉาดหรือไม่ก็สีเข้ม เช่น แดง สีส้มสด เหลืองสด เพราะทำให้อารมณ์นิ่งสงบและเข้าสู่ภาวะปกติ

คนในกลุ่มนี้จะมีการเดินที่รวดเร็วและตรงแน่ว เพราะเขารู้ชัดเจนว่าจะเดินไปทางไหน เนื่องจากเป็นคนที่เคารพเวลาและมีวินัย จึงไม่ค่อยวอกแวก และรู้สักตัดบทเก่ง ไม่เออระเหยลอยชาย

ดวงตาจะสว่างไสวและเป็นประกาย เพราะสมาธิสูง หน้าจะมีสีสันต์และพลังงาน แต่หน้าตาอาจไม่สวยไม่หล่อนัก เพราะจิตมีความขุ่นเคืองเป็นอารมณ์ ไม่แจ่มใสเบิกบาน ประกอบกับไม่มีความเมตราทำให้ไม่มีเสน่ห์และบารมีมากนัก

จุดแข็งจุดอ่อนของโทสะจริต

จุดแข็งของบุคคลที่เป็นโทสะจริตคือ จะผู้อุทิศทุ่มเทให้กับการงานสูง สามารถทำงานได้รวดเร็ว และเป็นไปตามที่ได้รับมอบหมายไม่ผิดพลาด เนื่องจากเป็นคนที่มีสมาธิสูงอยู่แล้ว และไม่ปรุงแต่งฟุ้งซ่าน จึงฟังอะไรไม่ผิดพลาด และทำงานไม่ผิดพลาด ประกอบกับการเป็นผู้มีระเบียบวินัย เคารพกฏเกณฑ์ทำให้เป็นใหญ่เป็นโตในหน้าที่การงานได้อย่างไม่ยากเย็นโดยเฉพาะ ในหน้าที่การงานที่เน้นกฏเกณฑ์ ข้อบังคับต่างๆ การตรวจสอบความถูกต้อง เช่นผู้ตรวจสอบบัญชี ผู้ดูแลด้านปฏิบัติการ (operation) หรืองานของระบบราชการ

เป็นคนมีระเบียบวินัยสูง ตรงต่อเวลา หากนัดหมายกับคนที่เป็นจริตนี้ ต้องตรงเวลา เพราะเขาจะมาตรงเวลาและจะดูถูกพวกที่ไม่มีวินัยไม่เคารพสัญญา และไม่ตรงเวลา

เป็นนักวิเคราะห์ที่เก่ง เพราะมองอะไรตรงไปตรงมาไม่ปรุงแต่ง จึงสามารถมองเห็นเหตุมองเห็นผลได้ชัดเจน จึงเหมาะเป็นผู้ร่วมวางแผน

เป็นผู้ที่สามารถพึ่งพาได้ เนื่องจากเป็นผู้มีหลักการ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ไม่มั่วไม่ใช้อารมณ์หรือเล่นพวกเล่นพ้อง

มีความจริงใจต่อผู้อื่นพูดอะไรเป็นคำไหนคำนั้น ไม่เป็นคนแทงคนข้างหลัง แต่อาจแทงข้างหน้าเลย หากจะด่าก็จะด่าต่อหน้าไม่ด่าลับหลัง และจะด่าทันทีท่ามกลางที่ประชุมหรือสาธารณชนได้โดยไม่หวั่นเกรงหรือหวั่นไหว ต่อสายตาหรือความรู้สึกใดเหมือนคนจริตอื่นๆ การที่มีลํกษณะดังกล่าวทำให้คนที่เป็นโทสะจริตจะเป็นที่เกรงขามหรือเกรงกลัว ของคนอื่นโดยธรรมชาติ

เป็นคนตรงไปตรงมา ไม่มีน้ำผึ้งผสม ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม พูดคำไหนเป็นคำนั้น ทำให้เป็นผู้ที่แม้ไม่น่าคบแต่ก็น่าทำธุรกิจด้วย

เป็นคนไม่ค่อยโลภเพราะอยู่ในโลกของความคิด โลกของความน่าจะเป็น โลกของหลักการและ กฏเกณฑ์มากกว่าโลกของวัตถุสิ่งของ

คนที่มีลักษณะเป็นโทสะจริตจะมีจุดอ่อนสำคัญคือ โกรธทั้งวัน อะไรผิดหูนิดๆ หน่อยไม่ได้ ทำให้อารมณ์ขุ่นมัวเป็นนิจ ไม่ค่อยไม่เป็นที่น่าคบค้าสมาคมของผู้อื่น

อารมณ์ที่ขุ่นมัวขุ่นเคืองอยู่เสมอนำมาสู่ซึ่งโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย จึงทำให้คนจริตนี้มักจะมีโรคภัยไข้เจ็บซึ่งเป็นผลจากอารมณ์โกรธและความไม่ผ่องใสของจิตได้ง่าย

การใช้คำพูดที่ก้าวร้าวรุนแรง ตลอดจนเสียดสีจิตใจผู้อื่นเป็นการสร้างวจีกรรมอยู่ตลอดเวลา สร้างความขุ่นเคืองใจให้กับผู้อื่น เกลียดชัง และอาจทำไปสู่การทะเลาะวิวาทค่อนข้างบ่อย นอกจากนั้น การชอบจับผิดคนอื่น หรือมองคนอื่นว่าไม่เก่งหรือมีความสามารถเท่าตัวเอง มีนิสัยค่อยข้างเหย่อหยิ่งอวดดี ทำให้ความสัมพันธ์กับคนอื่นไม่ค่อยราบรื่น มักจะต้องอยู่คนเดียวไม่มีเพื่อนหรือต้องอยู่เป็นโสด ไม่แต่งงานเพราะหาคนที่ดีพอเท่าตัวเองหรือมีระเบียบเท่าตัวเองไม่ได้ ถ้าแต่งงานก็ไม่ค่อยมีความสุขเท่าไร เพราะอีกฝ่ายรู้สึกว่าเหมือนเข้าอยู่โรงเรียนประจำ

การที่อยู่ในโลกของกรอบ โลกของหลักการและหลักเกณฑ์ทำให้ไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีความคิดริเริ่มอะไรที่แหวกแนว การที่พูดจาตรงไปตรงมาไม่สนใจความรู้สึกคนฟังทำให้แทบไม่มีความถนัดด้านการตลาด

นอกจากนี้ คนที่มีลักษณะโทสะจริตมักจะตกอยู่ในหลุมกลของนิสัยตัวเอง เพราะการที่แสดงความโมโหเกรี้ยวกราดมักจะนำมาสู่ความเกรงกลัว นำมาสู่อำนาจเหนือผู้อื่น และมักจะนำมาสู่สิ่งที่ตัวเองประสงค์อยู่เสมอ ทำให้เป็นการบ่มเพาะนิสัยช่างโมโหของตัวเองอยู่ตลอดเวลา และยากที่แก้นิสัยดังกล่าวได้

ถ้าท่านเป็นโทสะจริตต้องทำอย่างไร

ถ้าท่านเป็นโทสะจริต จุดเดือดของท่านจะต่ำ ท่านจะโมโหง่าย รำคาญคนง่าย หากท่านเริ่มรู้ตัวว่า เริ่มโกรธเริ่มโมโหเริ่มรำคาญใจ ให้ทำตัวเป็นขอนไม้ นิ่ง ต้องหยุดมโนกรรม วจีกรรม และกายกรรมที่เป็นอกุศลก่อน เพราะจะนำมาซึ่งความเสียหายทั้งต่อตัวเองและคนอื่น การสร้างความเจ็บปวดให้ผู้อื่นไม่ว่าจะโดยวจีกรรมหรือกายกรรมก็ตาม ในที่สุดแล้วจะส่งผลกลับมาให้ตัวเราเอง ดังนั้น หากอารมณ์ท่านเริ่มขยับด้วยความโกรธแล้ว ให้ทำตัวเป็นขอนไม้ มิฉะนั้นจะสร้างกรรมเพิ่มมากขึ้น

คนที่เป็นโทสะจริตจะอยู่ในอารมณ์ เมื่อเกิดความโกรธหรือโมโหก็มักไม่ค่อยรู้ตัวว่า กำลังโกรธหรือโมโหอยู่ จะรู้อีกทีก็เมื่อหายโมโหแล้ว ซึ่งในขณะนั้น ท่านอาจจะพูดหรือทำอะไรไปแล้วมากมายโดยไม่ได้ตั้งใจ และอาจต้องเสียใจภายหลัง จึงขอให้ท่านหัดลองสังเกตดูอารมณ์ของตัวเองเป็นประจำ ถามตัวเองอยู่เสมอว่า ตอนนี้รู้สึกอะไร รู้สึกดีใจ รู้สึกเสียใจ รู้สึกรำคาญ รู้สึกโกรธ ท่านจะสังเกตุเห็นว่า อารมณ์ของทางจะค่อนข้างมีแต่ความขุ่นเคือง รำคาญ อึดอัด มากกว่าความรู้สึกอื่น เพราะส่วนหนึ่งเป็นเพราะท่านได้สร้างกรอบตัวเองไว้ขังตัวเองค่อนข้างมากอยู่ แล้ว ท่านได้ขีดเส้นให้ตัวเองเดินซ้ายเดินขวาอยู่ตลอดเวลา แต่การที่ท่านฝึกถามไปเรื่อยๆ จะทำให้เริ่มเห็นอารมณ์ของท่าน ในยามที่ความโกรธกำลังจะครอบหงำจิตใจของท่านนั้น หากท่านเห็นเริ่มเห็นอารมณ์ในยามนั้น เห็นความโกรธเกรี้ยวของสภาวะอารมณ์ในยามนั้นแล้ว ก็จะช่วยดึงสติกลับมาก่อนที่ท่านจะทำอะไรรุนแรงไป เป็นการเตือนสติให้รู้จักความผ่องใส ให้รู้จักการปล่อยวาง ทำให้อารมณ์ที่กำลังจะเพิ่มระดับความรุนแรง พอคลายลงมาได้บ้าง

เจริญเมตตาให้มาก คนในจริตนี้มักจะทำร้ายผู้อื่นได้ง่ายกว่าจริตอื่นๆ คนซึ่งมีการขัดเกลาทางด้านจิตใจน้อยหน่อย ก็อาจจะทำร้ายผู้อื่นทางร่างกาย แต่ผู้มีการขัดเกลาทางจิตใจมากขึ้นหน่อยก็จะทำร้ายผู้อื่นทางวาจา แต่ไม่ว่าท่านจะทำร้ายด้วยวิธีใดโดยจะรู้ตัวหรือไม่ หากเริ่มโมโหหรือโกรธ ขอให้รีบเจริญเมตราต่อผู้อื่น เพราะความโมโหหรือโกรธจะหยุดด้วยความเมตรา หากโมโหมากๆ ให้เหลือบดูสีหน้าของบุคคลที่อยู่รอบข้าง ซึ่งมีความทุกข์และความเศร้าพอเพียงอยู่แล้ว ท่านไม่ควรซ้ำเติมให้เขามีความทุกข์กายทุกข์ใจมากกว่านี้ ให้คิดว่า การทำร้ายด้วยวจีกรรม ก็ไม่กับต่างกับการทำร้ายด้วยพละกำลัง การเจ็บกายอาจหายได้ แต่การทำให้คนอื่นเจ็บใจนั้น จะฝังอยู่เนินนาน ซึ่งนับว่าเป็นการสร้างกรรมที่รุนแรงกว่าการกระทำเสียอีก

ฟังเสียงที่ตัวเองพูด ว่าเป็นอย่างไร น้ำเสียงชวนให้เป็นมิตรหรือสร้างศัตรู น่าติดตามฟัง น่าเชื่อถือ หรือว่าน่าเบื่อ ชวนรำคาญ และฟังว่าคำพูดที่ออกมาง่ายต่อการเข้าใจหรือเปล่า ปกติคนที่เป็นโทสะจริตมักไม่ค่อยฟังเสียงตัวเอง หากเราฟังเสียงของเราที่เปล่งออกมาแล้ว เราก็จะ เลิกสงสัยเสียทีว่า ทำไมเราพูดอย่างนี้แล้วเขาถึงยังไม่เข้าใจเรา หรือทำไมเขาถึงไม่ชอบเรา ทำเขาถึงโกรธหรือโมโหเรา

ให้เริ่มคิดว่าโลกนี้ไม่ต้องจริงจังมากนัก โลกนี้ก็เป็นอย่างนี้ คนที่เป็นโทสะจริตมักจะพยายามสร้างกรอบ ขีดเส้นให้กับตัวเอง ในแง่ดีแล้วทำให้เป็นคนมีวินัย แต่ในแง่เสียคือ มีความอึดอัดเป็นอารมณ์ ไม่สามารถแสดงความรู้สึก ความปรารถนาของตัว ไม่สามารถทำอะไรอย่างที่ตัวเองต้องการ เพราะโดนจำกัดด้วยความคิดที่ว่า ควรจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่เพียงแต่จะพยายามวางกรอบให้กับตัวเอง คนในจริตนี้จะพยายามวางกรอบให้กับคนอื่นไปด้วย กล่าวง่ายๆ เหมือนกับจะพยายามควบคุมโลกให้เป็นไปอย่างที่ตัวเองต้องการ ดังนั้น เมื่อบุคคลอื่นเข้าใกล้ผู้เป็นโทสะจริตจะรู้สึกอึดอัดไปด้วยและโดยปกติแล้ว มักพยายามหลีกเลี่ยง หนทางแก้ไขประการหนึ่งก็คือ ขอให้ปล่อยๆ วางๆ บ้างอย่างไปจริงจังมาก การมีวินัยเป็นสิ่งดี แต่การสร้างกรอบการขีดเส้นให้กับชีวิต ก็เหมือนการถูกพันธนาการ เหมือนกับการเอาจิตใจตัวเองล่ามพันธนาการเอาไว้ จิตใจจึงเหมือนถูกบีบถูกกดเอาไว้ตลอดเวลา ทำให้จิตไม่ผ่องใส ไม่เบิกบาน และทำให้ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จะอยู่แต่ในกรอบเก่าๆ ของตัวเองตลอดเวลา

ต้องใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ ไปพิจารณา เนื่องจากคนจริตนี้มักมีกรอบมีระเบียบบางประการ และใช้ชีวิตอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เหล่านั้น หากกรอบความคิดดังกล่าวถูกต้องก็ดีไป นำพาชีวิตไปสู่ความก้าวหน้า แต่ถ้ากรอบดังกล่าวไม่ถูกต้องชีวิตก็จะติดหล่มกับดักของความคิดตัวเอง คนที่เป็นโทสะจริตต้องพยายามพิจารณาทบทวนกฏเกณฑ์ของตัวเองที่ว่าต้องทำนั่น ต้องทำนี่ ว่ามันถูกต้องและใช่ได้เหมาะสมกับกาละและเทศะมากน้อยเพียงใด และต้องเปิดใจกว้างรับฟังความคิดใหม่ๆ เพื่อนำไปคิดไปพิจารณา มิฉะนั้น ชีวิตจะไม่สามารถออกจากวังวนของพฤติกรรมเดิมได้

ต้องคิดก่อนพูด คิดให้นานๆ เข้าไว้ เพราะโทสะจริตจะเริ่มจากพูดไปก่อนและค่อยมาคิดทีหลัง และมักจะเสียใจภายหลังในสิ่งที่ตัวเองได้พูดได้ทำไปแล้วอยู่เสมอ

ให้พิจารณาว่าความโกรธทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของร่างกาย ส่งผลต่อระบบการย่อยอาหาร ระบบฮอร์โมน และโรคเก๊าท์

ถ้ามีลูกน้องเป็นจริตนี้จะทำอย่างไร

คน จริตนี้เป็นลูกน้องที่ดีและเพื่อนร่วมงานที่ดี เชื่อถือได้ ไม่โกง เป็นคนมีสัมมาคารวะให้การเคารพเชื่อฟังผู้มีอำนาจมากกว่าหรือตำแหน่งสูงกว่า และถ้าเราสามารถได้ใจเขาก็จะสบายเพราะจะได้แม่ทัพที่ค่อนข้างเข้มแข็ง มีวินัย คอยรักษากฎเกณฑ์ของสำนักงาน ทำงานใหญ่ได้เนื่องจากเป็นคนที่อุทิศทั้งแรงกายและแรงใจอยู่แล้วตามธรรมชาติ งานมักออกมาค่อยข้างเรียบร้อย ไว้วางใจได้ นอกจากนี้ มักมีนิสัยชอบเป็นครู ชอบแนะนำสอนคนอื่นอยู่เสมอ

หาก ท่านมีลูกน้องที่เป็นโทสะจริต ประการแรกท่านต้องมีปิยะวาจา ต้องทำใจ ลดความเป็นตัวตนลง และพูดด้วยน้ำเสียงเย็นนิ่งในการโน้มน้าวหรือสั่งการ ท่านอาจต้องพูดแบบมธุรสวาจามากหน่อย เพราะคนที่เป็นโทสะจริตชอบกินขนมหวาน แม้พูดหวานเขาก็รู้สึกธรรมดา ค่อยๆ พูดอย่างละมุนละไม แม้ผู้พูดเองจะรู้สึกหวานมาก แต่สำหรับคนที่เป็นโทสะจริตจะดูว่า เป็นเรื่องธรรมดาและเห็นว่าโลกควรจะปฏิบัติต่อเขาเช่นนี้ ให้คิดถึงนิทานเรื่องโคนันทวิศาล ซึ่งหากใช้คำพูดไม่เพราะหู นอกจากจะไม่ยอมเดิน อาจจะขวิดท่านได้ การพูดจาไม่ไพเราะจะบีบคั้นจิตใจเขามาก

ต้อง ใช้กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์เข้าคุยกัน ทุกอย่างทุกเรื่องว่ากันไปตามกฎเกณฑ์ เพราะตัวเขาเป็นคนเคารพหลักการและกฎเกณฑ์อยู่แล้ว ห้ามใช้อารมณ์อำนาจบาตรใหญ่ไปบีบบังคับเขาให้ทำโน่นทำนี้ เพราะถ้าไม่มีหลักไม่มีเกณฑ์ เขาก็ไม่ทำ หากไปบีบเขา เขาจะเป็นคนประเภทยอมหักแต่ไม่ยอมงอ

ต้อง มีความจริงใจ มีความซื่อตรงเป็นอารมณ์ คนจริตนี้มีความตรงไปตรงมาสูง บางครั้งก็ตรงเสียจนน่าตกใจ เวลาคุยกับลูกน้องท่านที่เป็นจริตนี้ต้องพูดตรงไปตรงมา ถ้าไม่

ต้องไม่ควบคุมเขาทุกขั้นตอน เพราะเขามีความรับผิดชอบสูง มิฉะนั้น หากจะจู้จี้ จะนำไปสู่การทะเลาะความขัดแย้ง

ถ้ามีหัวหน้าเป็นโทสะจริตจะรับมืออย่างไร

หากมีหัวหน้าที่เป็นโทสะจริต เราจะต้องให้ความเคารพนอบน้อม ระวังกริยา ระวังคำพูดเป็นพิเศษ เพราะพูดผิดหรือทำผิดนิดหนึ่งก็เป็นการจุดชนวนระเบิดได้ ดังนั้น ต้องพูดนิ่มนวล เอาน้ำเย็นเข้าลูบ อย่าทำให้เขาโกรธ และห้ามใช้โทสะเป็นอันขาด ถึงแม้ว่าเขาจะมีเสียงดังมา เราต้องระงับอารมณ์ของเราไว้ก่อน อาจต้องทำหน้าเศร้าๆ นิดหนึ่ง จะช่วยให้เขาสงบเร็ว เราต้องทราบว่าหัวหน้าที่เป็นโทสะจริตแทบจะควบคุมตัวเองไม่ได้เวลาโกรธ แต่พอเหตุการณ์ผ่านไปแล้วจะเสียใจในสิ่งที่ตัวเองได้พูดหรือได้ทำลงไป

คนที่มีลักษณะโทสะจริตจะมีสมาธิแรงอยู่แล้ว และยิ่งอยู่ในอารมณ์โกรธแล้วความรุนแรงจะเพิ่มพูนขึ้น ดังนั้น เราต้องเตรียมสติและเร่งสมาธิให้ดี ที่สำคัญคือ ต้องพูดจาด้วยเหตุด้วยผล ต้องคิดไตร่ตรองมาก่อนให้ละเอียดรอบคอบ มีการคิดอย่างดีก่อนพูดแต่ละคำแต่ละประโยค เจ้านายประเภทนี้จะถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติหากมาพูดโดยไม่คิดให้ถี่ถ้วน ล่วงหน้า นอกจากนี้ เราต้องมีการเตรียมประเด็น พูดให้ตรงประเด็นเพราะเขาไม่มีความอดทนพอจะฟังความคิดที่วกวนไม่ตรงประเด็น และมีเหตุผลหนักแน่น มาก่อน มิฉะนั้นจะยิงทันที และห้ามใช้เหตุผลอย่างข้างๆ คู ๆ เพราะหัวหน้าที่เป็นโทสะจริตจะดูถูกคนไม่มีเหตุผล และเราจะถูกสับเป็นชิ้นเล็กๆ

