Pineapple TH-PH

Done

Sunday, August 3, 2008

กับดักของใบปริญญา วิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน

กับดักของใบปริญญา วิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน


บ่าย วันหนึ่ง ณ ร้านหนังสือ Kinokuniya ชั้น 4 สยามพารากอน คนหนุ่มสาว กลุ่มเล็กๆ ผู้มีใจรักการอ่าน หลบการเมืองร้อนๆ เข้ามาฟัง สฤณี อาชวานันทกุล อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักเขียนอิสระ สนทนาประสาคนชายขอบ เรื่อง "กับดัก" ของใบปริญญา (บทบาทของ การศึกษาในบริบทของการใช้ชีวิต) เบื้องหลังและวิธีคิดในหนังสือ "วิชาสุดท้าย" (ที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน)

หนังสือซึ่งเธอเป็นผู้แปลและเรียบเรียง ด้วยแรงบันดาลใจจากการอ่าน...

สฤณี เล่าว่า หลังจากอ่านสุนทรพจน์ของบุคคลเหล่านี้แล้วก็รู้สึกว่าได้แรงบันดาลใจ รู้สึกว่าเป็นประโยชน์และให้แง่คิด อีกเหตุผลคือ รู้สึกว่าโชคดีที่อย่างน้อยได้รู้จักคนเหล่านี้ อย่างน้อยก็รู้จักจากการอ่านงานเขียนของหลายท่านๆ

อย่าง Martha Nussbaum เป็นนักปรัชญาคนหนึ่งที่ชอบมากๆ ก็เลยมีความรู้สึกเชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่งว่า สิ่งที่เขาพูดไม่ได้ได้เฟก คือรู้สึกว่าเขาพูดด้วยความจริงใจจริงๆ แล้วก็บริสุทธิ์ใจ

อย่างไรก็ ตามคิดว่าทั้งหมดของหนังสือเล่มนี้นับเป็นประสบการณ์ เพราะคนเหล่านี้สามารถกลั่นกรองข้อคิดและบทเรียนจากประสบการณ์ตัวเองออกมา ได้ ซึ่งคิดว่าไม่ได้ทำกันได้ง่ายๆ จึงรู้สึกว่าเมื่ออ่านแล้วก็ได้แง่คิด ได้เรียนรู้บทเรียนต่างๆ ในชีวิต สามารถ นำมาสอนหรือถ่ายทอดให้น้องๆ นักศึกษาฟังเป็นประโยชน์ได้

สฤณีเริ่มเล่าความประทับใจสุนทรพจน์ของ แต่ละคนในหนังสือเล่มนี้ว่า ถ้าจะไล่จากอคติของคนแปลก่อน (หัวเราะ) คนที่ชอบที่สุดก็คือ David Foster Wallace

"ส่วนหนึ่ง นอกจากเขาจะเป็นนักเขียนในดวงใจแล้ว คิดว่าเขาพูดถึงคุณค่าของการศึกษาในทางที่อาจจะเรียกว่าคล้าย หลักศานาพุทธเลยก็ได้ เขาอาจไม่ได้เป็น พุทธศาสนิกเท่าไร แต่สิ่งที่เขาพูด คือถ้า เราเชื่อว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนา ที่เป็นสัจธรรม ก็เป็นเรื่องน่าสนใจ"

ความน่าสนใจตอนที่ได้อ่านก็คือเขาพยายามจะ บอกว่า ขนาดหลักสูตรเลือกเสรี ที่ว่ากันว่าดีมากๆ และว่ากันว่าเป็นหลักสูตรการสอนที่ดีที่สุดในโลกของ อเมริกา มันก็ยังมีกับดัก

"หลายๆ คนในอเมริกา เวลาจบจาก โรงเรียนดังๆ ก็จะรู้สึกว่าตัวเองเก่ง รู้สึกตัวเองรู้เรื่องเยอะมาก ใช้ศัพท์ทางวิชาการ ชั้นดี มองเห็นพ่อแม่กลายเป็นคนโง่ไปหมด ซึ่งก็สารภาพว่าตอนตัวเองจบก็น้องๆ อย่างนั้น (นะ) คือ ก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน รู้สึกว่าเวลาเถียงกับพ่อแม่ก็มีความคิดว่า เฮ้ย ! ทำไมพ่อแม่ใช้ตรรกะไม่เป็นเลย เถียงทีไรก็แพ้เรา แต่พอสู้ไม่ได้ก็บอกว่าฉันเป็นแม่เธอ (นะ)"

สิ่งที่ Wallace พยายามเตือนสติ ก็คือ คนเราคิดเป็นอย่างเดียวมันไม่พอ หมายความว่า ถึงคุณจะใช้เหตุผล ใช้ตรรกะเป็น สามารถไปเถียงกับใครก็ได้ในโลกนี้ด้วยตรรกะที่ฟังดูมีภูมิรู้แน่นหนามาก มันก็อาจจะยังไม่ใช่สิ่งที่ทำให้คุณมีความสุขในชีวิต เขาพูดถึงเรื่องจิตใจค่อนข้างเยอะ อาจบอกได้ว่าเป็นการเจริญสติ ซึ่งในฐานะคนแปลอาจจะสรุปผิดก็ได้ แต่ที่จับใจความได้คือ เขาพยายามบอกว่าจะทำยังไงให้มีสติในชีวิตประจำวัน

แล้วถ้าเลือกคิด ได้ เพราะเรามีสิทธิ์ที่จะเลือกคิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความคิดเราจะดีกว่าคนอื่น ยกตัวอย่างง่ายๆ เวลาเราไปซูเปอร์มาร์เก็ต เราก็จะด่า จะหงุดหงิดว่าคนที่รอจ่ายตังค์อยู่หน้าเราว่าช้า ซึ่งเรามีสิทธิ์คิด แต่ถ้าเราคิดในแง่ดีบ้างว่า คนที่เขาทำให้เราเสียเวลาบางทีเขาอาจจะไม่มีทางเลือกเหมือนกัน

ก็เลย คิดว่าสติของ Wallace ทำให้คน ที่จบการศึกษาได้คิดว่าเราต้องมีอะไร ทำมากกว่านั้น และในทางคล้ายกันก็คือ สุนทรพจน์ของ Robert B. Reich ซึ่งก็สารภาพว่าไม่รู้จักเลย แต่พอไปอ่านก็คล้ายๆ กันกับ Wallace

Reich บอกว่า คุณมีความรู้ก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะมีปัญญาไปด้วย พูดง่ายๆ คือ รู้มากกับรู้ดีมันแตกต่างกัน สมมติว่าเราเรียนจบมาทางด้านถ่ายรูป เราก็รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับการถ่ายรูป รู้เรื่องเทคนิคหมดของการถ่ายรูป

แต่ ถ้าคุณไม่เคยถามตัวเองเลยว่าชอบการถ่ายรูปมั้ย แล้วทำไมถึงถ่าย ตราบใดที่ยังไม่ถามตัวเองตรงจุดนี้ คุณก็อาจประสบความสำเร็จในมาตรฐานที่สังคมชอบวัด ก็คือ อาจจะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก มีเงินใช้ แต่มันก็อาจจะรู้สึกว่าอะไรขาดหายไป เพราะคุณไม่เคยรู้สึกว่าเรามีความสุขกับ สิ่งที่เรากำลังทำ แล้วมันเป็นตัวตนของเราจริงๆ หรือเปล่า

ถัดมา กับความคิดของคนอย่าง Bill Gates สฤณี แสดงทรรศนะว่า จริงๆ สิ่งที่ Bill Gates พูดถึงว่า ทำไมควรจะช่วยเหลือคนที่ไม่มีโอกาส คนยากไร้ ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่ามันชวนให้คิดกลับไปถึงหลักคิดอันหนึ่งก็คือ ประเพณีการร่ำเรียนในอเมริกา โดยเฉพาะการเข้าโรงเรียนดังๆ จะสอนให้เด็กเชื่อใน "ภาระความรับผิดชอบอันสูงส่ง"

ความหมายก็คือ ยิ่งคุณเรียนสูงเท่าไร และยิ่งมีโอกาสมากกว่าคนอื่นเท่าไร คุณยิ่งต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการช่วยคนด้วย ความคิดแบบนี้มันทำให้คนที่เวลารวยถึงที่สุดแล้วมันจะเกิดความรู้สึกผิดอยู่ ในสำนึกว่า เราจะทำอะไรเพื่อช่วยเหลือต้องช่วยเหลือคนอื่น

คิดว่า ฉันจะต้องตอบแทนสังคมเมื่อมีมากพอแล้ว มันไม่มีข้ออ้างอะไรเลยที่คุณจะต้องมีมากกว่าเดิม ฉะนั้นการที่คุณจะมีมากกว่าเดิมโดยไม่คิดถึงคนอื่น มันก็อาจจะเหมือนผิดศีลธรรมด้วยซ้ำ นี่ก็เป็นแนวคิดอันหนึ่งที่ Bill Gates พูดถึง แล้วเขาก็แสดงให้เห็นด้วยการกระทำ

กับ Steve Jobs สฤณีบอกว่า สิ่งที่คิดว่าได้จาก Jobs เยอะมากๆ ก็คือ การพูดถึงการเชื่อมจุด ซึ่งจะบอกว่าเป็นเรื่องที่น่าคิดมาก และเป็นอะไรที่ต้องใช้ชีวิตไปอีกระดับหนึ่งแล้วมองย้อนกลับมามันถึงจะเห็น

Jobs เล่าว่า เขาเคยเข้าไปนั่งเรียนวิชาที่เกี่ยวกับการคัดลายมือ โดยไม่เอาคะแนน ซึ่งตอนนี้ถ้าเป็นเรา คงมองว่าจะไปเรียนทำไม มันเสียเวลาหรือเปล่า แต่ Jobs ไปเรียนก็เพราะว่าเขาสนใจในวิชานี้ เขาคิดว่ามันน่าสนใจ มันสุนทรียะ

ซึ่งตัวเองคิดว่าเป็นประเด็นการ ศึกษาที่น่าสนใจ คือ หลายครั้งเวลาเราเรียนอะไรเพราะว่าเราไม่ได้คิด อาจจะไม่คิดมากว่าเรียนทุกวิชาแล้วเอาไปทำอะไรหรอก Jobs บอกว่า เขาไม่ได้คิดว่าวิชานี้จะมาช่วยเขาในการทำงานได้ยังไง

แต่ในเวลาต่อ มา เมื่อมีเครื่องแมคมันก็กลายเป็นว่า เขากลับค้นพบว่ามันกลายเป็นความรู้ที่เขาได้ใช้ แล้วเขาก็ได้ใช้จริงๆ ในการออกแบบ "ฟรอนต์เครื่องแมค" ทำให้แมคมีฟรอนต์ที่สวยมาก


ฉะนั้น มันก็เป็นสิ่งที่ทำให้ตัวเองรู้สึกดีว่า บางทีเวลาเราทำอะไรแล้วเราทำด้วยความรักจริงๆ หรือเราทำเพราะเราชอบ ก็พอแล้ว คือ ถ้าเราชอบกับสิ่งที่เราทำจริงๆ แล้วเรารักที่จะรู้

ขอนอก ประเด็นเล็กน้อยว่า "การรักในความรู้" คำนี้เป็นสิ่งที่ได้จากการเรียนหนังสือที่ต่างประเทศอย่างมาก คือ รักที่จะหาเหตุผล อยากรู้ว่าคนอื่นเขาคิดยังไง เราอยากรู้ว่าคนแต่ละคนคิดยังไง มองโลกยังไง ซึ่งคิดว่าแม้วิชาพวกนี้จะไม่ได้ช่วยเราโดยตรงในหน้าที่การงาน แต่คิดว่าอย่างน้อยมันก็ทำให้เราเป็นมนุษย์ที่ดีขึ้น คือ มันทำให้เราเข้าใจหัวอกคนอื่น เข้าใจความหลากหลายของสังคมได้ นี่คือสิ่งที่ได้จากความคิดของ Steve Jobs

ส่วน Bono นักร้องนำและนักแต่งเพลงวง U2 สฤณีเล่าว่า Bono ทำให้คิดถึงประเด็นที่ไม่ได้พูด ก็คือ ถ้าสังเกตดูคนที่ถูกเชิญมากล่าวสุนทรพจน์ หลายคนไม่จบปริญญา อย่าง Bill Gates ก็เรียนไม่จบ