เวลาคุยกับหัวหน้าประเภทนี้ ห้ามทำท่ากลัวหรือประหม่า เพราะเขาจะมีน้ำเสียงติเตียนอยู่แล้วเป็นนิสัยและมักจะมีความโกรธเป็นควัน หลงจากเรื่องอื่นในอดีตอยู่บ้าง แต่ถ้าเรายิ่งไปทำท่าทางกลัวจะทำให้เขาดูถูกมากกว่าสงสาร ต้องทำใจให้เสมือนเป็นน้ำ มีความสงบ พูดด้วยน้ำเสียงราบเรียบ ยิ้มแย้มแจ่มใส

 

 

โมหะจริต

คน ที่มีลักษณะโมหะจริตจะเป็นคนที่ง่วง ๆ ซึมๆ ประเภทง่วงเหงางาวนอนเป็นอาจิณ อ่านหนังสือหรือฟังบรรยายประเดี๋ยวเดียวก็ตาปรอยหรือหลับไปเลย เป็นคนซึมๆ งงๆ ไม่รู้จะทำอะไร ปกติจะไม่ชอบทำอะไรถ้าไม่มีใครหรือสถานการณ์มาบังคับ ชอบนั่งเฉยๆ

อารมณ์ พื้นฐานคือความเบื่อและความเซ็ง ทำอะไรรู้สึกว่ายากไปหมด รู้สึกเกินความสามารถ แต่ตัวเองก็มักใช้ความพยายามน้อย เพราะมีสมาธิค่อนข้างต่ำ พลังเลยไม่ค่อยมี ทำอะไรจะรู้สึกว่าเบื่อก่อนที่งานนั้นจะเสร็จ และลึกๆ จะมีความเศร้าอยู่ในใจ เพราะมักคิดถึงตัวเองในทางไม่ดีอยู่เสมอ มักจะคิดว่าตัวไม่มีคุณค่า น้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกตัวเองต่ำต้อย ไร้ความสามารถ ไร้วาสนา เป็นคนที่น่าสงสารตรงที่ได้วางโปรแกรมที่ทำลายตัวเองไว้ในความคิดตั้งแต่ต้น

คนที่เป็นโมหะจริตมักจะมองเข้าข้างใน ไม่ค่อยมองออกข้างนอก คือ ถ้าจะคิด มักจะนึกคิดเฉพาะเรื่องของตัวเอง กลุ้มใจกับเรื่องของตัวเอง เสียใจกับปัญหาของตัวเอง จนแทบไม่ได้คิดว่าคนอื่นเขามีปัญหาอะไรบ้าง จะช่วยเขาได้อย่างไร การที่หมกหมุ่นกับเฉพาะเรื่องตัวเองทำให้คนที่เป็นโมหะจริตดูเหมือนจะมีจิต ใจค่อนข้างคับแคบ และไม่ค่อยสนใจโลก ไม่สนใจคนอื่นๆ มากนัก การที่สนใจเฉพาะปัญหาตัวเองทำให้ไม่ได้มีเป้าหมายชีวิตอะไรที่สูงส่งมากนัก ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงอะไรเพื่อผู้อื่นผู้สังคม ทำให้แรงขับเคลื่อนพลอยต่ำลงไปด้วย

แต่เป็นคนดี ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสังคม เพราะไม่คิดอิจฉาริษยาใคร ไม่คิดทำร้ายใคร ไม่คิดจะทำให้ใครเดือนร้อน ที่จริงแล้วไม่อยากไปยุ่งเกี่ยวกับใคร หรือเปลี่ยนแปลงใครอยู่แล้วด้วยซ้ำ และตัวเองมักจะคิดว่าตัวเองเป็นคนดี แต่ก็ไม่เข้าใจว่า การที่เป็นคนดีจึงไม่ก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จ ทำให้รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกไร้โชคไร้วาสนาอยู่ในใจลึกๆ

เป็นคนที่อยู่ในสมองด้านขวา ชอบสบายๆ ไม่ชอบคิดอะไรอย่างเป็นระบบ ละเอียด ซับซ้อน แต่ชอบฝันไปเรื่อยๆ ฝันไม่เป็นเรื่องเป็นราว และไม่สามารถเอาความฝันไปทำประโยชน์ได้เพราะสมาธิไม่มากพอ การที่คิดไม่เป็นระบบและคิดสะเปะสะปะทำให้ไม่สามารถแสดงความคิด หรือพูดจาอะไรออกมาได้ ดังนั้น มักจะเป็นคนเงียบไม่ค่อยพูด

เป็นคนที่จิตใจอ่อนไหว แตะนิดแตะน้อยจะเสียใจ ใจน้อย จึงไม่ชอบคนประเภทโทสะจริตเพราะจะรู้สึกถูกคำพูดทิ่มแทงใจ

จะมีดวงหน้าที่ดูเศร้าๆ ซึ้งๆ โรแมนติก ดวงตาค่อนข้างมืดดำไม่เป็นประกาย

มักเป็นคนพูดจาเบาๆ นุ่มนวล อ่อนโยน อารมณ์ไม่ค่อยเสีย ไม่ค่อยโกรธใคร ช่างยิ้มแต่ยิ้มแบบเบื่อๆ ไม่ชอบเข้าสังคม จะรู้สึกเคอะเขินไม่รู้ว่าจะทำตัวอย่างไร จะพูดอย่างไร เหมือนไม่มีอะไรอยู่ในหัวเลย เพราะฉะนั้นจึงไม่อยากทำตัวให้เป็นจุดเด่นจุดสนใจของคนอื่นมากนั้น หากไปนั่งขอบๆ หรือหลังๆ ก็จะรู้สึกอบอุ่น

สำหรับการเดิน คนในจริตนี้ปกติแล้วจะเดินแบบขาดจุดมุ่งหมาย ขาดความมุ่งมั่น ไร้เรี่ยวไร้แรง ในวิสุทธิมรรคได้เปรียบเทียบการพูดเหมือนคนกวาดบ้าน สำหรับผู้เป็นโทสะจริตจะรีบกวาดให้เสร็จๆ อย่างรวดเร็วและมีพลัง แต่บุคคลที่เป็นโมหะจริตจะกวาดเป็นวงกลม ไม่เสร็จเสียที

การแต่งกาย จะชอบสีอ่อนๆ หรือไม่ก็สีเศร้าๆ ทึมๆ เช่น เทา น้ำเงิน เขียวเข็ม

บ้านของคนในกลุ่มนี้ ไม่ชอบแสงสว่างมากนัก ชอบปิดม่าน เปิดเพลงค่อยๆ เบาๆ บ้านไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนโทสจริต แต่ก็ไม่รกรุงรัง

ข้อดีข้อเสียของผู้เป็นโมหะจริต

ผู้ที่มีลักษณะโมหะจริตมีข้อดี คือ เนื่องจากไม่ค่อยคิดฟุ้งซ่านมากนัก จึงเข้าใจอะไรได้ค่อนข้างชัดเจน โดยไม่ปรุงแต่ง เมื่อมองอะไรเห็นได้ชัดเจนก็มักจะมีการตัดสินที่ดี ถ้าคิดออก

เป็นคนที่หนักใช้สมองด้านขวา จึงมีความรู้สึก และมักใช้ความรู้สึกในการตัดสินใจ ทำให้มักตัดสินไม่ค่อยพลาด ดังนั้นแม้เหตุผลจะเถียงสู้คนอื่นไม่ได้มากนัก หรือพูดไม่ทันจริตอื่นๆ แต่มักมีญาณสังหรณ์ที่ถูกต้องในการตัดสินใจ

อีกประการหนึ่ง เนื่องจากมักใช้สมองด้านขวา จึงไม่ค่อยทุกข์เหมือนจริตอื่น ไม่ค่อยเป็นโรคจิตโรคประสาท ไม่เครียด แต่จะซึมเศร้าแต่ไม่มีอะไรมากระตุ้น

เป็นคนที่ทำงานเก่งโดยเฉพาะงานที่เป็นงานประจำไม่ใช่งานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์มากนัก เพราะไม่คิดฟุ้งซ่าน งานจึงเสร็จตามเวลา

เป็นคนดี เป็นเพื่อนที่น่าคบ น่ารัก ไม่สร้างกรรมชั่ว ทั้งในด้านความคิด การพูด และการกระทำ คือ ไม่คิดร้าย ไม่โกง ไม่หลอกลวง ไม่เพ้อเจ้อ ไม่ส่อเสียด ไม่พูดจาให้คนเสียใจ มีสติสูง เป็นคนที่วางใจได้

แม้จริตนี้ไม่สร้างปัญหาให้กับคนอื่นและสังคม แต่จริตนี้มีข้อเสียสำคัญคือ การใส่ซอฟแวร์ในความคิดที่ทำลายตัวเอง โดยมองตัวเองไม่ตรงความเป็นจริง แต่ต่ำกว่าความเป็นจริง รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง ทำไม่ได้ ไม่มีความสามารถ สู้คนอื่นไม่ได้ ไม่ทันโลก เมื่อไปเจอคนจริตอื่นๆ เช่น โทสะจริตหรือวิตกจริตที่มักจะดูถูกจริตนี้ว่า ไม่มีหลักการ เหตุผล หรือความคิด เป็นการย้ำความคิดที่ไม่ค่อยดีเกี่ยวกับตัวเองให้มากยิ่งขึ้น และทำให้มองว่า โลกนี้โหดร้ายไม่ยุติธรรม ทำไมคนดีโลกไม่สนับสนุนแต่กลับกลั่นแกล้งซ้ำเติม

การที่รู้สึกขาดความมั่นใจอยู่ตลอดเวลาและเมื่อเกิดอะไรจะโทษตัวเองอยู่เรื่อยๆ ทำให้ต้องการกำลังใจเป็นสายน้ำเกลืออยู่เสมอ หากไม่มีก็จะไม่เจริญเติบโต ทำให้ไม่สามารถยืนได้ตัวเองตามลำพังเท่าไร ยิ่งถ้าไปอยู่ท่ามกลางคนเป็นโทสะจริตและวิตกจริตซึ่งเต็มไปด้วยคำพูดที่ ตำหนิติเตียนด้วยแล้วจะรู้สึกเฉาไปเลย เพราะเป็นการซ้ำเติมความรู้สึกไม่มั่นใจของตัวเองอยู่แล้ว

นอกจากนี้ การที่รู้สึกเบื่อและเซ็งง่าย เพราะสมาธิค่อนอ่อนและสั้น ไม่ชอบทำงานหนัก ไม่ชอบอ่านหนังสือ ทำให้ไม่ค่อยมีข้อคิดหรือความรู้ จึงทำให้ยากที่จะสามารถทำการใหญ่ได้สำเร็จ

การขาดสมาธิทำให้ไม่มีพลัง ประกอบกับขาดความมั่นใจในตัวเองทำให้ไม่มีความเป็นผู้นำ และตัวเองก็ไม่อยากจะนำใครอยู่แล้ว แต่จะมีปัญหาหากมีตำแหน่งสูงขึ้น เพราะไม่สามารถปกครองลูกน้องได้

ชอบโรแมนติก ใช้อารมณ์มากกว่าความคิด มักใจน้อย อย่าไปพูดแรงเพราะอารมณ์อ่อนไหว เจ็บปวดใจได้ง่าย

หากท่านเป็นโมหะจริต

ตั้ง เป้าหมายในชีวิตให้ชัดเจน โดยพยายามมองออกไปจากตัวเองให้มากขึ้น คิดถึงคนอื่นๆ ให้มากๆ ไม่ว่าจะลูก สามีหรือภรรยา และเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ว่าจะทำอะไรให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร การมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะทำให้ชีวิตมีทิศทาง เกิดมีพลังว่าเราจะต้องไปบรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ ทำให้ตัวเองมีคุณค่ามีบทบาทต่อชีวิตคนอื่น

ฝึก สมาธิ ไม่ว่าจะสวดมนต์ หรือนั่งสมาธิ เพื่อเสริมสร้างจิตให้มีพลังมากขึ้นเมื่อไปเจอกับโลกข้างนอกหรือสถานการณ์ ที่ไม่เป็นไปตามที่ตัวเองคาดหวังจะได้รับมือได้ทัน ลดความหวั่นไหวของจิตใจของอารมณ์ตัวเอง ฝึกความรู้เนื้อรู้ตัว เพราะจิตอยู่ในอารมณ์ ควรกระตุ้นด้วยการเอาจิตไปจับฐานกาย ว่าประสาทสัมผัสรู้สึกอย่างไร นอกจากนี้ อาจฝึกโดยเล่นกีฬาเพราะต้องควบคุมกล้ามเนื้อและอวัยวะส่วนต่างๆ หรือไม่หัดฝึกสมองด้านซ้ายในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การเต้นรำลีลาศเพราะมีระบบระเบียบ

อ่านหนังสือมากไว้เพื่อให้สมองด้านซ้ายทำงาน

คิด ว่าเราอาจไม่ได้ทำการณ์ใหญ่ ต้องพิจารณาเรื่องความตาย เพื่อใส่สัมมาดำริเรื่องมรณานุสติ เพื่อตั้งเป้าหมายในชีวิตให้ชัดเจน เพราะชีวิตไม่จีรังยั่งยืน อาจจะตายวันนี้พรุ่งนี้ก็ได้ เพราะฉะนั้นจะต้องไม่ประมาท มีอะไรก็ต้องรีบกระทำ จะได้ลดแรงเฉื่อย ขจัดความเบื่อความเซ็งในชีวิต

 

ถ้ามีหัวหน้าเป็นโมหะจริต

มักจะสั่งงานไม่เป็น ลูกน้องจะทำอะไรมาก็ได้ ไม่ใส่ใจงานมากนัก มีพลังความเฉื่อยชากระจายไปทั่วสำนักงาน เป็นคนค่อนข้างใจอ่อน แต่ลูกน้องพึ่งพามากไม่ได้ เพราะหากมีการประชุมและต้องเผชิญกับพวกวิตกจริตแล้ว จะคิดไม่ทัน เถียงไม่ทัน ประกอบกับเป็นคนมีความอ่อนไหวสูง จะคิดเล็กคิดน้อย

ต้องคอยพยายามชี้แนะหัวหน้าว่า ควรจะทำอะไรด้วยเหตุด้วยผล หัวหน้าจะรัก

ถ้ามีลูกน้องเป็นโมหะจริต

ถ้าลูกน้องเป็นโมหะจริตต้องชี้แนะอย่างสม่ำเสมอ ต้องบอกกำหนดเวลา ต้องทวงงาน และบอกขั้นตอนว่าจะให้ทำอะไรซ้ายขวาหน้าหลัง เพราะคิดไม่ค่อยเป็น แต่เมื่องานเดินเป็นระบบแล้ว จะสามารถทำงานได้ดี

ไม่ควรใช้อารมณ์ดุ เพราะถ้าไปดุจะทำให้หมดกำลังใจ เพราะไม่ค่อยมีความมั่นใจอยู่แล้วให้นึกเหมือนกับเป็นน้อยหน่าสุก ถ้าไปบีบแรงๆ อาจเละได้ง่าย หรือเป็นแก้วเปราะบาง ถ้าไปแตะแรงจะแตกได้ง่าย

 

 

ราคะจริต

คน ที่มีลักษณะราคะจริตจะเป็นผู้ที่ชอบรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นคนจิตประณีตละเอียดอ่อน จิตจะเกาะอยู่ในสัมผัสทั้งห้าอยู่ตลอดเวลา

เป็นคนที่ชอบในเรื่องของรูปลักษณ์ จะเป็นคนแต่งตัวเก่งออกมาดูสวยงาม ดูเก๋และเท่ น่าชวนมองชวนดู เป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใส มีบุคลิกดี มีมาด เพราะมีสติค่อนข้างสูง จึงสามารถควบคุมอิริยาบถของร่างกายตัวเองได้ค่อนข้างถ้วน อย่างเช่น ถ้ายืนอยู่ ก็จะรู้ว่าจะต้องวางตำแหน่งเท้าเช่นไร ตำแหน่งมือจะสูงต่ำมากน้อยแค่ไหน หลังต้องเหยียดตรง จะยิ้มประมาณไหนถึงจะออกมาดูดี จะออกมาดูน่ารัก และดูมีมาดในทางกลับกัน ก็จะชอบคนที่มีบุคลิกดีเป็นสิ่งสำคัญ ชอบความสวยงามของสิ่งของ และสถานที่ จะชอบไปสถานที่ที่สวยงามและหรูหรา ส่วนจะมีสาระหรือประเทืองปัญญาหรือไม่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ พยายามหลีกเลี่ยงความสกปรกความไม่สวยงามของรูปลักษณ์ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสถาน ที่

แต่ คนกลุ่มนี้มักสติหลุดควบคุมจิตใจไม่ค่อยได้มากกว่าจริตอื่นๆ หากไปเจอเพศตรงข้ามที่มีรูปลักษณ์ดี จะมีอาการยิ้มหวาน ตาเยิ้ม หรือไม่ก็มีจริตจะก้านต่างๆ อย่างเห็นได้ชัด

เวลาพูดก็จะสามารถควบคุมน้ำเสียงให้ออกมาไพเราะนุ่มนวล ที่สำคัญคือ คำพูดที่ออกมาจะเต็มไปด้วยมธุรสพจนา มีคำหวานหูเต็มไปไปหมด ระมัดระวังคำพูดมาก จะหลีกเลี่ยงคำพูดที่จะทำร้ายความรู้สึกคน สามารถพูดออกมาได้หวานแต่ใจอาจคิดอีกอย่างได้เป็นนิสัย ในขณะเดียวกันชอบคำพูดหวานหูเช่นเดียวกัน ชอบคำพูดเอาอกเอาใจ จะจริงใจหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ขอให้ได้ยินคำหวานเอาไว้ก่อน สิ่งที่คนในจริตนี้ทนไม่ได้คือ คำพูดเสียงดัง ตะคอก หยาบ ซึ่งได้ยินแล้วหัวใจเสมือนจะแตกสลาย พร้อมจะสู้ตาย

เป็นคนชอบแสวงหาของอร่อยทาน ไม่ว่าจะอยู่ไกลแสนไกลแค่ไหนก็จะต้องไปแสวงหามาทาน เนื่องจากจิตไปเกาะตรงรูปรส ซึ่งจะต้องได้รับการสนองตอบ รวมทั้งสิ่งของต่างๆ ที่สวยงาม ไม่ว่าเสื้อผ้าหรือสิ่งประดับ ต้องไปซื้อไปหามาครอบครอง

เป็นคนชอบจินตนาการ ช่างฝัน อยากจะได้โน่นได้นี่ อยากจะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ และมักชอบอ่านนวนิยาย ซึ่งช่วยจรรโลงความฝัน

โดยสรุป เป็นคนที่ติดอยุ่สัมผัสทั้งห้าและต้องกอบโกยแสวงหาสิ่งต่างๆ มาเพื่อสนองตอบรูปรสกลิ่นเสียง กล่าวสั้นๆ เป็นคนโลภ ติดวัตถุ ไม่สนใจเรื่องอะไรที่นอกเหนือจากสัมผัสทั้งห้า ไม่คิดอะไรลึกซึ้ง ท่าทางดูดี คำพูดดูหรูหราพอหลอกตาคนได้ แต่แท้จริงแล้วภายในกลวงไม่มีสาระหรือแก่นสารอะไรลึกซึ้ง

จุดแข็งจุดอ่อนของราคะจริต

เป็นคนที่มีความประณีต จิตใจอ่อนไหว ละเอียดอ่อน จะสนใจเรื่องเล็กเรื่องน้อย อาจจะติดหยุมหยิม ดังนั้น จึงเหมาะกับทำงานประณีต ผลงานจะประณีต เรียบร้อย

แต่เป็นคนช่างสังเกต สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ได้หมด

มีความเมตราสูง เพราะราคะกับเมตราอยู่ในคลื่นค่อนข้างใกล้เคียงกัน

มีความสามารถในการติดต่อประสานงานได้ดี เพราะสามารถเข้ากับทุกคนได้ดี พูดจาดี มีบุคลิกดี น่าดูน่าชมเป็นที่ชอบของคนที่พบเห็น เหมาะนักการทูต ประชาสัมพันธ์

จุดอ่อนสำคัญของคนกลุ่มนี้คือ จิตเป็นสมาธิยาก ที่จริงแล้วเขาจะไม่สนใจการฝึกจิต ทำสมาธิ การขาดสมาธิทำให้ทำงานใหญ่ยาก

ไม่มีเป้าหมายสำคัญในชีวิต นอกจากจะมุ่งเน้นการแสวงหาสิ่งต่างๆ มาสนองต่อสัมผัสต่างๆ ทำให้เสียเวลากับเรื่องไร้สาระและไม่มีความสำคัญหรือจำเป็น

เป็น คนชอบอิจฉาริษยา ใจน้อย และช่างปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราว ได้ยินคำพูดอะไรนิดอะไรหน่อยก็นำมาปรุงแต่งเสียเป็นเรื่องใหญ่โต บางครั้งปรุงแต่งมากเสียจนไม่รู้ว่าอันไหนเป็นเรื่องจริงอันไหนเป็นเรื่อง ที่ตัวเองได้ปรุงแต่งขึ้นมา และที่เป็นปัญหาก็เพราะว่าคนในจริตนี้มักจะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองปรุงแต่งว่า เป็นจริง ทำให้สามารถอยู่ในชีวิตแห่งความฝัน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะอยู่ท่ามกลางความเสียใจปวดร้าวใจ ความเครียดได้

เป็นคนขี้เกรงใจจนเป็นคนขาดหลักการ ทำให้ไม่มีความเป็นผู้นำ แต่ชอบทำตัวเป็นผู้นำ แต่ด้วยความไม่มีหลักการ จึงมักสร้างปัญหาในองค์กร

เป็น คนชอบพูดหวาน ทำให้ค่อนข้างพูดไม่ตรงกับความจริงค่อนข้างเก่ง และแนบเนียน จึงกลายเป็นคนมีเหลี่ยมจัดไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม คำพูดฟังดูดีดูเพราะ แต่ยอกย้อน ไม่ตรงไปตรงมา

เมื่อ เบรกแตก ไม่ได้ดังใจ ความนุ่มนวลจะเปลี่ยนเป็นอารมณ์รุนแรง ทำได้ทุกอย่างตามอารมณ์ เพราะไม่มีหลักการหรืออะไรอยู่ในตัวแน่นอน สิ่งที่เป็นกรอบอยู่คือการรักษาภาพลักษณ์ หากไม่สนใจภาพลักษณ์ตัวเองเหมือนไร ก็สามารถทำได้ทุกอย่าง ในแง่นี้จึงต่างจากโทสะจริตที่เป็นคนที่มีหลักเกณฑ์ หลักการเต็มไปหมด แม้จะโกรธง่ายแต่จะหลักเกณฑ์ต่างๆ ค่อยยั้งยั้งพฤติกรรมไว้ตลอด

ถ้าท่านเป็นราคะจริต

พิจารณาให้เห็นโทษของการที่จิตขาดสมาธิ ทำให้เกิดผลเสียต่อตัวท่านอย่างไร และกระทบต่อภาพลักษณ์ของท่านอย่างไร

กำหนดเป้าหมายที่สำคัญและแน่นอน มิฉะนั้นแล้ว จะเสียเวลาไปกับเรื่องไร้สาระ เช่นขับรถไปไกลเพื่อทานของอร่อย เสียเวลาทะเลาะกับแฟน

หมั่นสวดมนต์ พวกนี้ไม่ชอบสวดมนต์ ไม่ชอบสมาธิ ถ้าทำก็ทำแบบฉาบฉวย เหมือนแมวกลัวน้ำ ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมีสมาธิเพราะมีแต่สติ ไม่เชื่อในศาสนา เพราะยึดในรูปรสกลิ่นเสียง

ควรพิจารณามรณานุสติ พิจารณาสิ่งสกปรก

ถ้ามีหัวหน้าเป็นราคะจริต

เนื่องจากเป็นคนไม่ตรง มองไม่ตรง ทำให้ปกครองด้วยความไม่ยุติธรรม เพราะมักชอบคนสวยหล่อ ทำให้จิตใจเอนเอียงไม่เป็นธรรมอยู่แล้ว ดังนั้น หากเจอหัวหน้ามีจริตนี้ ต้องพยายามแต่งตัวให้ดี ทำงานให้ออกมาดูประณีต สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย

พูดจาไพเราะหวานหู และให้ความเคารพเพราะถ้าไม่เคารพจะทำให้เขาไม่พอใจ อย่าไปวิจารณ์หัวหน้าในที่สาธารณะ หรือทำให้เสียหน้า จะโกรธอย่างไม่ให้อภัย

ถ้ามีลูกน้องเป็นราคะจริต

ไว้ วางใจได้ เพราะเป็นคนละเอียดรอบคอบ ตั้งอกตั้งใจทำงานละเอียดอ่อน ต้องการเอาใจ สอนมากไม่ได้พูดมากไม่ได้ แต่ถ้าชมแล้วจะเป็นปลื้มและจะสู้ตาย

มอบหมายให้ทำงานที่ประณีตได้ ผลงานจะออกมาเรียบร้อย โดยเฉพาะหากมีระบบต่างๆ วางไว้ชัดเจนอยู่แล้ว

ชอบงานที่ได้หน้า เช่นประชาสัมพันธ์ ที่ต้องโชว์รูปโชว์หน้า หรืองานตกแต่ง งานที่ติดต่อออกไปข้างนอก แต่เกลียดงานที่ต้องคิดอะไรลึกซึ้ง อย่าไปบังคับให้คิดเพราะเหมือนไปรีดเลือดจากปู

ชอบเป็นผู้นำ แต่บ่อยครั้งจะคอยปกป้องลูกน้องในส่วนในฝ่ายตัวเอง จนบางครั้งกระทบผลประโยชน์ขององค์กร

เนื่องจากเป็นคนที่ชอบพูดคำหวาน หลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่เพราะหู ทำให้หัวหน้าอาจจะได้รับฟังได้ยินแต่เรื่องที่สวยงาม และอาจมีการปกปิดสิ่งที่ไม่น่าฟังเอาไว้ค่อนข้างเก่ง

 

วิตกจริต

ลักษณะพื้นฐานคือ พูดไม่หยุด ประเภทน้ำไหลไฟดับ ชอบแสดงความคิดเห็น มีคำถามเยอะแยะไปหมด เพราะได้ยินเสียงพูดตลอดเวลา สมองเต็มไปด้วยความคิด ฟุ้งซาน สับสนวุ่นวาย มีหลายความคิดซ้อนกันอยู่ แต่มักสรุปประเด็นสำคัญหรือจัดระบบไม่ได้ อย่างไรก็ตาม คนทั่วไปมักมองว่า คนที่วิตกจริตมีปัญญาสูงเพราะเป็นคนที่สามารถคิดได้เร็ว พูดได้มาก ประเด็นเต็มไปหมด ฟังเผินๆ แล้วน่าประทับใจถ้าไม่คิดอะไรมาก

วิตกไม่สามารถหยุดความคิดของตัวเองได้ และไม่สามารถเลือกว่าจะคิดอะไรได้ การคิดมักจะย้ำคิดในทางลบ มองโลกในแง่ร้าย มักคิดว่าโลกชั่วร้าย คนอื่นจะพยายามเอารัดเอาเปรียบตัวเอง ไม่สามารถเชื่อใจใครได้ มักคิดในทางลบ เช่น การคิดอิจฉา คิดเรื่องต่างๆ ในแง่ไม่ดี และความคิดดังกล่าวจะผุดขึ้นมาอย่างควบคุมไม่ได้ เป็นการย้ำคิดในทางลบ คนที่เป็นจริตอื่นๆ อาจไม่เข้าใจว่าคิดไปทำไม แต่ผู้เป็นวิตกจริตไม่อาจปิดความคิด เหมือนอยู่ในน้ำทะเลโดนคลื่นกระชากไปเรื่อย

หน้าตาปกติจะบึ้ง ยิ้มไม่ออก ไม่มีความรู้สึก แต่มีอารมณ์รุนแรง คำพูดจะรุนแรง เพราะอยู่ในความคิด เช่นเวลาวิจารณ์คนมักใช้คำพูดรุนแรงทำให้คนชอกช้ำเกิดกรรมเวร คนทั่วไปมักไม่ค่อยชอบหน้า และมักถูกทำร้ายทางกายวาจาและใจ เป็นการย้ำการมองว่าโลกชั่วร้ายมากยิ่งขึ้น และจะเป็นคนร้อนรุม แต่ในอีกด้านหนึ่งการพูดมาก คิดมาก ใช้พลังงานทำให้ดูเหนื่อยโทรม

คนที่เป็นวิตกจริตจะมีปากกับใจไม่ตรงกัน เวลาพูดนัยน์ตาจะกรอกไปกรอกมา พูดอย่างคิดอย่าง และยังไม่ค่อยชอบรักษาสัญญา เพราะมีความคิดแยะผุดขึ้นมาตลอด คิดกลับไปกลับมา ประกอบกับมีอัตตาสูง มักกลัวเสียเปรียบ ถ้าเปลี่ยนสิ่งที่ได้สัญญาไว้ ก็เปลี่ยนตลอดเวลา มักซ่อนสิ่งตัวเองต้องการเวลาติดต่อกับคนอื่น แม้ในระยะสั้น จะสร้างความประทับใจให้กับคนที่พบเห็นได้ก็ตาม แต่ในระยะยาว พฤติกรรมการไม่รักษาคำพูด ทำให้ไม่ค่อยเป็นคนมีศักดิ์ศรี คนไม่เชื่อถือ

เป็นคนที่แยกโลกแห่งความจริงและโลกที่ตัวเองคิดขึ้นมาไม่ค่อยได้ หลายครั้งหลายเรื่องเป็นสิ่งที่ตัวเองคิดไปเองโดยไม่มองข้อเท็จจริง

เป็นคนขยันขันแข่งหนักเอาเบาสู้ แต่ผลที่ออกมาน้อยหรือไม่ค่อยได้ประโยชน์เพราะคิดมากฟุ้งซ่านอยู่ตลอด ทำให้ไม่สามารถรักษาความสนใจในเรื่องหนึ่งเรื่องใดไว้ได้นาน และไม่สามารถรักษาสมาธิไว้ได้

เป็นคนเจ้ากี้เจ้าการ มีอัตตาสูง หลงกับความคิด คิดว่าตัวเองเก่งกาจ โดยเฉพาะถ้าเจอกับคนที่เป็นโมหะจริตที่นิ่งๆ สงบ คิดน้อย เศร้าสร้อย อยู่กับอารมณ์ พูดไม่ทันแล้ว คนที่เป็นโมหะจริตจะรู้สึกสะบักสบอม

อยากรู้อยากเห็น ไม่รู้จักเลือกว่าควรจะรู้สิ่งใดสนใจสิ่งใด จึงมักจะสอดรู้สอดเห็นในสิ่งไม่มีประโยชน์ ใช้เวลาไม่ค่อยมีประโยชน์

ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ชอบสัญญาแต่ไม่อาจรักษา เพราะมีความคิดเต็มไปหมด

ทำงานรวดเร็วแต่ค่อนข้างหยาบ อาจปวดหัวไมเกรน

การแต่งกาย จะจับโน่นประสมนี้ ให้ออกมาดูเด่นฉูดฉาด แต่ไม่สวยงาม เพราะไม่มีความรู้สึก มีแต่ความคิด

จุดแข็งจุดอ่อน

ข้อดีของจริตนี้คือ มีความคิดมากสามารถเอาความคิดที่เป็นประโยชน์มาใช้ ถ้าคุณเป็นจริตอื่นๆ โดยเฉพาะโมหะจริตก็ควรหาเพื่อนหรือคู่ครองเป็นวิตกจะได้ฟังความคิดมากมายที่อาจใช้เป็นประโยชน์ได้

เป็นนักพูดที่เก่ง สามารถจูงใจคนได้เก่ง ทำให้หลายคนกลายเป็นผู้นำในวงการต่างๆ หรือนักการเมือง

เป็นคนละเอียด รอบคอบ

เนื่องจากโดยนิสัยของคนจริตนี้ จะลงประเด็นเล็กประเด็นน้อยอยู่แล้วโดยธรรมชาติ จึงสามารถเห็นความผิดเล็กความผิดน้อยที่คนจริตอื่นไม่เห็น หรืออาจไม่สนใจจะมอง กล่าวอีกนัยหนึ่งจริตนี้เป็นนักจับผิดเก่ง

จุดอ่อนของคนจริตนี้ที่สำคัญคือ มองไม่เห็นภาพใหญ่ เห็นแต่ภาพเล็กๆ เพราะจิตชอบใจประเด็นเล็กประเด็นน้อย หยุมหยิมมากจนบ่อยครั้งลืมภาพใหญ่หรือประเด็นสำคัญ แม้กระทั่งอาจจะลืมเป้าหมายที่ตัวเองกำลังกระทำอยู่เพราะมุ่งให้ความสำคัญ กับกระบวนการจนเกินไป คิดมากเกินความจำเป็น ไม่สร้างสรรค์ ชีวิตเหนื่อยหน่าย ทำงานหนัก แต่ไม่มีผลตามที่ต้องการ

การที่คนจริตนี้มักมองจุดเล็กจุดน้อยทำให้เห็นปัญหาได้ตลอดแต่หาทางแก้ไม่ได้ ทำให้เกิดความทุกข์กลายทุกข์ใจอยู่เป็นประจำ

เป็นคนลังเลสังสัย มีความคิดมาก แต่ไม่กลั่นกรอง มักจะพูดออกมาได้เร็ว แต่ไม่ค่อยจะมีระบบ เป็นลักษณะฟุ้งซ่าน ไม่ตรงประเด็น เปลี่ยนแปลงความคิดตลอด เปลี่ยนจุดยืนตลอด ไม่ทำตามสัญญา เชื่อถือไม่ค่อยได้ แยกแยะความจริงไม่ได้ ในสังคมไทย อาจได้รับการยกย่องเพราะเป็นเจ้าความคิด ช่างพูดช่างเจรจา แม้ว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่พูดออกมามักจะไม่ได้คิด กลั่นกรองเท่าไรก็ตาม

นอกจากนี้ เป็นคนไม่ค่อยมีความรู้สึก ความรู้สึกแตกต่างจากอารมณ์ ความรู้สึกเกี่ยวกับวิจารณญาน การมีญาณสังหรณ์ แม้คนที่มีลักษณะวิตกจริตแม้จะมีความคิดมากมาย แต่จะไม่สามารถเลือกได้ ไม่มีวิจารณญานว่า อะไรถูกไม่ถูก เหมาะสมไม่เหมาะสม เพราะสมองไปติดด้านซ้าย จึงมักไม่รู้สึกว่า อะไรถูกอะไรผิด ไม่เข้าใจความรู้สึกคนอื่น และไม่ค่อยสนใจสิ่งแวดล้อม

ชอบคิดซ้ำในเรื่องอดีต เมื่ออยู่คนเดียว แต่เมื่ออยู่กับคนอื่นจะคิดเรื่องโน่นเรื่องนี้ จะมีความสุขเพราะคิดว่า ตัวเองสามารถคิดได้เร็วกว่า ดีกว่าคนอื่น

ถ้าท่านเป็นวิตกจริต

ค่อนข้างยากที่ปรับเปลี่ยน เพราะมักมีอัตตาสูง คิดว่าตัวเองเก่ง มีความคิดพิสดารกว่าคนอื่น จึงรู้สึกว่าไม่ต้องการจะเปลี่ยนหรือปรับปรุงอะไร และไม่ได้เสียใจกับสิ่งต่างๆ ที่ได้ทำไปในอดีต ไม่ค่อยรู้ตัว เพราะตัวเองอยู่ในความคิดเกือบตลอดเวลา แตกต่างจากพวกโทสะจริตที่จะมีช่วงเวลาเสียใจในสิ่งที่ได้ทำไป และเห็นปัญหาของตัวเอง

ประการแรก ท่านที่มีลักษณะวิตกจริตต้องเลือกความคิด อย่าให้ความคิดลากพาท่านไป ต้องเลือกคิดว่า ควรคิดไหม ควรทำไหม ถามตัวเองว่าคิดไปแล้วมีประโยชน์หรือไม่ ต้องรีบวางแผนชีวิตว่า ในชีวิตเราต้องการบรรลุอะไร

ต้องฝึกนั่งสมาธิมากๆ เพราะคิดมากจิตเหนื่อย ไม่มีพลัง การนั่งสมาธิต้องนั่งแบบสมถภาวนา

สร้างวินัย ต้องสร้างกรอบเวลา เพราะจิตใจไม่มีกรอบเวลา จึงต้องสร้างกำหนดการ มิฉะนั้นแล้วจะไม่สามารถทำงานให้สำเร็จตาม deadline อาจต้องการเพื่อนที่เป็นโทสะจริตเพื่อสร้างระเบียบวินัย

ต้องฝึกการมองภาพรวม คิดทุกอย่างครบวงจร ไม่คิดเป็นจุดๆ เนื่องจากจิตจะลงลึกและลงรายละเอียดมาก จนมองไม่เห็นภาพรวมภาพใหญ่ ดังนั้น จะไม่สามารถหาทางแก้ปัญหาต่างๆ ที่กำลังประสบได้

ถ้ามีเจ้านายเป็นวิตกจริต

หากมีเจ้านายเป็นวิตกจริต มักจะมีพฤติกรรมทำให้ลูกน้อยกลุ้มใจ ที่เห็นเด่นชัดก็คือ การที่เป็นคนมีความคิดมาก จึงมีหลายโครงการ ทำให้สั่งงานมากไปด้วย แต่ไม่รู้ว่าอะไรสำคัญก่อนหลัง แต่จะเร่งลูกน้องตลอดเวลา ไม่ทันที่เรื่องแรกจะเสร็จ ก็มีความคิดใหม่ผลุดขึ้นมาอีกแล้ว เรียกได้ว่า ลูกน้องต้องทำงานตัวเป็นเกลียวเหมือนมีเทียนลนก้นตลอดเวลา แต่ความคิดหรือโครงการนั้นจะเป็นประโยชน์หรือสร้างสรรค์ต่อองค์กรมากน้อยแค่ ไหนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ลูกน้องคงต้องเหนื่อยก่อน

เป็นคนที่มองว่าตัวเองเก่ง ถ้าลูกน้องความสามารถไม่ถึง จะถูกกด ดูถูกทำให้เจ็บช้ำน้ำใจได้เสมอ ประกอบกับเป็นคนที่พูดไว คำพูดรุนแรง สามารถกล่าวคำเสียดแทงใจได้ง่ายๆ

มีความคิดที่แปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามแต่ปัจจัยใหม่เข้ามาได้เห็นได้ยิน ดังนั้น อาจต้องระวังว่า สิ่งที่เคยทำถูกในอดีตกลายเป็นสิ่งไม่ถูกต้องไม่ชอบใจไปแล้ว

ปากกับใจไม่ตรงกันเพราะต้องการแสวงหาประโยชน์ความมีหน้ามีตาเข้าตัวมากที่สุด ไม่สนใจว่าใครจะชอบใครจะเกลียด และพร้อมจะโยนความผิดให้ลูกน้อง หากมีความเป็นวิตกจริตในระดับสูงจะมีความเจ้าเล่ห์ สามารถเอาผลงานลูกน้องไป

เป็นคนมองโลกในแง่ร้าย

ในยามวิกฤตไม่อาจตัดสินในได้

หากเจอหัวหน้าประเภทนี้ และท่านไม่ใช้วิตกจริตด้วย หากหลบได้ก็ควรหลบ แต่ถ้าหลบไม่ได้ เมื่อเผชิญหน้ากับหัวหน้าจริตนี้ต้องพูดห้ามนิ่ง เพราะถ้านิ่งเขาจะดูถูกว่าเขลา ไม่มีปัญญา การทำตัวเป็นที่น่าสงสารมักใช้ไม่ได้ผล เพราะไม่มีความรู้สึก เมื่อยามพูดควรใช้คำน้อย คมและตรงประเด็น จิตเขาจะตกใจ ต้องพยายามหาเหตุผลหักล้างให้ได้ เพราะเขาอยู่ในโลกความคิด ไม่มีความรู้สึก หากไม่อาจหักล้างความคิดเขาได้เป็นเปลาะๆ เขาก็จะเชื่อมั่นว่า เขาถูกต้อง ในส่วนนี้ต้องตั้งสติและสมาธิให้ดี เพราะน้ำเสียงของวิตกจริตจะรุนแรงเย้ยหยันอยู่แล้ว ประกอบความคิดของเขาจะมากมายพร้อมที่จะถลมถลายความคิดของคนจริตอื่นๆ ได้อย่างสบาย

หากเจอเจ้านายเป็นวิตกจริต เราต้องพยายามศึกษาว่าเขาสนใจอะไร แล้วหาข้อมูลในเรื่องนั้นให้ดี และพยายามพูดในเรื่องที่เขาสนใจ เขาจะติดในประเด็นนั้น และมักจะลงดิ่งไปเลย

ถ้าคนยอมรับคุณเป็นลูกน้อง เขาจะใช้วิธีการช่วยเหลือได้ในทุกรูปแบบ

หากมีลูกน้องเป็นวิตก

การที่เป็นคนเจ้าความคิดและคิดละเอียดจนเกินไป ถ้างานยากใช้ความละเอียดมากก็เป็นเรื่องดี เพราะเขาสามารถคิดได้ลึกซึ้งและมีแง่คิดที่คนส่วนใหญ่นึกไม่ถึง แต่คนจริตนี้มักไม่สามารถแยกความแตกต่างหรือจัดลำดับความสำคัญได้ดีนัก ผลก็คือ จะลงละเอียดไปหมดในทุกเรื่อง และเนื่องจากจะฟุ้งซ่านอยู่โดยนิสัย จึงมองว่าทุกอย่างเกี่ยวข้องโยงใยกันไปหมดโดยไม่คำนึงว่าจำเป็นหรือสำคัญมาก น้อยแค่ไหน ทำให้ทำงานล่าช้า ไม่มีผลงานออก แม้ส่งงานสายแต่ไม่รู้สึกเพราะหาเหตุหาผลว่า มีงานต้องทำมากมาย แต่ทำไม่เสร็จจึงแนวโน้มจะชอบหมกงาน หากมีลูกน้องวิตกจริตต้องแก้ด้วยการให้ทำในกรอบแคบ แต่ให้ลงลึก อย่าให้ทำหลายอย่างพร้อมกัน ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนแต่ละวัน และต้องหมั่นตรวจสอบบ่อยๆว่าได้บรรลุเป้าหมายนั้นแล้วหรือยัง ไม่ควรสั่งงานสำคัญกับลูกน้องที่เป็นวิตกจริต และควรกรอบว่าให้ทำอะไรและจะให้เสร็จเมื่อไร และต้องแนะนำว่าจะต้องทำอะไรในแต่ละวัน ควรทำอะไร อย่างปล่อยให้ว่างเพราะจะฟุ้งซ่าน

ต้องคอยระวังในเรื่องการทำลายความสามัคคี เพราะชอบวิเคราะห์วิจารณ์ พูดในทางไม่ค่อยสร้างสรรค์ทำให้คนจริตอื่นไม่สบายใจไม่อยากร่วมงานด้วย และยิ่งผู้ที่เป็นวิตกจริตมาเจอกันเองแล้วโอกาสทะเลาะวิวาทกันก็มีสูง

ไม่เคารพกฎเกณฑ์หากมีช่องทางก็จะหาทางละเมิดกฎระเบียบต่างๆ โดยหาเหตุผลต่างๆนาเข้าข้างตัวเองเก่ง ดังนั้น ต้องคอยปรามตักเตือนไว้ทันทีที่ทำไม่ถูกต้อง และถ้าไม่ตักเตือน จะใช้การที่ไม่ตักเตือนมาเล่นงานหัวหน้าได้

เป็นคนมีอัตตาสูงในด้านความคิด แต่ไม่มีความรู้สึก ไม่รักตัวเอง คิดจะทำลายตัวเอง และพร้อมจะดึงหัวหน้าตามไปด้วย

 

ศรัทธาจริต

เชื่อมั่นว่าตัวเองมีหลักการอุดมการณ์ คิดว่าตนเองเป็นคนดีน่าศรัทธาประเสริฐมากกว่าพุทธิ เพราะคิดอย่างมีหลักการและพูดอย่างมีหลักการตลอด แต่คนที่มีศรัทธาจริตพระพุทธเจ้ากล่าวว่า เป็นคนมีปัญญาต่ำ เพราะมีความเชื่ออย่างรุนแรงว่าจะเป็นอย่างนั้น และจะไม่ยอมรับความคิดของคนอื่น หากคนอื่นมีความคิดแตกต่างจากเราก็ไม่ยอมรับ ไม่ได้พิจารณาเหตุผล ไม่พิจารณา ต้องคิดถึงหลักกาลามสูตร อย่าเชือเพราะตามกันมา อย่าเชื่อเพราะเป็นศาสดา อย่าเชื่อเพราะเป็นครูบาอาจารย์ อย่าเชื่อเพราะเห็นว่ามีเหตุมีผลสอดคล้องกับความคิดของเรา โดยธรรมชาติเวลาเราสั่งสอนคนก็อยากให้คนอื่นเชื่อ คนพูดก็ให้รับฟังก่อน แต่หลังจากนั้น ให้ดูเหตุดูผล ตามสติปัญญาอำนวย พิจารณาให้เต็มที่ ถ้าเชื่อคนก็ไม่ใช่พุทธศาสนิกชน

ไม่รู้จักประนีประนอม ความจริงมีอยู่หนึ่งเดียว คนไม่เห็นด้วยเป็นฝ่ายผิด ทำให้คนมีศรัทธาไม่มีเมตรา เพราะคนมีความคิดไม่ตรงกันเราเป็นคนเลว ศรัทธาแรงๆ จะแยกแยะขาวดำ ไม่มีสีเทา คนคิดไม่เหมือนกันจะเอาเป็นเอาตาย

มักจะทำกิจการโดยไม่คิดถึงผลที่จะตามมา จะต่อต้านการทำแท้งโดยใช้ระเบิดบอมม์

มีจุดบวก ถ้ามีพุทธิด้วยจะเป็นพลังที่แรง แต่ถ้าไม่มีก็เหมือนมีเครื่องแรง แต่อาจวิ่งไปในทางผิดได้

หากมีเจ้านายเป็นศรัทธาจริต

มีกฏมระเบียบมากมาย เช่นต้องมาตรงเวลา แต่ตอนเย็นอาจอยู่ช่วย เอารัดเอาเปรียบ

พร้อมลงโทษด้วยความรวดเร็ว โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า ไม่มีความเมตตา

ถ้าลูกน้องเป็นศรัทธาจริต

เป็นบุญ เพราะตั้งใจทำงาน อยากเป็นคนดี อยากเป็นลูกน้องที่ดี มีคาวมเคารพเจ้านาย แต่อาจไม่ยอมรับคำตำหนิเพราะคิดว่าตัวเองดี และการที่คิดว่าตัวเองดีจึงชอบตัดสินคนรองข้างและวิพากวิจารณ์ หากคิดไม่เหมือนก็มองว่าเป็นคนเลว

 

พุทธิจริต

จะเรียนรู้เร็ว พูดอะไรเป็นเหตุเป็นผล ตัวกูของกูไม่สูงต่ำกว่าวิตก พร้อมจะรับความคิดเห็นเพื่อพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นสูงขึ้น จึงยอมรับความคิดใหม่ซึ่งมีเหตุผล จิตปักอยู่ในเหตุผลจึงตรงประเด็น ไม่เอาเปรียบ มีความเมตราท่วมจิต เพราะคิดตามความเป็นจริง และไม่คิดในทางลบ ต้องการพัฒนาขัดเกลาจิตใจ ตลอดเวลา จึงเห็นปัญหาและทางแก้ เมื่อเห็นผู้อื่นจึงเกิดความเมตราไปด้วย ในคนพูดเต็มไปด้วยสติและปัญญา แตกต่างวิตกที่พูดแยะทำแยะแต่ผิดๆถูก เป็นคนที่เชื่อถือได้

หน้าตาผ่องใส แตกต่างกับวิตกเพราะฟุ้งซ่านจึงเหี่ยวย่นเหนื่อยอเน็จอนารถ พุทธิจึงหน้าไม่ทุกข์

มีสมาธิเข็มแข็ง มองโลกตามความเป็นจริง มีพลังซึ่งแตกต่างจากโมหะซึ่งไม่เบิกบาน เศร้า ถึงเวลาพูดก็ไม่พูด ไม่มีพลัง

ตา สว่างไสว รู้ โทสะ ตาแข็งโปน เป็นประกายแห่งความเหี้ยมดุ โมหะ ตาเยิ้มแต่เศร้า ราคะจะเปล่งปลั่ง วิตกตาจะหลอก แหลก

จะรู้จักสังเกตุสิ่งต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นสีหน้า เพื่อที่จะปรับความคิด การพูด การกระทำของตัวเอง หาได้ลำบากในสังคม

เป็นกัลยาณมิตร ต้องการให้คนอื่นก้าวหน้า คบคนประเภทก็เป็นคนประเภทนั้น ควรคบคนที่สูงกว่าดีกว่าเรา ถ้าเลือกได้ แต่การให้ความช่วยเหลือต้องให้กับทุกคน การให้ความช่วยเหลือต้องทำโดยไม่ให้ตัวเองเดือนร้อน หากเรามีกำลังจิตไม่พอจะถูกครอบหงำโดยคนรอบข้าง

น้อยคนที่จะเป็นเพราะต้องมีเหตุผล ต้องมีพลังศรัทธาตามด้วย ความอยากที่จะรู้ จิตใจเป็นอย่างไร

ถ้านายเป็น

ควรทำงานด้วย เพราะชอบแนะนำชอบสอน ไม่ได้ตำหนิ เปิดให้ก้าวหน้าพัฒนา และพึ่งพาได้ และสามารถช่วยเหลือได้ เพราะเป็นคนมีธรรม และต้องการพัฒนา

ถ้ามีลูกน้องเป็นพุทธิจริต

สามารถพัฒนาได้ ให้เป็นมือขวา รู้สูงต่ำ อะไรควรไม่ควร

เลิกเอาตัวเราเป็นที่ตั้ง ควรดูคนที่เราคุยด้วยเป็นประเภทอะไร จะทำให้เราเข้าใจเขา เพราะวิธีในการพูดคุยกับคนประเภทหนึ่งย่อมแตกต่างจากคนอีกประเภทหนึ่ง

ข้อเสียของพุทธิจริต

มีความมั่นใจมาก จิตใจราบรื่น เป็นสุขดี ทำให้มีแรงเฉี่อย ทำให้ไม่ต้องการพัฒนาจิตใจด้านธรรม ไม่ต้องปรับปรุงเมื่อเจอพลังด้านลบ อาจเอาตัวไม่รอด หรืออาจจบลงด้วยความเครียด มึนงงว่าจะแก้ได้อย่างไร ไม่เข้าใจคนอยู่ในมุมมืดมุมอับ ต้องพึ่งธรรมว่าจะฝ่าฟันโลกไปได้

Sunday, November 27, 2011

ความสุข ๕ ชั้น

ความสุข ๕ ชั้น

Happiness  5 Levels

                                                                        พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต)

23  กรกฎาคม  2549
Font : CordiaUPC  
  

ฝึกตนยิ่งขึ้นไป ดำเนินชีวิตให้ถูก ความสุขยิ่งเพิ่มพูน

              เมื่อทำตัวเป็นพระพรหมได้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้วก็มาทำชีวิตให้เข้าถึงความสุข ในทีนี้ขอพูดคร่าว ๆ ถึงความสุข ๕ ชั้นขอพูดอย่างย่อ ในเวลาที่เหลืออันจำกัดดังนี้

ขั้นที่ ๑ คือ ความสุขจากการเสพวัตถุ หรือสิ่งบำรุงบำเรอภายนอกที่นำมาปรนเปรอ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของเรา ข้อนี้เป็นความสุขสามัญที่ทุกคนในโลกปรารถนากันมาก
              ความสุขประเภทนี้ขึ้นต่อสิ่งภายนอก เพราะว่าเป็นวัตถุ หรืออามิสภายนอก เมื่อเป็นสิ่งภายนอก อยู่นอกตัว ก็ต้องหา ต้องเอา เพราะฉะนั้นสภาพจิตของคนที่หาความสุขประเภทนี้จึงเต็มไปด้วยความคิดที่จะได้จะเอา แล้วก็ต้องหา และดิ้นรนทะยานไป เมื่อได้มาก ก็มีความสุขมาก แล้วก็เพลิดเพลินไปกับความสุขเหล่านั้น พอได้มาก ๆ เข้า ต่อมาก็นึกว่าตัวเองเก่งมาก ๆ ไป ๆ มา ๆ โดยไม่รู้ตัวก็มีภาวะอย่างหนึ่งเกิดขึ้น คือ ชีวิตและความสุขของตัวเองต้องไปขึ้นกับวัตถุเหล่านั้น อยู่ลำพังง่าย ๆ อย่างเก่า ไม่สุขเสียแล้ว ตอนที่เกิดมาใหม่ ๆ นี้ ไม่ต้องมีอะไรมากก็พอจะมีความสุขได้ ต่อมามีวัตถุมาก เสพมาก ทีนี้ขาดวัตถุเหล่านั้นไม่ได้เสียแล้ว กลายเป็นว่าสูญเสียอิสรภาพ ชีวิตและความสุขต้องไปขึ้นกับวัตถุภายนอก แต่เข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเก่ง อันนี้เป็นข้อสำคัญที่คนเราหลงลืมไป ทางธรรมจึงเตือนไว้เสมอว่าเรา อย่าสูญเสียอิสรภาพนี้ไป พร้อมทั้งอย่าสูญเสียความสามารถที่จะเป็นสุข
              สิ่งที่คนเราจะพัฒนากันมากก็คือ การพัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพมาบำเรอความสุข แม้แต่การศึกษา ทำไปทำมาก็ไม่รู้ตัวว่ากลายเป็นการพัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพบำเรอความสุข แต่อีกด้านหนึ่งของชีวิตที่ลืมไปคือการพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุข ถ้าเราไม่พัฒนาความสามารถที่จะมีความสุข หรือแม้แต่ไม่รักษามันไว้เราก็สูญเสียความสามารถที่จะมีความสุข
              อาการของคนที่สูญเสียความสามารถที่จะมีความสุข ก็คือยิ่งอยู่ในโลกนานไปก็ยิ่งกลายเป็นคนที่สุขยากขึ้น คนจำนวนมากสมัยนี้มีลักษณะอย่างนี้ คืออยู่ในโลกนานไป เติบโตขึ้น กลายเป็นคนที่สุขได้ยากขึ้น ต่างจากคนที่รักษาดุลยภาพของชีวิตไว้ได้ โดยพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขควบคู่ไปด้วย จะเป็นคนที่มีมีลักษณะตรงข้าม คือยิ่งอยู่ในโลกนานไป ก็ยิ่งเป็นคนที่สุขได้ง่ายขึ้น
              ถ้าเป็นคนที่สุขได้ง่ายขึ้น ก็ดี ๒ ชั้น คือ เราพัฒนาสองด้านไปพร้อมกัน ทั้งพัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพบำเรอความสุขด้วย และพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขด้วย ผลก็คือ เราหาสิ่งมาบำเรอความสุขได้เก่ง ได้มากด้วย และพร้อมกันนั้นเราก็เป็นคนทีสุขได้ง่ายด้วย เราก็เลยสุขซ้อนทวีคูณ
              ส่วนคนที่สูญเสียความสามารถที่จะมีความสุข แม้จะหาสิ่งเสพบำเรอความสุขได้มาก แต่ความสุขก็ที่เดิมเรื่อยไป เพราะข้างนอกได้มา ๑ แต่ข้างในก็ลดลงไป ๑ เลยเหลือ 0 ที่เดิม กระบวนการวิ่งหาความสุขจึงดำเนินไปไม่รู้จักจบสิ้น เพราะความสุขวิ่งหนีเราไปเรื่อย ๆ
              เพราะฉะนั้น จะต้องพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขไว้ด้วยคู่กัน เป็นคนที่สุขได้ง่ายก็เป็นอันว่าสบาย อย่างน้อยก็ฝึกตัวเองไว้ อย่าให้ความสุขต้องขึ้นกับวัตถุมากเกินไป
              ศีล ๕ เป็นตัวอย่างของวิธีฝึกไม่ให้เราสูญเสียอิสรภาพ โดยไม่เอาความสุขไปขึ้นต่อวัตถุมากเกินไป แปดวันก็รักษาศีล ๘ ครั้งหนึ่ง ลองหัดดูซิว่าให้ความสุขของเราไม่ต้องขึ้นกับการบำรุงบำเรอทางกายด้วยวัตถุ เริ่มด้วยข้อวิกาลโภชนาฯ ไม่ต้องบำเรอลิ้นด้วยอาหารอร่อยอยู่เรื่อย ไม่คอยตามใจลิ้น กินแค่เที่ยง เพียงที่ที่ร่างกายต้องการเพื่อให้มีสุขภาพดี แข็งแรง ตลอดจนข้อ อุจจาสยนะฯ ไม่บำเรอตัวด้วยการนอน ไม่ต้องนอนบนฟูก ลองนอนง่าย ๆ บนพื้น บนเสื่อธรรมดา ลองไม่ดูการบันเทิงซิ ทุก ๘ วัน เอาครั้งเดียว จะเป็นการรักษาอิสรภาพของชีวิตไว้ และฝึกให้เรามีชีวิตอยู่ดีได้โดยไม่ต้องขึ้นกับวัตถุมากเกินไป
              พอฝึกได้แล้วต่อมาเราจะพูดถึงวัตถุหรือสิ่งบำรุงความสุขเหล่านั้นว่า "มีก็ดี ไม่มีก็ได้" ต่างจากคนที่ไม่พัฒนาความสามารถที่จะมีความสุข ซึ่งจะเอาความสุขไปขึ้นต่อวัตถุ ถ้าไม่มีวัตถุเหล่านั้นเสพแล้วอยู่ไม่ได้ รุรนทุราย ต้องพูดถึงวัตถุหรือสิ่งเสพเหล่านั้นว่า "ต้องมีจึงจะอยู่ได้ ไม่มีอยู่ไม่ได้" คนที่เป็นอย่างนี้จะแย่ ชีวิตนี้สูญเสียอิสรภาพ คนยิ่งอายุมากขึ้นสถานการณ์ก็ไม่แน่นอน ถึงเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย ร่างกายเสพความสุขจากสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ เช่น ลิ้นไม่รับรู้รส กินอาหารก็ไม่อร่อย ถ้าไม่ฝึกไว้ ความสุขของตัว ไปอยู่ที่วัตถุเหล่านั้นเสียหมดแล้ว และตัวก็เสพมันไม่ได้ จิตใจก็ไม่มีความสามารถที่จะมีความสุขด้วยตนเอง ก็จะลำบากมาก ทุกข์มาก เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนให้ฝึกไว้ รักษาศีล ๘ นี้แปดวันครั้งหนึ่ง จะได้ไม่สูญเสียอิสรภาพนี้ไป
              เพราะฉะนั้นเอาคำว่า "มีก็ดี ไม่มีก็ได้" นี้ไว้ ถามตัวเอง เป็นการตรวจสอบอยู่เสมอว่า เราถึงขั้นนี้หรือยัง หรือต้องมีจึงจะอยู่ได้ ถ้ายังพูดได้ว่า มีก็ดีไม่มีก็ได้ ก็เบาใจได้ว่า เรายังมีอิสรภาพอยู่ ต่อไปถ้าเราฝึกเก่งขึ้นไปอีก อาจจะมาถึงขั้นที่พูดได้ในบางเรื่องว่า "มีก็ได้ ไม่มีก็ดี" ถ้าได้อย่างนี้ก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก
              คนที่พูดได้อย่างนี้ จะมีความรู้สึกว่าของพวกนี้เกะกะ เราอยู่ของเราง่าย ๆ ดีแล้ว มีก็ได้ไม่มีก็ดี ไม่มีเราก็สบาย ชีวิตเป็นอิสระโปร่งเบาความสุขเริ่มไม่ขึ้นต่อวัตถุอามิสสิ่งเสพภายนอก ความสุขเริ่มไม่ต้องหา
              -ความสุขที่ต้องหา แสดงว่าเราขาด คือยังไม่มีความสุขนั้นเราหาได้ที เสพทีก็มีสุขที แต่ระหว่างนั้นต้องอยู่ด้วยการอ อยู่ด้วยความหวัง บางทีก็ถึงกับทุรนทุราย กระวนกระวาย เพราะฉะนั้น จะต้องทำตัวให้มีความสุขด้วยตนเองสำรองไว้ให้ได้ ด้วยวิธีฝึกรักษาอิสรภาพของชีวิต และรักษาความสามารถที่จะมีความสุขไว้

ขั้นที่ ๒ พอเจริญคุณธรรม เช่น มีเมตตากรุณา มีศรัทธา เราก็มีความสุขเพิ่มขึ้นอีกประเภทหนึ่ง แต่ก่อนนี้ชีวิตเคยต้องได้วัตถุมาเสพต้องได้ ต้องเอา เมื่อได้จึงจะมีความสุข ถ้าคือเสียก็ไม่มีความสุข แต่คราวนี้ คุณธรรมทำให้ใจเราเปลี่ยนไป เหมือนพ่อแม่ที่มีความสุขเมื่อให้แก่ลูก เพราะรักลูก ความรักคือเมตตา ทำให้อยากให้ลูกมีความสุขพอให้แก่ลูกแล้วเห็นลูกมีความสุข ตัวเองก็มีความสุข เมื่อพัฒนาเมตตากรุณาขยายออกไปถึงใคร ให้แก่คนนั้น ก็ทำให้ตัวเองมีความสุขศรัทธาในพระศาสนาในการทำความดี และในการบำเพ็ญประโยชน์เป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน เมื่อให้ด้วยศรัทธา ก็มีความสุขจากการให้นั้น ดังนั้นคุณธรรมที่พัฒนาขึ้นมาในใจ เช่น เมตตากรุณา ศรัทธา จึงทำให้เรามีความสุขจากการให้ การให้กลายเป็นความสุข

ขั้นที่ ๓ ความสุขเกิดจากการดำเนินชีวิตถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ ไม่หลงอยู่ในโลกของสมมติ ที่ผ่านมานั้นเราอยู่ในโลกของสมมติมาก และบางทีเราก็หลงไปกับความสุขในโลกของสมมตินั้น แล้วก็ถูกสมมติ ล่อหลอกเอา อยู่ด้วยความหวังสุขจากสมมติที่ไม่จริงจังยั่งยืน และพาให้ตัวแปลกแยกจากความจริงของธรรมชาติ และขาดความสุขที่พึงได้จากความเป็นจริงในธรรมชาติเหมือนคนทำสวนที่มีวหวังความสุขจากเงินเดือน เลยมองข้ามผลที่แท้จริงตามธรรมชาติจากการทำงานของตัว คือความเจริญงอกงามของต้นไม้ ทำให้ทำงานด้วยความฝืนใจเป็นทุกข์ ความสุขอยู่ที่การได้เงินเดือนอย่างเดียว ได้แต่รอความสุขที่อยู่ข้างหน้า แต่พอใจมาอยู่กับความเป็นจริงของธรรมชาติ อยากเห็นผลที่แท้จริงตามธรรมชาติของการทำงาน ของตน คือ อยากเห็นต้นไม้เจริญงอกงาม หายหลงสมมติ ก็มีความสุขในทำสวน และได้ความสุข จากการชื่นชมความเจริญงอกงามของต้นไม้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น คนที่ปรับชีวิตได้ เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ จึงสามารถหาความสุขจากการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ได้เสมอ พอปัญญามาบรรจบให้วางใจถูก ชีวิตและความสุขก็ถึงความสมบูรณ์

ขั้นที่ ๔ ความสุขจากความสามารถปรุงแต่ง คนเรานี้มีความสามารถในการปรุงแต่ง ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของมนุษย์ ปรุงแต่งทุกข์ก็ได้ ปรุงแต่งสุขก็ได้ โดยเฉพาะที่เห็นเด่นชัดก็คือปรุงแต่งความคิดมาสร้างสิ่งประดิษฐ์ จนมีเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย
              ที่สำคัญก็คือในใจของเราเอง เรามักจะใช้ความสามารถในทางที่เป็นผลร้ายแก่ตนเอง แทนที่จะปรุงแต่งความสุข เรามักจะปรุงแต่งทุกข์ คือเก็บเอาอารมณ์ที่ไม่ดี ที่ขัดใจ ขัดหู ขัดตา เอามาครุ่นคิดให้ไม่สบายใจ ขุ่นมัว เศร้าหมอง โดยเฉพาะคนที่สูงอายุนี่ ต้องระวังมาก ใจคอยจะเก็บอารมณ์ที่กระทบกระเทือน ไม่สบาย แล้วก็มาปรุงแต่ง ให้เกิดความกลุ้มใจ ว้าเหว่ เหงา เรียกใช้ความสามารถไม่เป็น
              พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรารู้จักใช้ความสามารถในการปรุงแต่งแทนที่จะปรุงทุกข์ ก็ปรุงสุข เก็บเอาแต่อารมณ์ที่ดีมาปรุงแต่งใจให้สบาย แม้แต่หายใจ ที่ยังให้ปรุงแต่งความสุขไปด้วย ลองฝึกดูก็ได้เวลาหายใจเข้า ก็ทำใจให้เบิกบาน เวลาหายใจออก ก็ทำใจให้โปร่งเบาทานสอนไว้ว่าสภาพจิต 5 อย่างอย่างนี้ ควรปรุงแต่งให้มีในใจอยู่เสมอ คือ

๑. ปราโมทย์ ความร่าเริงเบิกปานใจ
๒. ปีติ ความอิ่มใจ
๓. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น ผ่อนคลายกายใจ ไม่เครียด
๔. ความสุข ความโปร่งโล่งใจ คล่องใจ สะดวกใจ ไม่มีอะไรมาบีบคั้น หรือติดขัดคับข้อง และ
๕. สมาธิ ภาวะที่จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการ ได้ตามาต้องการ ไม่มีอะไรมารล[กวน จิตอยู่ตัวของมัน


              ขอย้ำว่า ๕ ตัวนี่สร้างไว้ประจำใจให้ได้ เป็นสภาพจิตที่ดีมาก ผู้เจริญในธรรมจะมีคุณสมบัติของจิตใจ ๕ ประการนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า

ตโต ปาโมชฺชพหุโล ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ

แปลว่า ภิกษุปฏิบัติถูกต้องแล้ว มากด้วยปราโมทย์ มีจิตใจร่าเริงเบิกบานอยู่เสมอ จักทำทุกข์ให้หมดสิ้นไป ท่านพูดไว้ถึงอย่างนี้


              ฉะนั้น ท่านผู้เกษียณอายุนั้น ถึงเวลาแล้ว ควรจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ถือเป็นโอกาสดี มาปรุงแต่งใจ แต่ก่อนนี้ปรุงแต่งแต่ทุกข์ทำให้ใจเครียด ขุ่นมัว เศร้าหมอง ตอนนี้ปรุงแต่งใจให้มีธรรม 5 อย่างนี้ คือ ปราโมทย์ มีความร่าเริงเบิกบานใจ ปีติ ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ ความผ่อนคลาย สงบเย็นกายใจ สุข โล่งโปร่งใจ สมาธิ สงบใจตั้งมั่น ไม่มีอะไรมารบกวน อยู่ตัว สบายเลย ทำใจให้ได้อย่างนี้อยู่เสมอ ท่องไว้เลย 5 ตัวนี้ คือ ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ พระพุทธเจ้าประทานไว้แล้ว ทำไมเราไม่เอามาใช้ นี่แหละความสามารถในการปรุงแต่งจิต เอามาใช้ สบายแน่ และก็เจริญงอกงามในธรรมด้วย
              โดยเฉพาะ ที่นผู้สูงอายุนั้นก็เป็นธรรมดาว่าจะต้องมีเวลาพักและเวลาว่างที่ว่างจากกิจกรรม มากกว่าคนหนุ่มสาวและคนวัยทำงานที่เขายังมีกำลังร่างกายแข็งแรงดี ว่างจากงานเขาก็ไปเล่นไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้มาก แต่ท่านที่สูงอายุ นอกจากออกกำลังบริหารร่างกายบ้างแล้ว ก็ต้องการเวลาพักผ่อนมากหน่อย จึงมีเวลาว่าง ซึ่งไม่ควรปล่อยให้กายว่างแต่ใจวุ่น
              เพราะฉะนั้น ในเวลาที่ว่าง ไม่มีอะไรทำ และก็ยังไม่พักผ่อนนอนหลับ หรือนอนแล้วก่อนจะหลับ ก็พักผ่อนจิตใจให้สบาย ขอเสนอวิธีปฏิบัติง่าย ๆ ไว้อย่างหนึ่งว่า ในเวลาที่ว่างอย่างนั้น ให้สูดลมหายใจเข้าและหายใจออกอย่างสบาย ๆ สม่ำเสมอ ให้ใจอยู่กับลมหายใจที่เข้าและออกนั้น พร้อมกันนั้นก็พูดในใจไปด้วย ตามจังหวะลมหายใจเข้าและออกว่า

จิตใจเบิกบานหายใจเข้า
จิตใจโล่งเบาหายใจออก


              ในเวลาที่พูดในใจอย่างไร ก็ทำใจให้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ด้วย หรืออาจจะเปลี่ยนเป็นสำนวนใหม่ก็ได้ว่า

หายใจเข้า สูดเอาความสดชื่น
หายใจออก ฟอกใจให้สดใส


              ถูกกับตัวแบบไหน ก็เลือกเอาแบบนั้น หายใจพร้อมกับทำใจไปด้วยอย่างนี้ตามแต่จะมีเวลาหรือพอใจ ก็จะได้การพักผ่อนที่เสริมพลังทั้งร่างกายและจิตใจ ชีวิตจะมีความหมาย มีคุณค่า และมีความสุขอยู่เรื่อยไป

ขั้นที่ ๕ สุดท้าย ความสุขเหนือการปรุงแต่ง คราวนี้ไม่ต้องปรุงแต่ง คืออยู่ด้วยปัญญา ที่รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต การเข้าถึงความจริงด้วยปัญญาเห็นแจ้ง ทำให้วางจิตวางใจลงตัวสนิทสบาย กับทุกสิ่งทุกอย่าง อยู่อย่างผู้เจนจบชีวิต
              สภาพจิตนี้จะเปรียบเทียบได้เหมือนสารถีที่เจนจบการขับรถสารถีผู้ชำนาญในการขับรถนั้น จะขับม้าให้นำรถเข้าถนน และวิ่งด้วยความเร็วพอดี ตอนแรกต้องใช้ความพยายาม ใช้แซ่ ดึงบังเหียนอยู่พักหนึ่ง แต่พอรถม้านั้นวิ่งเข้าที่เข้าทางดี ความเร็วพอดี อยู่ตัวแล้ว สารถีผู้เจนจบ ผู้ชำนาญแล้วนั้น จะนั่งสงบสบายเลย แต่ตลอดเวลานั้นเขามีตลอดเวลานั้นเขาไม่มีความประหวั่น ไม่มีความหวาด จิตเรียบสนิท ไม่เหมือนคนที่ยังไม่ชำนาญ จะขับรถนี่ ใจคอไม่ดี หวาดหวั่น ใจคอยกังวลโน่นนี่ ไม่ลงตัว แต่พอรู้เข้าใจความจริงเจนจบดี ด้วยความรู้นี่แหละ จะปรับความรู้สึกให้ลงตัว เป็นสภาพจิตที่เรียบสงบสบายที่สุด
              คนที่อยู่ในโลกด้วยความรู้เข้าใจโลกและชีวิตตามเป็นจริง จิตเจนจบกับโลกและชีวิต วางจิตลงตัวพอดี ทุกอย่างเข้าที่อยู่ตัวสนิทอย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็นจิตอุเบกขา เป็นจิตที่สบาย ไม่มีอะไรกวนเลยเรียบสนิท เป็นตัวของตัวเอง ลงตัว เมื่อทุกสิ่งเข้าที่ของมันแล้ว คนที่จิตลงตัวเช่นนี้ จะมีความสุขอยู่ประจำตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นสุขเต็มอิ่มอยู่ข้างใน ไม่ต้องหาจากข้างนอก และเป็นผู้มีชีวิตที่พร้อมที่จะทำเพื่อผู้อื่นได้เต็มที่ เพราะไม่ต้องห่วงกังวลถึงความสุขของตนและไม่มีอะไรที่จะต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป จะมองโลกด้วยปัญญาที่รู้ความจริง และด้วยใจที่กว้างขวางและรู้สึกเกื้อกูล
              คนที่พัฒนาความสุขมาถึงขึ้นสุดท้ายแล้วนี้ เป็นผู้พร้อมที่จะเสวยความสุขทุกอย่างใน ๔ ข้อแรก ไม่เหมือนคนที่ไม่พัฒนา ได้แต่หาความสุขประเภทแรกอย่างเดียว เมื่อหาไม่ได้ก็มีแต่ความทุกข์เต็มที่และในเวลาที่เสพความสุขนั้น จิตใจก็ไม่โปร่งไม่โล่ง มีความหวั่นใจหวาดระแวงขุ่นมัว มีอะไรรบกวนอยู่ในใจ สุขไม่เต็มที่ แต่พอพัฒนาความสุขขึ้นมา ยิ่งพัฒนาถึงขั้นสูงขึ้น ก็มีโอกาสได้รับความสุขเพิ่มขึ้นหลายทาง กลายเป็นว่า ความสุขมีให้เลือกได้มากมาย และจิตใจที่พัฒนาดีแล้ว ช่วยให้เสวยความสุขทุกอย่างได้เต็มที่ โดยที่ในขณะนั้น ๆ ไม่มีอะไรรบกวนให้ขุ่นข้องหมองมัว
              เป็นอันว่าธรรมะ ช่วยให้เรารู้จักความสุขในการดำเนินชีวิตมากยิ่ง ๆขึ้นไป สู่ความเป็นผู้เต็มเปี่ยมสมบูรณ์ จนกระทั่งความสุขเป็นคุณสมบัติของชีวิตอยู่ภายในตัวเองตลอดทุกเวลา ไม่ต้องหาไม่ต้องรออีกต่อไป ความสุข ๕ ขั้นนี้ ความจริงแต่ละข้อต้องอธิบายกันมาก แต่วันนี้พูดไว้พอให้ได้หัวข้อก่อน คิดว่าคงจะเป็นประโยชน์พอสมควร
              ขออนุโมทนา ท่านผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ขอตั้งจิตส่งเสริมกำลังใจ ขอให้ทุกคนประสบจตุรพิธพรชัย มีปีติอิ่มใจอย่างน้อยว่า ชีวิตส่วนที่ผ่านมาได้ทำประโยชน์ ได้ทำสิ่งที่มีค่าไปแล้ว ถือว่าได้บรรลุจุดหมายของชีวิตไปแล้วส่วนหนึ่ง
              เพราะฉะนั้นจึงควรตั้งใจว่า เราจะเดินหน้าต่อไปอีกสู่จุดหมายชีวิตที่ควรจะได้ต่อไป เพราะยังมีสิ่งที่จะทำชีวิตให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีกไม่ใช่แค่นี้ ชีวิตนั้นยังเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็นประโยชน์ ที่จะทำให้เต็มเปี่ยมได้ยิ่งกว่านี้ จึงขอให้ทุกท่านเข้าถึงความสมบูรณ์ของชีวิตนั้นสืบต่อไปและขอให้ทุกที่นมี ความร่มเย็นเป็นสุขในพระธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยทั่วกันตลอดกาล ทุกเมื่อ.

/
คู่มือชีวิต/พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)

           

พุทธวิธีบริหาร
Buddhist Style in Management

รัก 4 แบบ

รัก 4 แบบ

สมหวัง  วิทยาปัญญานนท์

16  ตุลาคม 2545
Font : CordiaUPC

เราลองมาพิจารณาเรื่องความรัก ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 แบบ ดังนี้ 
1. รักใฝ่กามหา เป็นความรักในเชิงกามรส เชิงเพศ เช่นความรักของหนุ่มสาวที่รักไม่จริง หวังสนุกอย่างเดียว
2. รักเพื่อแบ่งปันความรัก เป็นความรักที่เผื่อแผ่ไปยังคนอื่น แบ่งๆ กันไป สุขด้วยกัน ไม่ถึงกับขาดทุน เช่นความรักระหว่างเพื่อนฝูง ญาติมิตรที่สนิทกัน
3. รักเพื่อทุกข์ และให้สุขแก่เขา เป็นความรักของผู้เสียสละ เช่นความรักของพ่อ แม่ ที่มีต่อลูก เป็นการให้ความรักจนหมดตัว จนถึงระดับขาดทุนจนตนเองเป็นทุกข์ เพราะคิดว่าสุขของคนที่เรารัก เป็นความสุขของผู้เสียสละ
4. รักเพื่อตนเองเป็นสุข เป็นความรักที่เห็นแก่ตัว คนอื่นทุกข์ไม่เป็นไร ขอให้ตนเองสมหวังก็แล้วกัน เช่นนักเที่ยว นักหว่านเสน่ห์ และนักปล้นสวาท ทั้งหลาย


ในทางพุทธนั้น อยากให้เปลี่ยนความรัก ที่คิดหวังจะเอาหรืออยากได้รับ เป็นความเมตตา ที่คิดหวังจะให้
อย่าลืม "ความรักที่ขาดปัญญา จะเหมือนคนตาบอด" "ความรักเป็นพลังขับที่ทำให้ทำอะไรที่เหลือเชื่อ" และ "ความรักเป็นดาบสองคม" ดังนั้นจงพึงระวังเรื่องความรัก

หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างตามสมควร

พุทธวิธีบริหาร
Buddhist Style in Management

เรียน 7 วิชาพ้นจากการเป็นทาส

เรียน 7 วิชาพ้นจากการเป็นทาส

Font : CordiaUPC

กรีกโบราณ

1. พละ  2. ดนตรี   3. เลขคณิต
4. เรขาคณิต  5. ดาราศาสตร์  6. ภาษาศาสตร์    

 7. ปรัชญา

                                                                                 

โรมัน

1. ตรรกวิทยา   2. ดนตรี      3. เลขคณิต 
4. เรขาคณิต  5. ดาราศาสตร์ 6. ภาษาศาสตร์  

 7. ปรัชญา

                                                                               

ผู้ที่เรียนแล้ว  จะพ้นจากการเป็นทาส

 

พุทธวิธีบริหาร
Buddhist Style in Management

มงคลชีวิต ๓๘ ประการ

มงคลชีวิต ๓๘ ประการ

ศาลาธรรม
Font : CordiaUPC

Copy From >>>>   http://salatham.com/do-donts/38virtues.htm

มงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ
นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี 

"มงคลชีวิต" ซึ่งก็มี ๓๘ ประการได้แก่

๑. การไม่คบคนพาล                         ๒. การคบบัญฑิต                              ๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา  
๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร                   ๕. เคยทำบุญมาก่อน                           ๖. การตั้งตนชอบ 
 ๗. ความเป็นพหูสูต                         ๘. การรอบรู้ในศิลปะ                          ๙. มีวินัยที่ดี  
๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต              ๑๑.การบำรุงบิดามารดา                     ๑๒.การสงเคราะห์บุตร
๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา                  ๑๔.ทำงานไม่ให้คั่งค้าง                       ๑๕.การให้ทาน
๑๖.การประพฤติธรรม                     ๑๗.การสงเคราะห์ญาติ                      ๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ
๑๙.ละเว้นจากบาป                        ๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา                 ๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
๒๒.มีความเคารพ                          ๒๓.มีความถ่อมตน                           ๒๔.มีความสันโดษ
๒๕.มีความกตัญญู                         ๒๖.การฟังธรรมตามกาล                    ๒๗.มีความอดทน
๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย                            ๒๙.การได้เห็นสมณะ                        ๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล
๓๑.การบำเพ็ญตบะ                       ๓๒.การประพฤติพรหมจรรย ์                 ๓๓.การเห็นอริยสัจ
๓๔.การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน          ๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม               ๓๖.มีจิตไม่เศร้าโศก
๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส                  ๓๘.มีจิตเกษม

๑. การไม่คบคนพาล

ท่านว่าลักษณะของคนพาลมี ๓ ประการคือ
๑.คิดชั่ว คือการมีจิตคิดอยากได้ในทางทุจริต มีความพยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ คือเห็นผิดเป็นชอบ
๒.พูดชั่ว คือคำพูดที่ประกอบไปด้วยวจีทุจริตเช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ
๓.ทำชั่ว คือทำอะไรที่ประกอบด้วยกายทุจริตเช่น การฆ่าสัตว์ ลักขโมย ฉ้อโกง ฉุดคร่าอนาจาร ประพฤติผิดในกาม

รูปแบบของคนพาล มีข้อควรสังเกตุคือ
๑. ชอบแนะนำไปในทางที่ผิด หรือที่ไม่ควรแนะนำ อาทิเช่น แนะนำให้ไปเล่นการพนัน ให้ไปลักขโมย ให้กินยาบ้า
ให้เสพยา ชวนไปฉุดคร่าอนาจารเป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นพาล
๒. ชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ อาทิเช่น ไม่ทำงานตามหน้าที่ของตนให้เรียบร้อย
แต่กลับชอบจะไปก้าวก่ายยุ่งกับหน้าที่การงานของผู้อื่น หรือไปจับผิดเพื่อนร่วมงาน แกล้ง ยุยง
นินทาว่าร้ายกันและกันเป็นต้น
๓. ชอบทำผิดโดยเห็นสิ่งผิดเป็นของดี อาทิเช่น การสูบยาได้เป็นฮีโร่ เห็นคนที่ซื่อสัตย์เป็นคนโง่ไม่กินตามน้ำ
ชอบรับสินบน ทุจริตในหน้าที่ หรือช่วยพวกพ้องให้พ้นจากความผิดเป็นต้น
๔. จะโกรธเคืองเมื่อพูดเตือน อาทิเช่น การเตือนเรื่องการเที่ยวเตร่ เตือนเรื่องการดื่มเหล้า กลับบ้านดึก
เตือนเรื่องการคบเพื่อนเป้นต้น คนพวกนี้จะโกรธเมื่อได้รับการตักเตือน และไม่รับฟัง
๕. ไม่มีระเบียบวินัย อาทิเช่น ไม่เข้าคิวตามลำดับก่อนหลัง แต่ชอบแซงคิวอย่างหน้าด้านๆ ทิ้งขยะลงคลอง หรือข้างทาง
ไม่เคารพกฏหมายของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่นเป็นต้น


๒. การคบบัญฑิต

บัณฑิต หมายถึงผู้ทรงความรู้ มีปัญญา มีจิตใจที่งาม และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้ดีรู้ชั่ว (ไม่ใช่คนที่จบปริญญาโดยนัย)
มีลักษณะดังนี้คือ
๑. เป็นคนคิดดี คือการไม่คิดละโมบ ไม่พยาบาทปองร้ายใคร รู้จักให้อภัย เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความกตัญญูรู้คุณเป็นต้น
๒. เป็นคนพูดดี คือวจีสุจริต พูดจริง ทำจริงไม่โกหก ไม่พูดหยาบ ถากถาง นินทาว่าร้าย
๓. เป็นคนทำดี คือทำอาชีพสุจริต มีเมตตา ทำทานเป็นปกตินิสัย อยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิภาวนา

รูปแบบของบัณฑิต มีข้อควรสังเกตุคือ
๑. ชอบชักนำในทางที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการชักนำให้เลิกทำในสิ่งที่ผิด ตักเตือนให้ทำความดีอย่างเช่น
ให้เลิกเล่นการพนันเป็นต้น
๒. ชอบทำในสิ่งที่เป็นธุระ อาทิเช่นการทำหน้าที่ของตนให้ลุล่วง และใช้เวลาที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์
ไม่ก้าวก่ายเรื่องของผู้อื่นเว้นแต่จะได้รับการร้องขอ
๓. ชอบทำและแนะนำสิ่งที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการพูดและทำอย่างตรงไปตรงมา แนะนำการทำทานที่ถูกต้อง
ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น
๔. รับฟังดี ไม่โกรธ อาทิเช่นเมื่อมีคนมาว่ากล่าวก็ไม่ถือโทษ หรือโกรธ หรือทำอวดดี
แต่จะรับฟังแล้วนำไปพิจารณาโดยยุติธรรม แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุง
๕. รู้ระเบียบ กฏกติกามรรยาทที่ดี อาทิเช่นการรักษาระเบียบวินัยขององค์กร เพื่อให้หมู่คณะมีความเป็นระเบียบ
และการดำเนินงานไม่สับสน หรือการรักษาความสะอาด ปฏิบัติ และเคารพกฏของสถานที่ ไม่ทำตามอำเภอใจ

๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

การบูชา คือการแสดงความเคารพบุคคลที่เรานับถือ ยกย่อง เลื่อมใสในบุคคลคนนั้น ซึ่งการบูชาแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ

๑. อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของเช่น การนำเงินให้พ่อแม่ไว้ใช้จ่าย หรือมอบทรัพย์สินให้พ่อแม่ หรือการนำดอกไม้
ธูปเทียนไปบูชาพระก็ถือเป็นอามิสบูชาเป้นต้น
๒.ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการเจริญสมาธิภาวนา การฝึกจิตให้ไม่ฟุ้งซ่าน เห็นความจริงในความเป็นไปของโลกเป็นต้น

บุคคลที่ควรบูชา มีดังนี้คือ
๑.พระพุทธเจ้า (คงไม่ต้องอธิบาย)
๒.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า หมายถึงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
๓.พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม
๔.บิดามารดา
๕.ครูอาจารย์ ที่มีความรู้ดี มีความสามารถ และประพฤติดี
๖.อุปัชฌาย์ หรือผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม


๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร

ถิ่นอันสมควรควรประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม ๔ อย่างได้แก่
๑.อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึงอยู่แล้วสบาย เช่นสะอาด เดินทางไปมาสะดวก อากาศดี เป็นแหล่งชุมชน
ไม่มีแหล่งอบายมุขเป็นต้น
๒.อาหารเป็นที่สบาย หมายถึงอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เช่นมีแหล่งอาหารที่สามารถจัดซื้อหามาได้ง่าย เป็นต้น
๓.บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึงที่ที่มีคนดี จิตใจโอบอ้อมอารี ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีศีลธรรม ไม่มีโจร นักเลง
หรือใกล้แหล่งอิทธิพลเป็นต้น
๔.ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึงมีที่พึ่งด้านธรรมะ มีที่ฟังธรรมเช่น มีวัดอยู่ในละแวกนั้น มีโรงเรียน
หรือแหล่งศึกษาหาความรู้เป็นต้น


๕. เคยทำบุญมาก่อน

ขึ้นชื่อว่าบุญนั้น มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ
๑. ทำให้กาย วาจา และใจ สะอาดได้
๒. นำมาซึ่งความสุข
๓. ติดตามไปได้ หมายถึงบุญจะติดตัวเราไปได้ตลอดจนถึงชาติหน้า
๔. เป็นของเฉพาะตน หมายถึงขอยืม หรือแบ่งกันไม่ได้ ทำเองได้เอง
๕. เป็นที่มาของโภคทรัพย์ทั้งหลาย คือว่าผลของบุญจะบันดาลให้เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ได้หวังผล
๖. ให้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติแก่เราได้ หมายถึงความสมบูรณ์ตั้งแต่ทางโลก จนถึงนิพพานได้เลย
๗. เป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งนิพพาน ก็คือเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้บรรลุถึงนิพพานได้เร็วขึ้นเมื่อปฏิบัติ
๘. เป็นเกราะป้องกันภัยในวัฏสังสาร หมายถึงในวงจรการเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือที่เรียกว่าเวียนว่ายตายเกิดนั้น
บุญจะคุ้มครองให้ผู้นั้นเกิดในที่ดี อยู่อย่างมีความสุข หรือตายอย่างไม่ทรมาน ขึ้นอยู่กับกำลังบุญที่สร้างสมมา

การทำบุญนั้นมีหลายวิธี แต่พอสรุปได้สั้นๆดังนี้คือ
๑.การทำทาน
๒.การรักษาศีล
๓.การเจริญภาวนา

๖. การตั้งตนชอบ

หมายถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ด้วยความถูกต้องและสุจริต อยู่ในสัมมาอาชีพ
มีแผนการที่จะไปให้ถึงจุดหมายนั้นด้วยความไม่ประมาท มีการเตรียมพร้อม และมีความอดทนไม่ละทิ้งกลางคัน

๗. ความเป็นพหูสูต

คือเป็นผู้ที่ฟังมาก เล่าเรียนมาก เป็นผู้รอบรู้ โดยมีลักษณะดังนี้คือ
๑.รู้ลึก คือการรู้ในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆอย่างหมดจดทุกแง่ทุกมุม อย่างมีเหตุมีผล รู้ถึงสาเหตุจนเรียกว่าความชำนาญ
๒.รู้รอบ คือการรู้จักช่างสังเกตในสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่นเหตุการณ์แวดล้อมเป็นต้น
๓.รู้กว้าง คือการรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน สัมพันธ์กันเป็นต้น
๔.รู้ไกล คือการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลในอนาคตเป็นต้น

ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังว่านี้คือ
๑.ความตั้งใจฟัง ก็คือชอบฟัง ชอบอ่านหาความรู้ และค้นคว้าเป็นต้น
๒.ความตั้งใจจำ ก็คือรู้จักวิธีจำ โดยตั้งใจอ่านหรือฟังในสิ่งนั้นๆ และจับใจความให้ได้
๓.ความตั้งใจท่อง ก็คือท่องให้รู้โดยอัตโนมัติ ไม่ลืม ในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ
๔.ความตั้งใจพิจารณา ก็คือการรู้จักพิจารณา ตรึกตรองในสิ่งนั้นๆอย่างทะลุปรุโปร่ง
๕.ความเข้าใจในปัญหา ก็คือการรู้อย่างแจ่มแจ้งในปัญหาอย่างถ่องแท้ด้วยปัญญา

๘. การรอบรู้ในศิลปะ

ศิลปะ คือสิ่งที่แสดงออกถึงความงดงาม และมีความสุนทรีย์ โดยลักษณะของมันมีดังนี้คือ
๑.มีความปราณีต
๒.ทำให้ของดูมีค่ามากขึ้น
๓.ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
๔.ไม่ทำให้เกิดกามกำเริบ
๕.ไม่ทำให้เกิดความพยาบาท
๖.ไม่ทำให้เกิดความเบียดเบียน

ถ้าท่านอยากเป็นคนมีศิลปะ ควรต้องฝึกให้มีคุณสมบัติเหล่านี้ไว้ในตัวคือ
๑.มีศรัทธาในความงดงามของสิ่งต่างๆ
๒.หมั่นสังเกตและพิจารณา
๓.มีความปราณีต อารมณ์ละเอียดอ่อน
๔.เป็นคนสุขุม มีความคิดสร้างสรรค์

๙. มีวินัยที่ดี

วินัย ก็คือข้อกำหนด ข้อบังคับ กฏเกณฑ์เพื่อควบคุมให้มีความเป็นระเบียบนั่นเอง มีทั้งวินัยของสงฆ์และของคนทั่วไป
สำหรับของสงฆ์นั้นมีทั้งหมด ๗ อย่างหรือเรียกว่า อนาคาริยวินัย ส่วนของบุคคลทั่วไปก็มี ๑๐ อย่าง
คือการละเว้นจากอกุศลกรรม ๑๐ ประการ
อนาคาริยวินัยของพระมีดังนี้
๑.ปาฏิโมกขสังวร คือการอยู่ในศีลทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ การผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าต้องโทษแล้วแต่ความหนักเบา
เรียงลำดับกันไปตั้งแต่ ขั้นปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต เป็นต้น
(ความหมายของแต่ละคำมันต้องอธิบายเยอะ จะไม่กล่าวในที่นี้)
๒.อินทรียสังวร คือการสำรวมอายตนะทั้ง ๕ และกาย วาจา ใจ ให้อยู่กับร่องกับรอย
โดยอย่าไปเพลิดเพลินติดกับสิ่งที่มาสัมผัสเหล่านั้น
๓.อาชีวปาริสุทธิสังวร คือการหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ นั่นก็คือการออกบิณฑบาตร ไม่ได้เรียกร้อง
เรี่ยไรหรือเที่ยวขอเงินชาวบ้านมาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของตัวเอง
๔.ปัจจยปัจจเวกขณะ คือการพิจารณาในสิ่งของทั้งหลายถึงคุณประโยชน์โดยเนื้อแท้ของสิ่งของเหล่านั้นอย่างแท้จริง
โดยใช้เพื่อบริโภค เพื่อประโยชน์ ความอยู่รอด และความเป็นไปของชีวิตเท่านั้น

วินัยสำหรับฆราวาส หรือบุคคลทั่วไป เรียกว่าอาคาริยวินัย มีดังนี้ (อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ)
๑.ไม่ฆ่าชีวิตคน หรือสัตว์ไม่ว่าน้อย ใหญ่
๒.ไม่ลักทรัพย์ ยักยอกเงิน สิ่งของมาเป็นของตัว
๓.ไม่ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกผิดเมีย ข่มขืนกระทำชำเรา
๔.ไม่พูดโกหก หลอกลวงให้หลงเชื่อ หรือชวนเชื่อ
๕.ไม่พูดส่อเสียด นินทาว่าร้าย ยุยงให้คนแตกแยกกัน
๖.ไม่พูดจาหยาบคาย ให้เป็นที่แสลงหูคนอื่น
๗.ไม่พูดจาไร้สาระ หรือที่เรียกว่าพูดจาเพ้อเจ้อไม่มีสาระ เหตุผล หรือประโยชน์อันใด
๘.ไม่โลภอยากได้ของเขา คือมีความคิดอยากเอาของคนอื่นมาเป็นของเรา
๙.ไม่คิดร้าย ผูกใจเจ็บ แค้น ปองร้ายคนอื่น
๑๐.ไม่เห็นผิดเป็นชอบ เช่น เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีความสำคัญ บุญหรือกรรมไม่มีจริงเป็นต้น

๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต

คำว่าวาจาอันเป็นสุภาษิตในที่นี้มิได้หมายถึงเพียงว่าต้องเป็นคำร้อยกรอง ร้อยแก้ว
เป็นคำคมบาดใจมีความหมายลึกซึ้งเท่านั้น แต่รวมถึงคำพูดที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง ซึ่งสรุปว่าประกอบด้วยลักษณะดังนี้
๑.ต้องเป็นคำจริง คือข้อมูลที่ถูกต้อง มีหลักฐานอ้างอิงได้ ไม่ได้ปั้นแต่งขึ้นมาพูด
๒.ต้องเป็นคำสุภาพ คือพูดด้วยภาษาที่สุภาพ มีความไพเราะในถ้อยคำ ไม่มีคำหยาบโลน หรือคำด่า
๓.พูดแล้วมีประโยชน์ คือมีประโยชน์ต่อผู้ฟังถ้าหากนำแนวทางไปคิด หรือปฏิบัติในทางสร้างสรรค์
๔.พูดด้วยจิตที่มีเมตตา คือพูดด้วยจิตใจที่มีความปรารถนาดีต่อผู้ฟัง มีความจริงใจต่อผู้ฟัง
๕.พูดได้ถูกกาลเทศะ คือพูดในสถานที่เหมาะสม และในเวลาที่เหมาะสม
โดยความเหมาะสมจะมีมากน้อยเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่พูด

๑๑.การบำรุงบิดามารดา

ท่านว่าพ่อแม่นั้นเปรียบได้เป็นทั้ง ครูของลูก เทวดาของลูก พรหมของลูก และอรหันต์ของลูก
ความหมายโดยละเอียดมีดังต่อไปนี้คือ

ที่ว่าเป็นครูของลูก เพราะว่าท่านได้คอยอบรมสั่งสอนลูก เป็นคนแรกก่อนคนอื่นใดในโลก
ที่ว่าเป็นเทวดาของลูก เพราะว่าท่านจะคอยปกป้อง คุ้มครอง เลี้ยงดู ประคบประหงมมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก
บำรุงให้เติบใหญ่เป็นอย่างดี ไม่ให้เกิดอันตรายต่อลูกในทุกด้าน
ที่ว่าเป็นพรหมของลูก เพราะว่าท่านมีพรหมวิหาร ๔ นั่นก็คือ มีเมตตา หมายถึงความเอ็นดู
ความปรารถนาดีต่อลูกในทุกๆด้าน ไม่มีที่สิ้นสุด มีกรุณา หมายถึงให้ความกรุณาต่อลูก
ลูกอยากได้อะไรก็หามาให้ลูก ให้การศึกษาเล่าเรียน ส่งเสียเท่าที่มีความสามารถจะให้ได้ มีมุทิตา
หมายถึงความรักที่ยอมสละได้แม้ชีวิตของตัวเองเพื่อลูก ยอมเสียสละได้ทุกอย่าง และมีอุเบกขา หมายถึงการวางเฉย
ไม่ถือโกรธเมื่อลูกประมาท ซน ทำผิดพลาดเพราะความไร้เดียงสา หรือเพราะความไม่รู้
ที่ว่าเป็นอรหันต์ของลูก เพราะว่าท่านมีคุณธรรม ๔ ประการอันได้แก่
เป็นผู้มีอุปการะคุณต่อลูก คืออุปการะเลี้ยงดูมาด้วยความเหนื่อยยาก กว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่
เป็นผู้มีพระเดชพระคุณต่อลูก คือให้ความอบอุ่นเลี้ยงดู ปกป้องจากภยันตรายต่างๆ นานา
เป็นเนื้อนาบุญของลูก คือลูกเป็นส่วนหนึ่งของกรรมดีที่พ่อแม่ได้ทำไว้
และเป็นผู้รับผลบุญที่พ่อแม่ได้สร้างไว้แล้วทางตรง
เป็นอาหุไนยบุคคล คือเป็นเหมือนพระที่ควรแก่การเคารพนับถือและรับของบูชา เพื่อเทอดทูนไว้เป็นแบบอย่าง

การทดแทนพระคุณบิดามารดาท่านสามารถทำได้ดังนี้

ระหว่างเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็เลี้ยงดูท่านเป็นการตอบแทน ช่วยเหลือเป็นธุระเรื่องการงานให้ท่าน
ดำรงวงศ์ตระกูลให้สืบไปไม่ทำเรื่องเสื่อมเสีย รวมทั้งประพฤติตนให้ควรแก่การเป็นสืบทอดมรดกจากท่าน
ครั้นเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศกุศลให้ท่าน
ส่วนการเป็นลูกกตัญญูต่อพ่อแม่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าไว้ดังนี้

๑.ถ้าท่านยังไม่มีศรัทธา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือพยายามให้ท่านมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
เชื่อในเรื่องการทำดี
๒.ถ้าท่านยังไม่มีศีล ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศีล คือพยายามให้ท่านเป็นผู้รักษาศีล ๕ ให้ได้
๓.ถ้าท่านเป็นคนตระหนี่ ให้ท่านถึงพร้อมด้วยการให้ทาน คือพยายามให้ท่านรู้จักการให้ด้วยเมตตาโดยไม่หวังผลตอบแทน

๔.ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยปัญญา คือพยายามให้ท่านหัดนั่งทำสมาธิภาวนาให้ได้

๑๒.การสงเคราะห์บุตร

คำว่าบุตรนั้น มีอยู่ ๓ ประเภทได้แก่
๑.อภิชาติบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถเหนือกว่าบิดา มารดา
๒.อนุชาตบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถเสมอบิดา มารดา
๓.อวชาตบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถต่ำกว่าบิดา มารดา

การที่เราเป็นพ่อ เป็นแม่ของบุตรนั้น มีหน้าที่ที่ต้องให้กับลูกของเราคือ
๑.ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว
๒.ปลูกฝัง สนับสนุนให้ทำความดี
๓.ให้การศึกษาหาความรู้
๔.ให้ได้คู่ครองที่ดี (ใช้ประสพการณ์ของเราให้คำปรึกษาแก่ลูก ช่วยดูให้)
๕.มอบทรัพย์ให้ในโอกาสอันควร (การทำพินัยกรรม ก็ถือว่าเป็นสิ่งถูกต้อง)


๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา

มื่อว่าด้วยเรื่องคนที่จะมาเป็นคู่ครองของชาย หรือที่เรียกว่าจะมาเป็นภรรยานั้น
ในโลกนี้ท่านแบ่งลักษณะของภรรยาออกเป็น ๗ ประเภทได้แก่
๑.วธกาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยเพชรฆาต เป็นพวกที่มีจิตใจคิดไม่ดี ชอบทำร้าย ชอบด่าทอสาปแช่ง คิดฆ่าสามี
หรือมีชู้กับชายอื่น
๒.โจรีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยโจร เป็นคนล้างผลาญ สร้างหนี้สิน หาได้เท่าไรก็ไม่พอ
หรือเอาเรื่องในบ้านไปโพทนาให้คนข้างนอกรับรู้ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง
๓.อัยยาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยนาย เป็นคนชอบข่มสามีให้อยู่ในอำนาจ ไม่ให้เกียรติสามีเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้อื่น
ชอบสั่งการหรือเอาแต่ใจตัวเอง เห็นสามีเป็นคนไร้ความสามารถ แต่ตัวเองเป็นผู้นำ
๔.มาตาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยแม่ คือผู้ที่มีความรักต่อสามีอย่างสุดซึ้ง ไม่เคยทอดทิ้งแม้ยามทุกข์ยาก ป่วยไข้
ไม่ทำให้มีเรื่องสะเทือนใจ
๕.ภคินีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยน้องสาว คือผู้ที่มีความเคารพต่อสามีในฐานะพ่อบ้าน
แต่ขัดใจกันบ้างตามประสาคนใกล้ชิดกันแล้วก็ให้อภัยกัน โดยไม่คิดพยาบาท เดินตามแนวทางของสามี ต้องพึ่งพาสามี
๖.สขีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยเพื่อน ต่างคนต่างก็มีอะไรที่เหมือนกัน ความสามารถพอกัน ไม่จำเป็นต้องพึ่งพากัน
ไม่ค่อยยอมกัน เป็นตัวของตัวเอง แต่ก็รักกันและช่วยเหลือกันโดยต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเอง
๗.ทาสีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยคนรับใช้ คือภรรยาที่อยู่ภายใต้คำสั่งสามีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง สามีเป็นผู้เลี้ยงดู
สั่งอะไรก็ทำอย่างนั้นแม้จะไม่เห็นด้วยก็ไม่ออกความเห็น อดทนทำงานตามหน้าที่ตามแต่สามีจะสั่งการ แม้ถูกดุด่า
เฆี่ยนตีก็ยังทนอยู่ได้โดยไม่โต้ตอบ

ท่านว่าคนที่จะมาเป็นสามี ภรรยาได้ดีหรือคู่สร้างคู่สมนั้นควรต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๑.สมสัทธา คือมีศรัทธาเสมอกัน
๒.สมสีลา คือมีศีลเสมอกัน
๓.สมจาคะ คือมีการเสียสละเหมือนกัน
๔.สมปัญญา คือมีปัญญาเสมอกัน

เมื่อได้แต่งงานกันแล้ว แต่ละฝ่ายก็มีหน้าที่ที่ต้องทำดังนี้
สามีมีหน้าที่ต่อภรรยาคือ
๑.ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา คือการแนะนำเปิดเผยว่าเป็นภรรยา ไม่ปิดบังกับผู้อื่น
และให้เกียรติภรรยาในการตัดสินใจเรื่องต่างๆด้วย
๒.ไม่ดูหมิ่น คือไม่ดูถูกภรรยาเมื่อทำไม่เป็น ทำไม่ถูก หรือเรื่องชาติตระกูล การศึกษาว่าต่ำต้อยกว่าตน แต่ต้องสอนให้
๓.ไมประพฤตินอกใจภรรยา คือการไปมีเมียน้อยนอกบ้าน เลี้ยงต้อย หรือเที่ยวเตร่หาความสำราญกับหญิงบริการ
๔.มอบความเป็นใหญ่ให้ในบ้าน คือการมอบธุระทางบ้านให้กับภรรยาจัดการ
รับฟังและทำตามความเห็นของภรรยาเกี่ยวกับบ้าน
๕.ให้เครื่องแต่งตัว คือให้ความสุขกับภรรยาเรื่องการแต่งตัวให้พอดี เพราะสตรีเป็นผู้รักสวยรักงามโดยธรรมชาติ

ฝ่ายภรรยาก็มีหน้าที่ต้องตอบแทนสามีคือ
๑.จัดการงานดี คืองานบ้านการเรือนต้องไม่บกพร่อง ดูแลด้านความสะอาด ทำนุบำรุงรักษา ด้านโภชนาการให้เรียบร้อยดี
๒.สงเคราะห์ญาติสามีดี คือให้ความเอื้อเฟื้อญาติฝ่ายสามี เท่าที่ตนมีกำลังพอทำได้
ไม่ได้หมายถึงเรื่องทรัพย์สินเงินทองอย่างเดียว
๓.ไม่ประพฤตินอกใจสามี คือไม่คบชู้ หรือปันใจให้ชายอื่น ซื่อสัตย์ต่อสามีคนเดียว
๔.รักษาทรัพย์ให้อย่างดี คือรู้จักรักษาทรัพย์สินไว้ไม่ให้หมดไปด้วยความสิ้นเปลือง แต่ก็ไม่ถึงกับตระหนี่
๕.ขยันทำงาน คือไม่เกียจคร้านเอาแต่ออกงาน นอน กิน หรือเที่ยวแต่อย่างเดียว ต้องทำงานบ้านด้วย

๑๔.การทำงานไม่ให้คั่งค้าง

ว่าด้วยสาเหตุที่ทำให้งานคั่งค้างนั้นสรุปสาเหตุได้เพราะว่า
๑.ทำงานไม่ถูกกาล
๒.ทำงานไม่ถูกวิธี
๓.ไม่ยอมทำงาน
หลักการทำงานให้เสร็จลุล่วงมีดังนี้
๑.ฉันทะ คือมีความพอใจในงานที่ทำ
๒.วิริยะ คือมีความตั้งใจ พากเพียรในงานที่ทำ
๓.จิตตะ คือมีความเอาใจใส่ในงานที่ทำ
๔.วิมังสา คือมีการคิดพิจารณาทบทวนงานนั้นๆ

๑๕.การให้ทาน


การให้ทาน คือการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทนโดยหมายให้ผู้ได้รับได้พ้นจากทุกข์ แบ่งออกเป็น ๓ อย่างได้แก่
๑.อามิสทาน คือการให้วัตถุ สิ่งของ หรือเงินเป็นทาน
๒.ธรรมทาน คือการสอนให้ธรรมะเป็นความรู้เป็นทาน
๓.อภัยทาน คือการให้อภัยในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ดีกับเรา ไม่จองเวร หรือพยาบาทกัน

การให้ทานที่ถือว่าเป็นความดี และได้บุญมากนั้นจะประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการอันได้แก่
๑.วัตถุบริสุทธิ์ คือเป็นของที่ได้มาโดยสุจริต ไม่ได้ไปยักยอกมา โกงมา หรือได้มาด้วยวิธีแยบยล
๒.เจตนาบริสุทธิ์ คือมีจิตยินดี ผ่องใสเบิกบาน ไม่รู้สึกเสียดายสิ่งที่ให้ ตั้งแต่ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้
๓.บุคคลบริสุทธิ์ คือให้กับผู้รับที่มีศีลธรรม ตัวผู้ให้เองก็ต้องมีศีลที่บริสุทธิ์

การให้ทานที่ถือว่าไม่ดี และยังอาจเป็นบาปกรรมถึงเราทางอ้อมอีกด้วยได้แก่
๑.ให้สุรา ยาเสพย์ติด เป็นต้น (ถ้าเขาเมาแล้วขับรถชนตาย เราก็มีส่วนบาปด้วย)
๒.ให้อาวุธ (ถ้าอาวุธนั้นถูกเอาไปใช้ประหัตประหาร บาปก็มาถึงเราด้วย)
๓.ให้มหรสพ คือการบันเทิงทุกรูปแบบ
๔.ให้สัตว์เพศตรงข้ามเพื่อผสมพันธุ์ อันนี้รวมถึงการจัดหาสาวๆ ไปบำเรอผู้มีอำนาจหรือผู้น้อยด้วยเป็นต้น
๕.ให้ภาพลามก หรือสิ่งพิมพ์ลามก เพราะทำให้เกิดความกำหนัด เกิดกามกำเริบ (เมื่อดูแล้วเกิดไปฉุดคร่า ข่มขืนใคร
บาปก็ตกทอดมาถึงเราด้วย)


๑๖.การประพฤติธรรม

การประพฤติธรรม ก็คือการปฏิบัติให้เป็นไป แบ่งออกได้เป็น ๒ อันได้แก่
กายสุจริต คือ
๑.การไม่ฆ่าสัตว์ หมายรวมหมดตั้งแต่สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ และมนุษย์
๒.การไม่ลักทรัพย์ หมายรวมถึงการคอรัปชั่น ไปหลอกลวง ปล้นจี้ชาวบ้านด้วย
๓.การไม่ประพฤติผิดในกาม หมายรวมถึงการคบชู้ นอกใจภรรยา และการข่มขืนด้วย
วจีสุจริต คือ
๑.การไม่พูดเท็จ คือการพูดแต่ความจริง ไม่หลอกลวง
๒.การไม่พูดคำหยาบ คือคำที่ฟังแล้วไม่รื่นหู เกิดความรู้สึกไม่สบายใจรวมหมด
๓.การไม่พูดจาส่อเสียด การนินทาว่าร้าย
๔.การไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล คือการพูดที่ไม่เป็นสาระ หาประโยชน์อันใดมิได้
มโนสุจริต คือ
๑.การไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น คือการนึกอยากได้ของเขามาเป็นของเรา
๒.การไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น คือการนึกอยากให้คนอื่นประสพเคราะห์กรรม คิดจะทำร้ายผู้อื่น
๓.การเห็นชอบ คือมีความเชื่อความเข้าใจในความเป็นจริง ความถูกต้องตามหลักคำสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา


๑๗.การสงเคราะห์ญาติ

ลักษณะของญาติที่ควรให้การสงเคราะห์ เมื่ออยู่ในฐานะดังนี้คือ
๑.เมื่อยากจนหาที่พึ่งมิได้
๒.เมื่อขาดทุนทรัพย์ในการค้าขาย
๓.เมื่อขาดยานพาหนะ
๔.เมื่อขาดอุปกรณ์ทำมาหากิน
๕.เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย
๖.เมื่อคราวมีธุระการงาน
๗.เมื่อคราวถูกใส่ความหรือมีคดี

การสงเคราะห์ญาติ ทำได้ทั้งทางธรรมและทางโลกได้แก่
ในทางธรรม ก็ช่วยแนะนำให้ทำบุญกุศล ให้รักษาศีล และทำสมาธิภาวนา
ในทางโลก ก็ได้แก่
๑.ให้ทาน คือการสงเคราะห์เป็นทรัพย์สิน หรือเงินทองเพื่อให้เขาพ้นจากทุกข์หรือความลำบากตามแต่กำลัง
๒.ใช้ปิยวาจา คือการพูดเจรจาด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยน สุภาพ และประกอบไปด้วยความปรารถนาดี
๓.มีอัตถจริยา คือการประพฤติตนให้เป็นประโยชน์กับเขา อาจช่วยเหลือด้วยแรงกาย กำลังใจ หรือด้วยความสามารถที่มี
๔.รู้จักสมานัตตตา คือการวางตัวให้เหมาะสม อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่ถือตัว


๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ

งานที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
๑.ไม่ผิดกฏหมาย คือทำให้ถูกต้องตามกฏหมายของบ้านเมือง
๒.ไม่ผิดประเพณี คือแบบแผนที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิม ควรดำเนินตาม
๓.ไม่ผิดศีล คือข้อห้ามที่บัญญัติไว้ในศีล ๕
๔.ไม่ผิดธรรม คือหลักธรรมทั้งหลายอาทิเช่น การพนัน การหลอกลวง

ส่วนอาชีพต้องห้ามสำหรับพุทธศาสนิกชนได้แก่
๑.การค้าอาวุธ
๒.การค้ามนุษย์
๓.การค้ายาพิษ
๔.การค้ายาเสพย์ติด
๕.การค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า


๑๙.ละเว้นจากบาป

บาปคือสิ่งที่ไม่ดี เสีย ความชั่วที่ติดตัว ซึ่งไม่ควรทำ ท่านว่าสิ่งที่ทำแล้วถือว่าเป็นบาปได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ
๑.ฆ่าสัตว์
๒.ลักทรัพย์
๓.ประพฤติผิดในกาม
๔.พูดเท็จ
๕.พูดส่อเสียด
๖.พูดคำหยาบ
๗.พูดเพ้อเจ้อ
๘.โลภอยากได้ของเขา
๙.คิดพยาบาทปองร้ายคนอื่น
๑๐.เห็นผิดเป็นชอบ


๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

ว่าด้วยเรื่องของน้ำเมานั้น อาจทำมาจากแป้ง ข้าวสุก การปรุงโดยผสมเชื้อ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ดื่มแล้วทำให้มึนเมา เช่นเบียร์
ไวน์ ไม่ใช่แค่เหล้าเท่านั้น ล้วนมีโทษอันได้แก่
๑.ทำให้เสียทรัพย์
เพราะต้องนำเงินไปซื้อหาทั้งๆที่เงินจำนวนเดียวกันนี้สามารถนำเอาไปใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้มากกว่า
๒.ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ซึ่งนำไปสู่ความวุ่นวาย เจ็บตัว หรือถึงแก่ชีวิต และคดีความ
เพราะน้ำเมาทำให้ขาดการยับยั้งชั่งใจ
๓.ทำให้เกิดโรค โรคที่เกิดเนื่องมาจากการดื่มสุราล้วนแล้วแต่บั่นทอนสุขภาพกายจนถึงตายได้เช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจ
โรคความดัน
๔.ทำให้เสียชื่อเสียง เมื่อคนเมาไปทำเรื่องไม่ดีเข้าเช่นไปลวนลามสตรี ปล่อยตัวปล่อยใจ ก็ทำให้วงศ์ตระกูล
และหน้าที่การงานเสี่อมเสีย
๕.ทำให้ลืมตัวไม่รู้จักอาย คนเมาทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ทำสิ่งที่คนมีสติจะไม่ทำ เช่นแก้ผ้าเดิน หรือนอนในที่สาธารณะเป็นต้น
๖.ทอนกำลังปัญญา ทานแล้วทำให้เซลล์สมองเริ่มเสื่อมลง ก็จะทำให้สุขภาพและปัญญาเสื่อมถอย
ความสามารถโดยรวมก็ด้อยลง


๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย


ธรรมในที่นี้ก็คือหลักปฏิบัติที่ทำแล้วมีผลในทางดีและเป็นจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงโปรดแนะทางไว้

คนที่ประมาทในธรรมนั้นมีลักษณะที่สรุปได้ดังนี้คือ
๑.ไม่ทำเหตุดี แต่จะเอาผลดี
๒.ทำตัวเลว แต่จะเอาผลดี
๓.ทำย่อหย่อน แต่จะเอาผลมาก

สิ่งที่ไม่ควรประมาทได้แก่
๑.การประมาทในเวลา คือการปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปโดยไม่ทำอะไรให้เกิดประโยชน์ หรือผลัดวันประกันพรุ่งเป็นต้น
๒.การประมาทในวัย คือคิดว่าอายุยังน้อย ไม่ต้องทำความเพียรก็ได้เพราะยังต้องมีชีวิตอยู่อีกนานเป็นต้น
๓.การประมาทในความไม่มีโรค คือคิดว่าตัวเองแข็งแรงไม่ตายง่ายๆ ก็ปล่อยปละละเลยเป็นต้น
๔.การประมาทในชีวิต คือการไม่กำหนดวางแผนถึงอนาคต คิดอยู่แต่ว่ายังมีชีวิตอยู่อีกนานเป็นต้น
๕.การประมาทในการงาน คือไม่ขยันตั้งใจทำให้สำเร็จ ปล่อยตามเรื่องตามราว หรือปล่อยให้ดินพอกหางหมูเป็นต้น
๖.การประมาทในการศึกษา คือการไม่คิดศึกษาเล่าเรียนในวัยที่ควรเรียน หรือขาดความเอาใจใส่ที่เพียงพอ
๗.การประมาทในการปฏิบัติธรรม คือการไม่ปฏิบัติสมาธิภาวนาหรือศึกษาหลักธรรมให้ถ่องแท้
เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเป็นต้น

๒๒.มีความเคารพ

ท่านได้กล่าวว่าสิ่งที่ควรเคารพมีอยู่ดังนี้
๑.พระพุทธเจ้า
๒.พระธรรม
๓.พระสงฆ์
๔.การศึกษา
๕.ความไม่ประมาท คือการดำเนินตามหลักธรรมคำสอนพระพุทธศาสนาอื่นๆ ด้วยความเคารพ
๖.การสนทนาปราศรัย คือการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือนด้วยความเคารพ


๒๓.มีความถ่อมตน

ความอ่อนน้อมถ่อมตน คือ การไม่แสดงออกถึงความสามารถที่ตัวเองมีอยู่ให้ผู้อื่นทราบเพื่อข่มผู้อื่น หรือเพื่อโอ้อวด
การไม่อวดดี เย่อหยิ่งจองหอง แต่แสดงตนอย่างสงบเสงี่ยม

ท่านว่าไว้ว่าโทษของการอวดดีนั้นมีอยู่ดังนี้คือ
๑.ทำให้เสียคน คือไม่สามารถกลับมาอยู่ในร่องในรอยได้เหมือนเดิม เสียอนาคต
๒.ทำให้เสียมิตร คือไม่มีใครคบหาเป็นเพื่อนด้วย ถึงจะมีก็ไม่ใช่เพื่อนแท้
๓.ทำให้เสียหมู่คณะ คือถ้าต่างคนต่างถือดี ก็ทำให้ไม่สามารถตกลงกันได้ ในที่สุดก็ไม่ถึงจุดหมาย
หรือทำให้เป็นที่เบื่อหน่ายของคนอื่น

การทำตัวให้เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนนั้นมีหลักดังนี้คือ
๑.ต้องคบกัลยาณมิตร คือเพื่อนที่ดีมีศีลมีธรรม คอยตักเตือนหรือชักนำไปในทางที่ดีที่ถูกที่ควร
๒.ต้องรู้จักคิดไตร่ตรอง คือการรู้จักคิดหาเหตุผลอยู่ตลอดถึงความเป็นไปในธรรมชาติของมนุษย์ ต่างคนย่อมต่างจิดต่างใจ
และรวมทั้งหลักธรรมอื่นๆ
๓.ต้องมีความสามัคคี คือการมีความสามัคคีในหมู่คณะ อลุ่มอล่วยในหลักการ ตักเตือน
รับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล

ท่านว่าลักษณะของคนถ่อมตนนั้นมีดังนี้
๑.มีกิริยาที่นอบน้อม
๒.มีวาจาที่อ่อนหวาน
๓.มีจิตใจที่อ่อนโยน
สรุปแล้วก็คือ สมบูรณ์พร้อมด้วยกาย วาจา และใจนั่นเอง

๒๔.มีความสันโดษ

คำว่าสันโดษไม่ได้หมายถึงการอยู่ลำพังคนเดียวอย่างเดียวก็หาไม่ แต่หมายถึงการพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ในของของตัว
ซึ่งท่านได้ให้นิยามที่เป็นลักษณะของความสันโดษเป็นดังนี้ คือ
๑.ยถาลาภสันโดษ หมายถึงความยินดีตามมีตามเกิด คือมีแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น เป็นอยู่อย่างไรก็ควรจะพอใจ
ไม่คิดน้อยเนื้อต่ำใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่
๒.ยถาพลสันโดษ หมายถึงความยินดีตามกำลัง เรามีกำลังแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น ตั้งแต่กำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังบารมี
หรือกำลังความสามารถเป็นต้น
๓.ยถาสารูปสันโดษ หมายถึงความยินดีตามควร ซึ่งโยงใยไปถึงความพอเหมาะพอควรในหลายๆเรื่อง
เช่นรูปลักษณ์ของตนเอง และรวมทั้งฐานะที่เราเป็นอยู่

๒๕.มีความกตัญญู

คือการรู้คุณ และตอบแทนท่านผู้นั้น บุญคุณที่ว่านี้มิใช่ว่าตอบแทนกันแล้วก็หายกัน
แต่หมายถึงการรำลึกถึงพระคุณที่เคยให้ความอุปการะแก่เราด้วยความเคารพยิ่ง ท่านว่าสิ่งของหรือผู้ที่ควรกตัญญูนั้นมีดังนี้
๑.กตัญญูต่อบุคคล บุคคลที่ควรกตัญญูก็คือใครก็ตามที่มีบุญคุณควรระลึกถึงและตอบแทนพระคุณ เช่น บิดา มารดา
อาจารย์เป็นต้น
๒.กตัญญูต่อสัตว์ ได้แก่สัตว์ที่มีคุณต่อเราช่วยทำงานให้เรา เราก็ควรเลี้ยงดูให้ดีเช่นช้าง ม้า วัว ควาย
หรือสุนัขที่ช่วยเฝ้าบ้านเป็นต้น
๓.กตัญญูต่อสิ่งของ ได้แก่สิ่งของทุกอย่างที่มีคุณต่อเราเช่น หนังสือที่ให้ความรู้แก่เรา อุปกรณ์ทำมาหากินต่างๆ
เราไม่ควรทิ้งคว้าง หรือทำลายโดยไม่เห็นคุณค่า


๒๖.การฟังธรรมตามกาล

เมื่อมีโอกาส เวลา หรือตามวันสำคัญต่างๆ ก็ควรต้องไปฟังธรรมบ้างเพื่อสดับตรับฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์ในหลักธรรมนั้นๆ
และนำมาใช้กับชีวิตเราเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ท่านว่าเวลาที่ควรไปฟังธรรมนั้นมีดังนี้คือ
๑.วันธรรมสวนะ ก็คือวันพระ หรือวันที่สำคัญทางศาสนา
๒.เมื่อมีผู้มาแสดงธรรม ก็อย่างเช่น การฟังธรรมตามวิทยุ การที่มีพระมาแสดงธรรมตามสถานที่ต่างๆ
หรือการอ่านจากสื่อต่างๆ
๓.เมื่อมีโอกาสอันสมควร อาทิเช่นในวันอาทิตย์เมื่อมีเวลาว่าง หรือในงานมงคล งานบวช งานกฐิน งานวัดเป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ฟังธรรมที่ดีควรต้องมีดังนี้คือ
๑.ไม่ดูแคลนในหัวข้อธรรมว่าง่ายเกินไป
๒.ไม่ดูแคลนในความรู้ความสามารถของผู้แสดงธรรม
๓.ไม่ดูแคลนในตัวเองว่าโง่ ไม่สามารถเข้าใจได้
๔.มีความตั้งใจในการฟังธรรม และนำไปพิจารณา
๕.นำเอาธรรมนั้นๆไปปฏิบัติให้เกิดผล


๒๗.มีความอดทน



ท่านว่าลักษณะของความอดทนนั้นสามารถจำแนกออกได้เป็นดังต่อไปนี้คือ
๑.ความอดทนต่อความลำบาก คือความลำบากที่ต้องประสพตามธรรมชาติ ซึ่งอาจมาจากสภาพแวดล้อมเป็นต้น
๒.ความอดทนต่อทุกขเวทนา คือทุกข์ที่เกิดจากสังขารของเราเอง เช่นความไม่สบายกายเป็นต้น
๓.ความอดทนต่อความเจ็บใจ คือการที่คนอื่นทำให้เราต้องผิดหวัง หรือพูดจาให้เจ็บช้ำใจ ไม่เป็นอย่างที่หวังเป็นต้น
๔.ความอดทนต่ออำนาจกิเลส คือสิ่งยั่วยวนทั้งหลายถือเป็นกิเลสทั้งทางใจและทางกายอาทิเช่น
ความนึกโลภอยากได้ของเขา หรือการพ่ายแพ้ต่ออำนาจเงินเป็นต้น

วิธีทำให้มีความอดทนคือ มีหิริโอตัปปะ
๑.หิริ ได้แก่การมีความละอายต่อบาป การที่รู้ว่าเป็นบาปแล้วยังทำอีกก็ถือว่าไม่มีความละอายเลย
๒.โอตัปปะ ได้แก่การมีความเกรงกลัวในผลของบาปนั้นๆ


๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย



ท่านว่าผู้ว่าง่ายนั้นมีลักษณะที่สังเกตได้ดังนี้คือ
๑.ไม่พูดกลบเกลื่อนเมื่อได้รับการว่ากล่าวตักเตือน คือการรับฟังด้วยดี ไม่ใช่แก้ตัวแล้วปิดประตูความคิดไม่รับฟัง
๒.ไม่นิ่งเฉยเมื่อได้รับการเตือน คือการนำคำตักเตือนนั้นมาพิจารณาและแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆ
๓.ไม่จับผิดผู้ว่ากล่าวสั่งสอน คือการที่ผู้สอนอาจจะมีความผิดพลาด เนื่องจากความประมาท เราควรให้อภัยต่อผู้สอน
เพราะการจับผิดทำให้ผู้สอนต้องอับอายขายหน้าได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีงาม
๔.เคารพต่อคำสอนและผู้สอน คือการรู้จักสัมมาคารวะต่อผู้ทำให้คำสอน และเคารพในสิ่งที่ผู้สอนได้นำมาแนะนำ
๕.มีความอ่อนน้อมถ่อมตน คือไม่แสดงความยะโส ถือตัวว่าอยู่เหนือผู้อื่นเพราะสิ่งที่ตัวเองเป็นตัวเองมี
๖.มีความยินดีต่อคำสอนนั้น คือยอมรับในคำสอนนั้นๆ ด้วยความยินดีเช่นการไม่แสดงความเบื่อหน่ายเพราะเคยฟังมาแล้ว
เป็นต้น
๗.ไม่ดื้อรั้น คือการไม่อวดดี คิดว่าของตัวเองนั้นผิดแต่ก็ยังดันทุรังทำต่อไปเพราะกลัวเสียชื่อ เสียฟอร์ม
๘.ไม่ข้ดแย้ง เพราะว่าการว่ากล่าวตักเตือนหรือสั่งสอนนั้นก็คือ สิ่งที่ตรงข้ามกับที่เราทำอยู่แล้ว
เราควรต้องเปิดใจให้กว้างไม่ขัดแย้งต่อคำสอน คำวิจารณ์นั้นๆ
๙.ยินดีให้ตักเตือนได้ทุกเวลา คือการยินดีให้มีการแสดงความคิดเห็นตักเตือนได้โดยไม่มีข้อยกเว้นเรื่องเวลา
๑๐.มีความอดทนต่อการเป็นผู้ถูกสั่งสอน คือการไม่เอาความขัดแย้งในความเห็นเป็นอารมณ์
แต่ให้เข้าใจเจตนาที่แท้จริงของผู้สอนนั้น

การทำให้เป็นคนว่าง่ายนั้นทำได้ดังนี้
๑.ลดมานะของตัว คือการไม่ถือดี ไม่ถือตัว ความไม่สำคัญตัวเองว่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้
อาทิเช่นถือตัวว่าการศึกษาดีกว่าเป็นต้น
๒.ละอุปาทาน คือการไม่ยึดถือในสิ่งที่เรามี เราเป็น หรือถือมั่นในอำนาจกิเลสต่างๆ
๓.มีสัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาที่เห็นชอบ การเห็นถูกเห็นควรตามหลักอริยสัจ ๔ เชื่อเรื่องความไม่เที่ยง
เชื่อในเรื่องบุญเรื่องบาปเป็นต้น


๒๙.การได้เห็นสมณะ


คำว่าสมณะแปลตรงตัวได้ว่า ผู้สงบ (หมายถึงผู้อยู่ในสมณเพศ) ท่านว่าคุณสมบัติของสมณะต้องประกอบไปด้วย ๓ อย่างคือ
๑.ต้องสงบกาย คือมีความสำรวมในการกระทำทุกอย่าง รวมถึงกิริยา มรรยาท ตามหลักศีลธรรม
๒.ต้องสงบวาจา คือการพูดจาให้อยู่ในกรอบของความพอดี มีความสุภาพสงบเสงี่ยมในคำพูดและภาษาที่ใช้
เป็นไปตามข้อปฏิบัติ ประเพณี
๓.ต้องสงบใจ คือการทำใจให้สงบปราศจากกิเลสครอบงำ ไม่ว่าจะเป็น โลภ โกรธ หลง หรือความพยาบาทใดๆ
ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิภาวนา

การได้เห็นสมณะมีอยู่ดังนี้คือ
๑.เห็นด้วยตา ความหมายก็ตรงตัวคือการเห็นจากการสัมผัสด้วยสายตาของตนเอง
แล้วมีความประทับใจในความสำรวมในกาย
๒.เห็นด้วยใจ เนื่องจากความสำรวมกาย วาจา ใจของสมณะจะช่วยโนัมน้าวจิตใจของเราให้โอนอ่อนผ่อนตาม
และรับฟังหลักคำสอนด้วยใจที่ยินดี ซึ่งนั่นก็หมายถึงการเปิดใจเราให้สมณะได้ชี้นำนั่นเอง
๓.เห็นด้วยปัญญา หมายความถึงการรู้โดยการใช้ปัญญาใคร่ครวญ
พิจารณาในการสัมผัสและเข้าถึงและรับรู้ถึงคำสอนของสมณะผู้นั้น และรู้ว่าท่านเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอย่างแท้จริง

เมื่อเห็นแล้วก็ต้องทำอย่างนี้คือ
๑.ต้องเข้าไปหา คือเข้าไปขอคำแนะนำ ชี้แนะจากท่าน หรือให้ความเคารพท่าน
๒.ต้องเข้าไปบำรุงช่วยเหลือ คือการช่วยเหลือท่านในโอกาสอันควร เพื่อแบ่งเบาภาระของท่าน
๓.ต้องเข้าไปฟัง คือการรับฟังคุณธรรม หลักคำสอนของท่านมาไว้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาชีวิต
๔.หมั่นระลึกถึงท่าน คือการระลึกถึงความดีที่ท่านมีแล้วนำมาเป็นตัวอย่างกับตัวเราเอง
๕.รับฟังรับปฏิบัติ คือการรับคำแนะนำของท่านมาปฏิบัติทำตามเพื่อให้เกิดผล
ครั้นเมื่อติดขัดก็ใคร่แก้ไขเพื่อให้รู้จริงเห็นจริงตามนั้น

๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล

 

การได้สนทนากันเรื่องธรรม ทำให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และได้รู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง
หรือเป็นการเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่นได้ทราบด้วย

ก่อนที่เราจะสนทนาธรรม ควรต้องพิจารณาและคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ
๑.ต้องรู้เรื่องที่จะพูดดี
๒.ต้องพูดเรื่องจริง มีประโยชน์
๓.ต้องเป็นคำพูดที่ไพเราะ
๔.ต้องพูดด้วยความเมตตา
๕.ต้องพูดจาโอ้อวด ยกตนข่มท่าน

ข้อปฏิบัติเมื่อมีการสนทนาธรรม
๑.มีศีลธรรม คือการเป็นผู้ที่รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ เป็นนิจศีลอยู่แล้ว
การเป็นผู้ปฏิบัติถือเป็นหน้าที่ขั้นต้นในการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
๒.มีสมาธิดี คือการมีจิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่สนทนา ไม่ว่อกแวก พร้อมทั้งเป็นผู้ที่หมั่นเจริญสมาธิภาวนาด้วย
๓.แต่งการสุภาพ คือการแต่งตัวให้เหมาะสมกับยุคสมัย อยู่ในกรอบประเพณีของสังคมแวดล้อม ณ ที่นั้นๆ ถูกกาลเทศะ
๔.มีกิริยาสุภาพ คือมีความสุภาพในท่วงท่าไม่ว่าจะเดิน นั่ง ยืน หรือการกระทำใดๆ การที่มีกิริยางดงาม
สุภาพย่อมโน้มน้าวจิดใจผู้พบเห็นให้เกิดความประทับใจที่ดี
๕.ใช้วาจาสุภาพ คือการใช้ถ้อยคำที่สุภาพในการสนทนา ไม่ใช้คำหยาบคาย หรือก้าวร้าว
๖.ไม่กล่าวค้านพระพุทธพจน์ คือการไม่นำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นข้อสงสัย หรือกล่าวค้าน
เพราะสิ่งที่กล่าวไว้ในพระพุทธพจน์ย่อมเป็นความจริงตลอดกาล
๗.ไม่ออกนอกประเด็นที่ตั้งไว้ คือการพูดให้อยู่ในหัวข้อที่ตั้งไว้ ไม่พูดแบบน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
๘.ไม่พูดนานจนน่าเบื่อ คือการเลือกเวลาที่เหมาะสมตามสถานการณ์
เนื่องจากเรื่องบางเรื่องอาจไม่จำเป็นต้องขยายความมากเกินไป

๓๑.การบำเพ็ญตบะ

ตบะ โดยความหมายแปลว่า ทำให้ร้อน ไม่ว่าด้วยวิธีใด การบำเพ็ญตบะหมายความถึงการทำให้กิเลส ความรุ่มร้อนต่างๆ
หมดไป หรือเบาบางลง ลักษณะการบำเพ็ญตบะมีดังนี้

๑.การมีใจสำรวมในอินทรีย์ทั้ง ๖ (อายตนะภายใน ๖ อย่าง) ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
ไม่ให้หลงติดอยู่กับสัมผัสภายนอกมากเกินไป ไม่ให้กิเลสครอบงำใจเวลาที่รับรู้อารมณ์ผ่านอินทรีย์ทั้ง ๖ (อินทรีย์สังวร)
๒.การประพฤติรักษาพรหมจรรย์ เว้นจากการร่วมประเวณี หรือกามกิจทั้งปวง
๓.การปฏิบัติธรรม คือการรู้และเข้าใจในหลักธรรมเช่นอริยสัจ เป็นต้น ปฏิบัติตนให้อยู่ในศีล และถึงพร้อมด้วยสมาธิ
และปัญญา โดยมีจุดหมายสูงสุดที่พระนิพพาน กำจัดกิเลส ละวางทุกสิ่งได้หมดสิ้นด้วยปัญญา

๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์

คำว่าพรหมจรรย์หมายความถึง การบวชซึ่งละเว้นเมถุน การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน การประพฤติธรรมอันประเสริฐ
ท่านว่าลักษณะของธรรมที่ถือว่าเป็นการประพฤติพรหมจรรย์นั้น (ไม่ใช่ว่าต้องบวชเป็นพระ) มีอยู่ดังนี้คือ
๑.ให้ทาน บริจาคทานไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง หรือปัญญา
๒.ช่วยเหลือผู้อื่นในกิจการงานที่ชอบ ที่ถูกที่ควร (เวยยาวัจจมัย)
๓.รักษาศีล ๕ คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ทำผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่ดื่มน้ำเมา (เบญจศีล)
๔.มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขากับคนที่เราต้องพบปะด้วยทุกคน (อัปปมัญญา)
๕.งดเว้นจากการเสพกาม (เมถุนวิรัติ)
๖.ยินดีในคู่ของตน คือการมีสามีหรือภรรยาคนเดียว (สทารสันโดษ)
๗.เพียรพยายามที่จะละความชั่ว ไม่ท้อถอยในความบากบั่น (วิริยะ)
๘.รักษาซึ่งศีล ๘ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ร่วมประเวณี ไม่พูดปด ไม่ดื่มน้ำเมา
ไม่บริโภคอาหารตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไป ไม่ฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่น ใช้ของหอมหรือเครื่องประดับ
ไม่นอนบนที่สูงใหญ่ หรูหรา (อุโบสถ)
๙.ใช้ปัญญาเห็นแจ้งใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (อริยธรรม)
๑๐.ศึกษาปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ให้รู้แจ้งเห็นจริง (สิกขา)
*ขออธิบายเพิ่มเติมว่าข้อ ๕ ที่บอกว่าให้งดเว้นการเสพกาม แต่ข้อ ๖ ให้ยินดีในคู่ของตนนั้น
เพราะว่าการประพฤติพรหมจรรย์ในที่นี้หมายถึง บุคคลทั่วไปที่อาจมีครอบครัวแล้ว
ก็ประพฤติพรหมจรรย์ได้โดยการงดเว้นการร่วมประเวณี เช่นในวันสำคัญๆเป็นต้น

๓๓.การเห็นอริยสัจ

อริยสัจ หมายถึงความจริงอันประเสริฐ หลักแห่งอริยสัจมีอยู่ ๔ ประการตามที่ท่านได้สั่งสอนไว้มีดังนี้
๑.ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเป็นจริงของสัตว์โลกทุกผู้ทุกนามต้องมีทุกข์ ๓ ประการคือ การเกิด ความแก่
ความตาย นอกจากนี้ก็มีความทุกข์ที่เป็นอาการ หรือเกิดจากสภาพแวดล้อมสรุปได้ดังนี้คือ
-ความโศกเศร้า (โสกะ)
-ความรำพันด้วยความเสียใจ (ปริเทวะ)
-ความเจ็บไข้ได้ป่วย (ทุกขะ)
-ความเสียใจ (โทมนัสสะ)
-ความท้อแท้ สิ้นหวัง คับแค้นใจ (อุปายาสะ)
-การตรอมใจ ผิดหวังจากสิ่งที่ไม่รัก (อัปปิเยหิ สัมปโยคะ)
-การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก (ปิเยหิ วิปปโยคะ)
-ความหม่นหมองเมื่อปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้น (ยัมปิจฉัง นลภติ)
๒.สมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ นอกจากเหตุแห่งทุกข์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ต้นตอของทุกข์ก็อยู่ที่ใจของเราด้วยนั่นก็คือความอยาก ท่านว่าเป็นตัณหา ๓ อย่าง ซึ่งแบ่งออกได้เป็นดังนี้คือ
-ความอยากได้ หมายรวมถึงอยากทุกอย่างที่นำมาสนองสัมผัสทั้ง ๕ และกามารมณ์ (กามตัณหา)
-ความอยากเป็น คือความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ (ภวตัณหา)
-ความไม่อยากเป็น คือความไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ (วิภวตัณหา)
๓.นิโรธ คือความดับทุกข์ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ความหลุดพ้น หรือหมายถึงภาวะของพระนิพพานนั่นเอง
๔.มรรค คือข้อปฏิบัติ หรือหนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ การเดินทางสายกลางเพื่อไปให้ถึงการดับทุกข์ คือ มรรคมี ๘
ประการ คือ
-ความเห็นชอบ เช่นความศรัทธาในเบื้องต้นต่อหลักธรรม คำสอน เช่นการเชื่อว่ากรรมดีกรรมชั่วมีจริงเป็นต้น
(สัมมาทิฏฐิ)
-ความดำริชอบ หรือความคิดชอบ มีความคิดที่ถูกต้องตามหลักธรรม เช่นการใช้ปัญญาพิจารณาความไม่เที่ยงของสังขาร
หรือการไม่คิดอยากได้ของเขามาเป็นของเราเป็นต้น (สัมมาสังกัปปะ)
-เจรจาชอบ คือการปฏิบัติตามหลักธรรม ไม่พูดโกหก ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อเป็นต้น (สัมมาวาจา)
-ทำการชอบ หรือการมีการกระทำที่ไม่ผิดหลักศีลธรรม เช่นไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์เป็นต้น (สัมมากัมมันตะ)
-เลี้ยงชีพชอบ คือการทำมาหากินในทางที่ถูก ไม่เบียดเบียนหรือทำความเดือดร้อนให้กับสัตว์หรือผู้อื่น
อยู่ในหลักธรรมที่กำหนด เช่น ไม่มีอาชีพค้ามนุษย์ หรืออาชีพค้าอาวุธเป็นต้น (สัมมาอาชีวะ)
-ความเพียรชอบ คือการหมั่นทำนุบำรุงในสิ่งที่ถูกต้อง อาทิเช่นการพยายามละกิเลสออกจากใจ หรือการพยายามสำรวม
กาย วาจา ใจให้ดำเนินตามหลักธรรมของท่านเป็นต้น (สัมมาวายามะ)
-ความระลึกชอบ คือมีสติตั้งมั่นในสิ่งที่ถูกต้องตามหลักธรรม เช่นการพึงระลึกถึงความตายที่ต้องเกิดกับทุกคนเป็นต้น
(สัมมาสติ)
-จิตตั้งมั่นชอบ คือมีจิตที่มีสมาธิ ไม่ว่อกแวกหรือคิดฟุ้งซ่าน
และการทำสมาธิภาวนาตามหลักการที่ท่านได้บัญญัติแนะนำเอาไว้ (สัมมาสมาธิ)

๓๔.การทำให้แจ้งในพระนิพพาน

นิพพาน คือ ภาวะของจิตที่ดับกิเลสได้หมดสิ้น หลุดจากอำนาจกรรม และไม่ต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏอีก
ซึ่งก็คือพ้นจากทุกข์นั่นเอง
ท่านว่าลักษณะของนิพพานมีอยู่ ๒ ระดับดังนี้คือ
๑.การดับกิเลสขณะที่ยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่ หรือการเข้าถึงนิพพานขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ -สอุปาทิเสสนิพพาน
๒.การดับกิเลสที่ไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่เลย คือการที่ร่างกายเราแตกดับแล้วไปเสวยสุขอันเป็นอมตะในพระนิพพาน
(ตรงนี้ไม่สามารถอธิบายให้กระจ่างมากไปกว่านี้ได้) -อนุปาทิเสสนิพพาน

การที่จะเข้าถึงพระนิพพานได้ ก็ต้องปฏิบัติธรรมและเจริญสมาธิภาวนาจนถึงขั้นสูงสุด

๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

คำว่าโลกธรรม มีความหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำบนโลกนี้ ซึ่งเราไม่ควรมีจิดหวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้
ท่านว่าลักษณะของโลกธรรมมี ๔ ประการคือ
๑.การได้ลาภ เมื่อมีลาภผลก็ย่อมมีความเสื่อมเป็นธรรมดา มีแล้วก็ย่อมหมดไปได้ เป็นแค่ความสุขชั่วคราวเท่านั้น
๒.การได้ยศ ยศฐาบรรดาศักดิ์ล้วนเป็นสิ่งสมมุติขึ้นมาทั้งนั้น เป็นสิ่งที่คนยอมรับกันว่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้
พอหมดยศก็หมดบารมี
๓.การได้รับการสรรเสริญ ที่ใดมีคนนิยมชมชอบ ที่นั่นก็ย่อมต้องมีคนเกลียดชังเป็นเรื่องธรรมดา
การถูกนินทาจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
๔.การได้รับความสุข ที่ใดมีสุขที่นั่นก็จะมีทุกข์ด้วย มีความสุขแล้วก็อย่าหลงระเริงไปจนลืมนึกถึงความทุกข์ที่แฝงมาด้วย

การทำให้จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม มีวิธีดังนี้คือ
๑.ใช้ปัญญาพิจารณา โดยตั้งอยู่ในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา พิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงหลักธรรมต่างๆ
๒.เจริญสมาธิภาวนา ใช้กรรมฐานพิจารณาถึงความเป็นไปในความไม่เที่ยงในสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก และสังขาร

๓๖.มีจิตไม่โศกเศร้า

ท่านว่ามีเหตุอยู่ ๒ ประการที่ทำให้จิตเราต้องโศกเศร้าคือ
๑.ความโศกเศร้าที่เกิดเนื่องมาจากความรัก รวมถึงรักสิ่งของ ทรัพย์สินเงินทองด้วย
๒.ความโศกเศร้าที่เกิดจากความใคร่

การทำให้จิตใจไม่โศกเศร้านั้น มีข้อแนะนำดังนี้
๑.ใช้ปัญญาพิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงความไม่เที่ยงในสิ่งของทั้งหลาย และร่างกายของเรา
๒.ไม่ยึดมั่นในตัวตน หรือความจีรังยั่งยืน ในคนหรือสิ่งของว่าเป็นของเรา
๓.ทุกอย่างในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ แม้ร่างกายเราก็ใช้เป็นที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น
๔.คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่เที่ยงด้วยกันทั้งนั้น

๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส

กิเลส ก็คือสิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง ซึ่งได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ท่านได้แบ่งประเภทของกิเลสออกเป็นดังนี้ คือ
๑.ราคะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น
-ความโลภอย่างแรงจนแสดงออกมา เช่นการลักขโมย ปล้น จี้ ข่มขืนกระทำชำเรา เป็นต้น (อภิชฌาวิสมโลภะ)
-ความเพ่งเล็งจะเอาของคนอื่นมาเป็นของตัว มีใจอยากได้ของคนอื่นแต่ยังไม่ถึงกับแสดงออก (อภิชฌา)
-ความอยากได้ในทางไม่ชอบ เช่นการยอมรับสินบน การทุจริตเพื่อแลกกับการมีทรัพย์เป็นต้น (ปาปิจฉา)
-ความมักมากเห็นแก่ได้ ด้วยการเอามาเป็นของตนจนเกินพอดี เอาประโยชน์ใส่ตัวโดยไม่คำนึงถึงคนอื่น (มหิจฉา)
-ความยินดีในกาม ก็คือยังไม่สามารถละกิจกรรมทางเพศได้ ยังมีความรู้สึก มีแรงกระตุ้น มีความพอใจในเรื่องเพศ
(กามระคะ)
-ความยินดีในรูปธรรมอันปราณีต ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของรูปฌาณ ปรารถนาในรูปของภพเมื่อทำสมาธิขั้นสูงขึ้นไป
(รูปราคะ)
-ความยินดีในอรูปฌาณ ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของอรูปฌาณเมื่อทำสมาธิถึงภพของอรูปพรหม (อรูปราคะ)
๒.โทสะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น
-พยาบาท คือการผูกใจอาฆาต มีใจที่ไม่หวังดี การจองเวร
-โทสะ คือการคิดประทุษร้าย เนื่องด้วยมีใจพยาบาทแล้วก็มีใจคิดหมายทำร้าย
-โกธะ คือความโกรธ ความเดือดร้อนใจ ซึ่งล้วนเป็นเหมือนไฟที่เผาตัวเอง
-ปฏิฆะ คือความขัดใจ ความไม่พอใจอันทำให้อารมณ์หงุดหงิด
๓.โมหะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น
-ความเห็นผิดเป็นชอบ เช่นการไม่เชื่อในเรื่องบาป เรื่องบุญเป็นต้น (มิจฉาทิฐิ)
-ความหลงผิด ไม่รู้ตามความเป็นจริง (โมหะ)
-การเห็นว่ามีตัวตน เช่นการเชื่อในสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเท่านั้น (สังกายทิฏฐิ)
-ความสงสัย คือสงสัยในพระธรรม คำสั่งสอนในเรื่องการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ (วิจิกิจฉา)
-การยึดถืออย่างงมงาย เช่นการไปกราบไหว้สัมพเวสีที่อยู่ตามต้นไม้ ขอลาภเป็นต้น (สีลัพพตปรามาส)
-ความถือตัว คือการสำคัญตัวเองผิดว่าเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ (มานะ)
-ความฟุ้งซ่าน คือการที่จิตใจว่อกแวก คิดไม่เป็นสาระ ไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่มีสมาธิ หรือการทำสมาธิไม่นิ่ง (อุทธัจจะ)
-ความไม่รู้จริง คือการที่รู้แค่ผิวเผิน หรือการทึกทักเอาเอง ไม่ปฏิบัติตามหลักพระธรรม ยังไม่เกิดปัญญา (อวิชชา)

โทษของการมีกิเลสดังกล่าวข้างต้นพอสรุปได้สั้นๆ ดังนี้คือ
๑.ราคะ มีโทษน้อย แต่คลายช้า
๒.โทสะ มีโทษมาก แต่คลายเร็ว
๓.โมหะ มีโทษมาก แต่คลายช้า

๓๘.มีจิตเกษม

เกษม หมายถึงมีความสุข สบาย หรือสภาพที่มีจิตใจที่เป็นสุข
มีจิดเกษมก็คือว่ามีจิตที่เป็นสุขในที่นี้หมายถึงการละแล้วซึ่งกิเลส ที่ท่านว่าไว้ว่าเป็นเครื่องผูกอยู่ ๔ ประการคือ
๑.การละกามโยคะ คือการละความยินดีในวัตถุ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเรียกว่ากามคุณซึ่งประกอบด้วย รูป รส กลิ่น เสียง
และสัมผัส
๒.การละภวโยคะ คือการละความยินดีในภพ โดยให้เห็นว่าสิ่งใดๆในโลกล้วนไม่เที่ยงแท้ หรือคงอยู่ตลอดไป
๓.การละทิฏฐิโยคะ คือการละความยินดีในความเห็นผิดเป็นชอบ
โดยให้ดำเนินตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวมาแล้ว
๔.การละอวิชชาโยคะ คือการละความยินดีในอวิชชาทั้งหลาย ความไม่รู้ทั้งหลาย โดยให้มุ่งปฏิบัติเพื่อปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง

พุทธวิธีบริหาร
Buddhist Style in Management