หรือหลายคนที่ได้รับเชิญมากล่าวสุนทรพจน์ให้ กับนักศึกษาที่จบปริญญาตรีแล้วจากมหาวิทยาลัยชั้นนำก็เรียนไม่จบ ซึ่งอาจแสดงว่าคนที่เชิญบุคคลเหล่านี้มา เขาคงคิดว่าจะมีข้อคิดอะไรบางอย่างจากประสบ การณ์ชีวิตของคนเหล่านี้ที่ใช้ได้กับนักเรียน หรือมีอะไรที่นักเรียนเหล่านี้ควรจะฟัง

"ซึ่งในความคิดของ Bono สิ่งที่น่าสนใจ ก็คือ คือเขาเป็นคนที่สนใจความยุติธรรม ในสังคมมานานแล้ว อย่างที่เขาพูดในสุนทรพจน์ว่า ตอนเด็กๆ การศึกษาของเขาก็คือ วงแคลส วงดนตรีร็อกชื่อดังสมัยก่อน ที่เอากีตาร์โยนลงพื้นแล้วกีตาร์ก็พัง จนรูปนั้นกลายเป็นรูปคลาสสิกในวงการเพลงร็อก"

เขาบอกว่า นั่นคือการศึกษาของเขา แล้วมันน่าสนใจที่ว่า จิตสำนึกของ Bono ที่สนใจเรื่องความทุกข์ยากของคน มันก็มาจากวงการพังก์ร็อก วงร็อกแอนด์โรลที่แต่งเพลงมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับความยุติธรรม

Bono บอกว่า ตอนเด็กๆ เขาเองก็เย้วๆ แต่งตัวเป็นร็อกเรียกร้องความยุติธรรม แต่เขาก็เข้าใจเมื่อเขาโตแล้ว เมื่อเขามีโอกาสได้ก่อตั้งมูลนิธิและทำการกุศลโดยตรงในแอฟริกา เขาก็เริ่มเข้าใจความ ซับซ้อนของปัญหามากขึ้น

ประโยคหนึ่งใน สุนทรพจน์ที่ชอบมากของ Bono ก็คือ "แอฟริกาต้องการความยุติธรรมพอๆ กับที่ต้องการการกุศล" ที่น่าสนใจคือ ถ้าเรามองปัญหาของแอฟริกา แล้วเห็นว่าน่าสงสาร มีเด็กอดอยากมากมาย แล้วก็มีการเอาเงินทุ่มลงไป โดยที่อาจจะไม่ได้สนใจว่ารัฐบาลแอฟริกันคอร์รัปชั่นขนาดไหน

เขาบอก ว่า ทำแค่นั้นมันผิวเผิน การกุศลอาจจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาทีแท้จริง เพราะปัญหาที่แท้จริงเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น เรื่องหนี้สินที่ไม่เป็นธรรมในแอฟริกา ซึ่งพอ Bono มาจับประเด็นเหล่านี้ มันทำให้เขาก็ค่อนข้างจะมีชื่อมากในแวดวงเหล่านี้ เขาวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์นโยบาย ไอเอ็มเอฟ ธนาคารโลกต่างๆ ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่ามันเป็นพัฒนาการที่น่าคิดมากว่า โดยเฉพาะสิ่งที่เขาพูดว่า "ความยุติธรรมสำคัญพอๆ กับการกุศล"

อีก ประโยคหนึ่งที่ชอบมากก็คือ เขาบอกว่า ถ้าคุณจะรับใช้ยุคสมัยให้ดีที่สุดคุณต้องทรยศกับมัน อันนี้น่าคิด แล้วก็คิดว่าเป็นวิธีการพูดที่ดีมาก แล้วสรุปใจความได้สั้นมาก สิ่งที่เขาพยายามจะบอก

"ซึ่งตัวเองอาจจะมองผิดก็ได้ คือ ในสังคมถ้าคุณไหลตามกระแสไปเรื่อยๆ คือไม่ตั้งคำถามกับสิ่งที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ คุณก็ทำตามโดยที่คิดว่าเสียงส่วนใหญ่เป็นมาตรวัดความถูกต้องแล้ว บางครั้งมันก็ทำให้สังคมเดินไปสู่หายนะ เพราะเสียงส่วนใหญ่อาจจะทำสิ่งที่ไม่ดีอยู่ก็ได้ เพียงแต่ยังไม่มีใครจุดประกายหรือฉุกคิด คือ ตัวอย่างในประวัติศาสตร์ก็มีมากมาย คือ ถ้าไม่มีใครลุกขึ้นมาต่อสู้กับการเลิกทาส ป่านนี้ทาส ก็อาจจะยังคงมีอยู่"

กับ สุนทรพจน์ของ Michael Bloom berg สฤณีเล่าว่า Bloomberg เป็นนักการเมืองที่ตัดสินใจไปรับใช้สังคม การรับใช้สังคมของเขาเท่มาก เขาบอกว่าเขาขอรับเงินเดือน 1 เหรียญ เพื่อกันข้อครหาว่าเขาจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน

จริงๆ สิ่งที่คิดว่าน่าสนใจในสุนทรพจน์ของ Bloomberg ก็คือ สิ่งที่เขาอยากให้นักศึกษาที่จบใหม่ได้เก็บไปคิดก็คือ ความซื่อสัตย์สุจริต เคารพความเห็นของผู้อื่น และถ้ามีเวลาก็ควรจะรับใช้สังคม

ถ้าหลับตา ว่าไม่ใช่ Bloomberg พูด ก็จะคิดว่าคนที่ไหนก็พูดได้ บางทีพ่อแม่เราก็สอนมาแบบนี้ได้ ก็เลยคิดว่ามันเป็นเสน่ห์ ของสุนทรพจน์ของเขา เพราะถึงแม้เขาจะเป็นนักการเมืองอเมริกัน เขาก็ให้แง่คิดต่างๆ ที่ค่อนข้างเป็นสากลมากได้อย่าง น่าสนใจ ทั้งเรื่องการรักษาสัจจะและการเคารพในคนอื่น

เรื่องของ Bloomberg มีเกร็ดที่น่าสนใจอีกอย่างคือ เขาบอกว่า การรับใช้สังคมมันควรจะอยู่ในทุกคนที่จบจากที่มหาวิทยาลัยซึ่งทุกคนรู้อยู่ แล้ว และเขาบอกว่า อย่าลืมความรู้สึกนั้น อีกอย่างที่น่าสนใจก็คือ เขาบอกว่า แน่นอน เด็กที่จบปริญญาสิ่งแรกที่กลัว ก็คืองานแรก มีความคิดว้าวุ้นต่างๆ นานา บางทีก็เลือกไม่ตก เลือกไม่ได้ แต่เขาบอกว่า อย่าไปคิดมาก อย่าไปพยายามวาดแผนที่ชีวิต เพราะชีวิตมันไม่แน่นอน เราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในชีวิตเราบ้าง

"ทำให้นึกถึงอาจารย์คน หนึ่งเคยแนะนำให้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง แต่จำชื่อไม่ได้แล้ว เขาบอกว่า การศึกษาเหมือนเรือ เหมือนการต่อเรือ ตอนที่เราต่อเรือด้วยความคิดที่ว่าเราจะต้องทำให้เรือลำนี้ต้านทานพายุที่ แรงที่สุดได้ แต่จริงๆ แล้ว เราไม่รู้ว่าเราออกเรือไปมันจะมีพายุตรงไหนบ้าง หินโสโครกมันอยู่ตรงไหนบ้าง เพราะหลายเรื่องมันพยากรณ์ไม่ได้"

แล้ว ตอนต่อเรือ เราก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เราอยากจะไปเที่ยวที่ไหน ฉะนั้น สิ่งที่เราทำได้คือ ตั้งเครื่องเรือให้ดีที่สุด ต่อเรือให้เสาแข็งแรงมากๆ แล้วก็ให้ใบมันยืดหยุ่นที่สุด คือทำทั้งหมดเพื่อให้รองรับกับ สภาพอากาศที่แย่ที่สุดได้ เมื่อถึงเวลาจบการศึกษา เราก็แล่นเรือออกไปในทะเล เผชิญพายุ

ที่สำคัญคือ ต้องแล่นเรือออกไป เพราะถ้าไม่แล่นเรือออกไป เราก็จะไม่รู้ว่าเรือนี้ แข็งแรงจริงมั้ย มันก็ต้องได้รับการทดสอบ เพราะถ้ามัวแต่อยู่ในอู่ก็ไม่รู้ว่าเรือเราจะเป็นยังไง


บางที วิชาสุดท้าย อาจทำให้คุณพบแรงบันดาลใจใหม่ๆ กับชีวิต...

No comments: