ตำราพิชัยสงคราม ซุนวู (The Art of War)
ตำราพิชัยสงคราม ซุนวู อธิคม สวัสดิญาณ และ อดุลย์ รัตนมั่นเกษม แปล
พิมพ์ครั้งแรก พ.ย.2540 สำนักพิมพ์คุณธรรม
บทนำ ใน การรบหรือการทำสงคราม ตำราพิชัยสงครามที่เป็นที่รู้จักและนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดย่อมหนี ไม่พ้น ตำราพิชัยสงครามของซุนวู หรือ ซุนอู่ ตามการเรียกในภาษาจีน ตำราพิชัยสงครามซุนวู เรียกกันอีกอย่างว่า The Art of War. และมีการนำมาปรับใช้กับการบริหารธุรกิจ โดยตำราพิชัยสงครามซุนวูแบ่งออกเป็นทั้งหมด 13 บทประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องและสอดคล้องกัน หนังสือเล่มนี้อธิคม สวัสดิญาณ และ อดุลย์ รัตนมั่นเกษม แปลและเรียบเรียงได้น่าอ่านแยกเฉพาะเนื้อหาที่เป็นส่วนของตำราพิชัยสงคราม
บทที่ 1 การวางแผน อันการสงครามนั้น เป็นเรื่องใหญ่ของรัฐ คือวิถีแห่งการคงอยู่หรือล่มสลายของประเทศชาติ เกี่ยวพันถึงชีวิตของไพร่พลและราษฎร จะไม่พินิจพิเคราะห์หาได้ไม่ เพราะฉะนั้น เราต้องคำนึงถึงปัญหาพื้นฐานห้าประการเป็นปฐม แล้วเปรียบเทียบสภาพของเรากับข้าศึก เพื่อคาดคะเนผลแพ้ชนะในสงคราม ปัญหาพื้นฐานห้าประการ ได้แก่ หนึ่ง มรรค (เต้า), สอง ฟ้า (เทียน), สาม ดิน (ตี้), สี่ แม่ทัพ (เจียง), ห้า กฎ (ฝ่า) มรรค หมายถึง ความเป็นธรรม สิ่งที่ทำให้ราษฎรมีเจตนารมณ์ตรงกับฝ่ายปกครอง ยินดีร่วมเป็นร่วมตายกับฝ่ายปกครองโดยไม่หวั่นเกรงภยันตรายใดๆ ฟ้า หมายถึง ภูมิอากาศ กลางวันกลางคืน ฤดูและความผันแปร ดิน หมายถึง ภูมิประเทศสูงหรือต่ำ ใกล้หรือไกล คับขันหรือราบเรียบ กว้างใหญ่หรือคับแคบ และปิดหรือเปิด (เซิงสื่อ) แม่ทัพ หมายถึง ผู้นำเหล่าทัพซึ่งเปี่ยมด้วยสติปัญญา รักษาสัจจะวาจา มีเมตตาธรรม มีความกล้าหาญ และเคร่งครัดเที่ยงธรรม กฎ หมายถึง ระเบียบวินัยของกองทัพ ระบบการจัดอัตรากำลังพล และระบบจัดสรรหาอาวุธยุทโธปกรณ์ ปัญหาห้าประการนี้ แม่ทัพนายกองจะมีผู้ใดมิรู้ก็หาไม่ ทว่าผู้แจ้งรู้เท่านั้นจึงจะชนะ ผู้มิรู้แจ้งย่อมแพ้พ่าย จากนั้นจึงเปรียบเทียบสภาพของเรากับข้าศึก เพื่อคาดคะเนผลแพ้ชนะในสงคราม ซึ่งได้แก่ ประมุขฝ่ายใดปกครองอย่างเป็นธรรม? แม่ทัพฝ่ายใดมีสติปัญญาความสามารถ? ดินฟ้าอากาศเอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายใด? กองทัพฝ่ายใดเคร่งครัดระเบียบวินัย? กองทัพฝ่ายใดกล้าแข็ง? ไพร่พลฝ่ายใดได้รับการอบรมได้รับการฝึกอบรมที่ดี? และกองทัพฝ่ายใดตกรางวัลและลงโทษอย่างเที่ยงธรรม? จาก สภาพเหล่านี้ ข้าพเจ้าพอจะคาดได้แล้วว่าฝ่ายใดจักปราชัยหรืออัปราชัยในศึกสงคราม หากแม่ทัพเชื่อฟังข้าพเจ้า วางแผนบนพื้นฐานที่ได้คำนึงถึงปัญหายุทธศาสตร์ข้างต้นแล้ว ย่อมเป็นฝ่ายชนะในศึกสงคราม ก็จงรับไว้ มิเช่นนั้นย่อมจะเป็นฝ่ายแพ้พ่าย ก็จงปลดออก เมื่อมียุทธศาสตร์ที่เหนือกว่า อีกทั้งวางแผนโดยเชื่อฟังข้าพเจ้า ก็จงสร้างภาวการณ์ต้องกุมความเป็นฝ่ายกระทำ พลิกแพลงโดยคำนึงถึงความได้เปรียบเป็นหลัก การทำสงครามคือวิถีแห่งกุศโลบาย มีขีดความสามารถ พึงแสดงว่าไร้ความสามารถ, จะทำสงคราม พึงแสดงว่าไม่คิดทำสงคราม, จะตีใกล้ พึงแสดงว่าจะตีไกล, ข้าศึกละโมบ พึงล่อหลอกด้วยผลประโยชน์, ข้าศึกปั่นป่วน พึงตีหัก, ข้าศึกมีกำลังมาก พึงเตรียมพร้อมเสมอ, ข้าศึกเข้มแข็ง พึงหลีกเลี่ยง, ข้าศึกฮึกหาญ พึงทำลายขวัญสู้รบ, ข้าศึกสุขุมเยือกเย็น พึงยั่วให้ขาดสติ, ข้าศึกสุขสบาย พึงรังควาญให้อ่อนเปลี้ย, ข้าศึกสามัคคีกัน พึงยุแยก, พึง โจมตีในขณะที่ข้าศึกไม่ได้เตรียมพร้อม และจู่โจมในขณะที่ข้าศึกไม่คาดฝัน ทั้งหมดนี้ คือ เคล็ดลับแห่งชัยชนะของนักพิชัยสงครามซึ่งสุดวิสัยที่จะสาธยายให้แจ้งชัดเจน ล่วงหน้า หากชนะก่อนรบ แสดงว่าได้วางแผนอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว หากไม่ชนะก่อนรบ แสดงว่ามิได้วางแผนอย่างละเอียดรอบคอบเท่าที่ควร, วาง แผนอย่างละเอียดรอบคอบ ย่อมชนะ ไม่วางแผนอย่างละเอียดรอบคอบ ย่อมแพ้พ่าย ไยต้องกล่าวถึงการไม่วางแผนอีกเล่า ข้าพเจ้าพิเคราะห์ถึงปัญหาต่างๆ เหล่านี้ก็ประจักษ์แจ้งถึงความปราชัย และอัปราชัยล่วงหน้า
บทที่ 2 การทำสงคราม กรีฑาทัพหนึ่งแสน ซึ่งมีรถศึกเทียมด้วยม้าสี่ตัวพันคัน รถหุ้มเกราะหนังพันคัน พลเกราะหนึ่งแสน และเสบียงสำหรับทางไกลพันลี้ ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายทั้งแนวหน้าและแนวหลัง ค่าใช้จ่ายการทูต ค่ายุทธปัจจัย และค่าซ่อมบำรุง วันละพันตำลึงทอง การทำสงคราม จึงต้องเผด็จศึกโดยเร็ว ถ้ายืดเยื้อกองทัพจะอ่อนล้า ขวัญสู้รบตกต่ำ เมื่อคิดจะโหมตีเมือง กองทัพก็กะปลกกะเปลี้ยแล้ว ถ้ากองทัพต้องทำสงครามยืดเยื้อยาวนาน ประเทศชาติก็จะประสบความยากลำบากด้านการคลัง ถ้ากองทัพอ่อนล้า ขวัญสู้รบตกต่ำ เหล่าสามนตรัฐก็จะฉวยโอกาสแข็งข้อ หากตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ ถึงมีปราชญ์ผู้กอปรด้วยสติปัญญา ก็ไม่อาจแก้ไขวิกฤตการณ์ ดังนั้น มีแต่คนกล่าวว่า การทำสงครามยึดหลักรวดเร็วแม้จะหยาบบ้าง ไม่ยึดหลักชักช้าแต่บรรจงปราณีต กองทัพทำสงครามยืดเยื้อโดยที่ประเทศชาติกลับได้ประโยชน์นั้น ยังมิเคยปรากฏเลย ผู้ที่ไม่เข้าใจผลร้ายของการทำสงครามอย่างถ่องแท้ จึงไม่อาจเข้าใจผลดีของการทำสงครามอย่างแจ่มแจ้ง ผู้สันทัดในการทำสงคราม จึงไม่เกณฑ์พลซ้ำสอง ไม่เกณฑ์เสบียงซ้ำสาม พึงยึดสินทรัพย์แคว้นอริ แย่งเสบียงจากข้าศึก กองทัพจึงไม่มีทรัพย์เสบียงเพียงพอ ประเทศชาติยากจนจากการทำสงคราม ก็เพราะต้องส่งเสบียงแก่กองทัพในระยะทางไกล ทำให้ราษฎรยากจนข้นแค้น กองทัพเคลื่อนถึงที่ใด สินค้าบริเวณนั้นจะมีราคาแพง เมื่อสินค้าแพง เงินทองในท้องพระคลังก็ร่อยหรอ จึงต้องเกณฑ์แรงและเสบียงด่วน สิ้นเปลืองกับศึกสงคราม ทำให้ทุกครัวเรือนว่างเปล่า รายได้ของราษฎรพึงถูกเกณฑ์ไปใช้ถึงเจ็ดส่วนสิบ ประเทศชาติต้องสูญเสียทรัพยากรมากมาย อาทิ รถศึกที่ชำรุด ม้า ลาพิการ เกราะหนัง หมวกเหล็ก ธนู หน้าไม้ ทวน มีดขอ ดั้งแขน โล่ วัว เกวียน ฯลฯ สิ้นเปลืองไม่ต่ำกว้าหกส่วนสิบ เพราะฉะนั้น ขุนพลผู้กอปรด้วยสติปัญญาพึงผลักภาระเสบียงให้ข้าศึก กินเสบียงข้าศึก 1 “จง” เท่ากับประหยัดเสบียงของตน 20 “จง” เลี้ยงสัตว์พาหนะด้วยอาหารสัตว์ของข้าศึก 1 “สือ” เท่ากับประหยัดอาหารสัตว์ของตน 20 “สือ” ดัง นั้น หากต้องการให้นักรบไพร่พลเข่นข้าสังหารข้าศึก จะต้องปลุกเร้าความเคียดแค้น หากต้องการให้นักรบไพร่พลแย่งยึดเสบียงและยุทธปัจจัยของข้าศึก จะต้องตกรางวัลเป็นทรัพย์สินเงินทอง อันรถศึกนั้น ถ้ายึดรถได้สิบคันขึ้นไป ควรตกรางวัลแก่ผู้เข้าแย่งยึดครองอย่างงาม แล้วเปลี่ยนธงรถศึก นำเข้าประจำการ ส่วนเชลยศึกนั้น จะต้องปฏิบัติต่อด้วยดีและช่วงใช้ตามควร จึงจะกล่าวได้ว่า ยิ่งชนะศึก ก็ยิ่งทำให้กองทัพฝ่ายตนเข้มแข็ง การทำสงคราม จึงต้องยึดหลักเผด็จศึกเร็ว ไม่ยืดเยื้อ แม่ทัพผู้ชำนาญการสงคราม จึงเป็นผู้ตัดสินการคงอยู่หรือล่มสลายของประเทศชาติ และกุมความเป็นตายของปวงประชาราษฎร์
บทที่ 3 ยุทโธบายเชิงรุก หลักการดำเนินสงครามถือว่า สามารถทำให้ประเทศข้าศึกยอมสยบเป็นยอด ต้องทำลายประเทศข้าศึกเป็นรอง, สามารถทำให้กองทัพข้าศึกยอมสยบเป็นยอด ต้องทำลายกองทัพข้าศึกเป็นรอง, สามารถ ทำให้กองพันข้าศึกยอมสยบเป็นยอด ต้องทำลายกองพันข้าศึกเป็นรอง สามารถทำให้กองร้อยข้าศึกยอมสยบเป็นยอด ต้องทำลายกองร้อยข้าศึกเป็นรอง, และ สามารถทำให้หมู่ข้าศึกยอมสยบเป็นยอด ต้องทำลายหมู่ข้าศึกเป็นรอง เพราะฉะนั้น กองทัพที่รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง จึงไม่ใช่กองทัพเหนือผู้พิชิต กองทัพที่สามารถทำให้ข้าศึกยอมสยบโดยไม่ต้องรบ คือกองทัพเหนือผู้พิชิตที่แท้จริง และดังนั้น ยุทโธบายชั้นยอดคือ เอาชนะข้าศึกทางยุทธศาสตร์ และรองมาคือ เอาชนะข้าศึกทางการทูต รองลงมาอีกคือ เอาชนะข้าศึกทางการทหาร และยุทโธบายชั้นต่ำสุดคือโจมตีเมืองของข้าศึก การโจมตีเมืองของข้าศึก ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อไม่อาจหลีกเลี่ยงเท่านั้น การตระเตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่น โล่ใหญ่, รถเกราะ, ฯลฯ สำหรับโจมตีเมือง ต้องใช้เวลาอย่าน้อยสามเดือน หลังจากนั้นต้องใช้เวลาสร้างเนินดินสำหรับตีเมืองอีกไม่ต่ำกว่าสามเดือน เมื่อแม่ทัพสั่งนักรบไพร่พลปีนบันไดเข้าโจมตีเมือง โดยไม่อาจควบคุมโทสะ ถ้าสูญเสียไพร่พลหนึ่งส่วนในสาม แต่ยังตีเมืองไม่แตก ก็หมายความว่า มหันตภัยจากการโจมตีเมืองกรายเข้ามาแล้ว แม่ทัพผู้สันทัดในการทำสงคราม สามารถทำให้กองทัพข้าศึกยอมสยบโดยไม่ต้องรบ, ยึด เมืองข้าศึกโดยไม่ต้องโจมตี และทำลายประเทศข้าศึกโดยไม่ต้องรบยืดเยื้อ กล่าวคือ พึงพิชิตทั่วแผ่นดินด้วยการเอาชนะทางยุทธศาสตร์กองทัพไม่เพลี่ยงพล้ำและอิด ล้า สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่พึงได้โดยสมบูรณ์ นี่คือยุทโธบายเชิงุรก เมื่อต้องใช้กำลังทหารควรยึดหลัก ถ้ามีกำลังมากกว่าข้าศึกสิบเท่า พึงล้อมเอา, มีกำลังมากกว่าข้าศึกห้าเท่า พึงบุกตีเอา, มีกำลังมากกว่าข้าศึกหนึ่งเท่า พึงกระหนาบเอา, มีกำลังเท่ากับข้าศึก พึงแบ่งแยกกำลังข้าศึก, มี กำลังน้อยกว่าข้าศึก พึงสร้างป้อมปราการ ป้องกันอย่างเข้มแข็ง และมีกำลังอ่อนแอกว่าข้าศึก พึงหลีกเลี่ยงการรบแตกหัก เพราะฉะนั้น กองทัพที่อ่อนแอหากดันทุรังตั้งรับป้องกัน ก็จะตกเป็นเชลยของกองทัพที่เข้มแข็งเกรียงไกร แม่ทัพเสมือนหนึ่งหลักชัยของประเทศชาติ หากแม่ทัพมีคุณสมบัติครบถ้วน ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถ ประเทศชาติย่อมเข้มแข็ง, หาก แม่ทัพขาดคุณสมบัติอันพึงมี ไม่ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดใจ ประเทศชาติย่อมอ่อนแอ กษัตริย์ (หัวหน้าแห่งกษัตริย์) มักนำความเสียหายมาสู่กองทัพด้วย พฤติกรรมสามประการ คือ พระองค์ไม่ทราบว่ากองทัพไม่อาจคืบหน้า แต่มีรับสั่งให้กองทัพคืบหน้า พระองค์ไม่ทรงทราบว่ากองทัพไม่อาจถอยหลัง แต่มีรับสั่งให้กองทัพถอยหลัง นี่คือการมัดกองทัพ พระองค์ไม่ทรงเข้าพระทัยกิจการทางทหาร แต่แทรกแทรงการบริหาร ทำให้แม่ทัพนายกองสับสนงุนงง พระองค์ไม่ทรงเข้าพระทัยการยืดหยุ่นพลิกแพลงทางทหาร แต่แทรกแทรงการบังคับบัญชา ทำให้แม่ทัพนายกองละล้าละลัง เมื่อแม่ทัพนายกองสับสนงุนงงและละล้าละลังเหล่าสามนตราชก็จะฉกฉวยโอกาสแข็ง ข้อ คุกคามอาณาจักรของพระองค์ นี่คือการสร้างความระส่ำระสายแก่กองทัพ อำนวยชัยแก่อริราชศัตรู วิธีหยั่งรู้ว่าฝ่ายใดชนะ มีอยู่ ห้า ประการคือ ฝ่ายใดรู้ว่าควรรบหรือไม่ควรรบ ฝ่ายนั้นชนะ, ฝ่ายใดรู้ว่าควรใช้กำลังทหารมากน้อยเท่าใด ฝ่ายนั้นชนะ, ฝ่ายใดเบื้องบนกับเบื้องล่างมีเจตนารมณ์ตรงกัน ฝ่ายนั้นชนะ, ฝ่าย ใดเตรียมพร้อมรับมือข้าศึกที่ไม่เตรียมพร้อม ฝ่ายนั้นชนะ และฝ่ายใดแม่ทัพมีสติปัญญา ความสามารถ อีกทั้งกษัตริย์ไม่แทรกแทรงกิจการของกองทัพ ฝ่ายนั้นชนะ นี่คือวิธีหยั่งรู้ชัยชนะ ห้า ประการ จึงกล่าวกันว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะทุกครั้ง, รู้เขาไม่รู้เรา รบชนะบ้างแพ้บ้าง, ไม่รู้เขาไม่รู้เรา รบทุกครั้งแพ้ทุกครั้ง
บทที่ 4 ลักษณะการยุทธนุภาพ แม่ทัพผู้สันทัดในการดำเนินสงคราม ก่อนอื่นจะต้องทำให้ฝ่ายตนเองตั้งอยู่ในฐานะที่ข้าศึกไม่อาจเอาชนะได้ เพื่อรอโอกาสที่ข้าศึกตกอยู่ในฐานะที่ฝ่ายตนเอาชนะได้, การที่ข้าศึกไม่สามารถเอาชนะเราได้นั้น ขึ้นอยู่กับเรา, การ ที่ข้าศึกตกอยู่ในฐานะที่เราเอาชนะเราได้นั้น อยู่ที่ข้าศึกเอง เพราะฉะนั้น ผู้สันทัดในการดำเนินสงคราม สามารถทำให้ฝ่ายตนตั้งอยู่ในข้าศึกไม่อาจเอาชนะได้ แต่ไม่สามารถทำให้ข้าศึกตกอยู่ในฐานะที่ฝ่ายตนเองเอาชนะได้เสอมไป จึงกล่าวกันว่า อันชัยชนะในสงครามนั้นอาจหยั่งรู้ได้แต่ไม่อาจสร้างขึ้นได้เสมอไป. เมื่อต้องการทำให้ฝ่ายตนอยู่ในฐานะที่ข้าศึกไม่อาจเอาชนะได้ (ในยามที่ยังเอาชนะข้าศึกไม่ได้) พึงตั้งรับป้องกัน ครั้นข้าศึกตกอยู่ในฐานะที่ฝ่ายเราเอาชนะได้แล้ว จึงบุกโจมตี พึงตั้งรับป้องกัน เพราะข้าศึกมีกำลังเหลือเฟือ พึงบุกโจมตี เพราะข้าศึกมีกำลังไม่พอ ผู้สันทัดในการตั้งรับป้องกัน จะสามารถอำพรางกำลังประหนึ่งเร้นกายใต้พสุธาชั้นเก้า ผู้สันทัดในการบุกโจมตี จะสามารถทุ่มกำลังประหนึ่งสายอสนีฟาดเปรี้ยงจากสรวงสวรรค์ชั้นเก้า จึงสามารถรักษากำลังฝ่ายตนไว้ช่วงชิงชัยชนะโดยสมบูรณ์ ผู้ที่สามารถหยั่งรู้ชัยชนะที่ใคร ๆ ก็รู้อยู่แล้ว มิใช่สุดยอดผู้สันทัดในการดำเนินสงคราม ผู้ชนะสงครามที่ชาวโลกต่างยกย่องสรรเสริญ ก็มิใช่สุดยอดผู้สันทัดในการดำเนินสงครามเช่นกัน ผู้ที่สามารถมองเห็นเดือนและตะวัน มิใช่ผู้ที่มีดวงตาแจ่มกระจ่างเสมอไป ผู้ที่ได้ยินเสียงฟ้าคำรณคำราม ก็มิใช่ผู้ที่มีโสตประสาทปราดเปรียวเสมอไป ผู้ที่ได้ชื่อว่าสันทัดการดำเนินสงครามอย่างแท้จริง มักรบชนะข้าศึกที่เอาชนะได้ง่ายเสมอ เพราะฉะนั้น ผู้สันทัดในการดำเนินสงคราม จึงชนะอย่างธรรมดาที่สุด ไม่มีชื่อเสียงในทางมีสติปัญญา และไม่มีความชอบในทางวีรอาจหาญ และดังนั้นจึงรบชนะแน่ย่อมไม่เกิดการพลิกผันเด็ดขาด ที่ว่ารบชนะไม่พลิกผัน ก็เพราะได้ดำเนินมาตรการที่ชนะแน่นอน เอาชนะข้าศึกที่ตกอยู่ในฐานะแพ้พ่ายแล้ว ผู้สันทัดในการดำเนินสงคราม จึงยืนอยู่บนจุดที่ไม่มีทางปราชัย และไม่พลาดโอกาสเอาชนะข้าศึกที่ตกอยู่ในฐานะปราชัยแล้ว จึงกล่าวกันว่า กองทัพผู้พิชิตชนะก่อนรบ กองทัพที่ปราชัยรบก่อน(พยายาม) เอาชนะ เพราะฉะนั้น ผู้สันทัดในการใช้กำลังทหาร ต้องบำเพ็ญมรรค (ปรับปรุงการปกครอง) รักษาเงื่อนไขพื้นฐาน (ในการชนะศึก) จึงจะสามารถกุมอำนาจตัดสินแพ้ชนะในศึกสงคราม เงื่อนไขพื้นฐานห้า ประการมีดังนี้ คือ “ขนาด (พื้นที่) หนึ่ง, ปริมาณ (ทรัพยากร) หนึ่ง, จำนวน (พล) หนึ่ง, ดุล (กำลัง) หนึ่ง, ชัยชนะ (ความได้เปรียบเสียเปรียบ) อีกหนึ่ง อาณาเขตทำให้เกิดการเปรียบเทียบขนาดพื้นที่, ขนาดพื้นที่ทำให้เกิดการเปรียบเทียบปริมาณทรัพยากร, ปริมาณทรัพยากรทำให้เกิดการเปรียบเทียบจำนวนพล, จำนวนพลทำให้เกิดการเปรียบเทียบดุลกำลัง และดุลกำลังทำให้เกิดการหยั่งรู้ผลแพ้ชนะของสงคราม” เพราะฉะนั้น กองทัพผู้พิชิตจึงเสมือนหนึ่งเอา “อี้” (ของหนัก) ไปชั่ง “จู”(ของเบา) ส่วนกองทัพที่ปราชัยไม่ต่างกับเอา “จู” ไปชั่ง “อี้” (24 จู = 1 ตำลึง, 2 ตำลึง = 1 อี้) การทำสงครามของผู้พิชิต จึงเปรียบเสมือนการปล่อยน้ำกักบนผาสูงพุ่งลงสู่หุบห้วยลึกพัน “เยิ่น” (1 เยิ่น = 8 ฟุต) นี่คือลักษณะการยุทธานุภาพแล
บทที่ 5 ยุทธานุภาพ การปกครองไพร่พลจำนวนมากให้ได้ดุจปกครองไพร่พลไม่กี่คน เป็นปัญหาการจัดอัตรากำลังพลตามลำดับชั้นอย่างรัดกุม, การ บังคับบัญชากองทัพใหญ่ทำศึกให้ได้ดุจบังคับบัญชาหน่วยทหารเล็กๆ ออกสู้รบ เป็นปัญหาการใช้สัญญาณต่าง ๆ (ธง ฆ้อง กลอง เขาควาย ฯลฯ) อย่างแจ่มชัดมีระเบียบวินัย, การนำทัพต้านการบุกโจม ตีของข้าศึกโดยไม่ปราชัย เป็นปัญหาการใช้ยุทธวิธีรบนอกแบบ และรบในแบบ (ฉี เจิ้ง) อย่างพลิกแพลง และการนำกองทัพโจมตีข้าศึกให้ได้ดุจใช้หินกระทบไข่ เป็นปัญหาการเลี่ยงจุดแข็งตีจุดอ่อนอย่างถูกเป้า โดยทั่วไป การสู้รบนั้น มักหักหาญซึ่งหน้าด้วยยุทธวิธีรบในแบบ และเอาชนะด้วยยุทธวิธีรบนอกแบบ ผู้สันทัดในการใช้ยุทธวิธีรบนอกแบบ จะสามารถพลิกแพลงยุทธวิธีการรบได้อย่างไม่อับจนดุจฟ้าดินไร้ขอบเขต ไม่สุดสิ้นดุจแม่น้ำลำธารไม่แห้งขอด จบแล้วเริ่มใหม่ดุจสุริยันจันทราตกแล้วขึ้นอีก ตายแล้วฟื้นชีพดุจฤดูกาลหมุนเวียนผันเปลี่ยน เสียง (ตามหลักปรัชญาเบญจธาตุ) มีเพียงห้า แต่หารผันแปรของเสียงนั้น มีมากจนเราไม่อาจฟังได้หมด, สี มีเพียงห้า แต่การเปลี่ยนแปรของสีนั้นมีมากจนเราไม่อาจทัศนาได้หมด และรสมีเพียงห้า แต่การเคล้าแปรของรสนั้นมีมากจนเราไม่อาจลิ้มชิมได้หมด ฉันใดฉันนั้น ยุทธวิธีการรบ มีเพียงการรบในแบบ และการรบนอกแบบ แต่ยุทธวิธีทั้งสองนี้ เปลี่ยนแปรไม่มีขอบเขตสิ้นสุด ให้กำเนิดซึ่งกันและกัน เป็นวัฏจักรที่ไร้ต้นไร้ปลาย ไม่มีผู้ใดสาวถึงเงื่อนงำของมันได้ สายน้ำเชี่ยวกราก ถึงกับซัดหินใหญ่เคลื่อนลอย เพราะ “อานุภาพ” ของความเร็ว นกเหยี่ยวเฉี่ยวโฉบ ถึงกับขย้ำเหยื่อแหลกลาญ เพราะรู้จัก “ประมาณ” ช่วง ระยะโจมตี เพราะฉะนั้นผู้สันทัดในการสู้รบจึงสามารถสร้างยุทธานุภาพด้วยความเร็วอันน่า สะพรึงกลัว โดยโจมตีในช่วงระยะสั้น ยุทธานุภาพคล้ายหน้าไม้ที่เหนี่ยวเต็มที่แล้ว การโจมตี(โดยประมาณช่วงระยะ) คล้ายเหนี่ยวไกหน้าไม้ ขณะที่โรมรันพันพันตู ต้องสู้รบในสภาพชุลมุนวุ่นวายโดยที่กองทหารไม่สับสน ต้องพลิกแพลงในสภาพอลวนโดยที่กองทหารไม่ปราชัย การสู้รบที่ดูคล้ายชุลมุนวุ่นวาย ต้องมาจากการรบอย่างมีระเบียบวินัย, อาการ ที่ดูคล้ายขลาดกลัว ต้องมาจากการรบอย่างกล้าหาญ และท่าทีดูคลายอ่อนเปลี้ย ต้องมาจากการรบอย่างเข้มแข็ง ความมีระเบียบวินัยหรือความชุลมุนวุ่นวาย ตัดสินกันที่การจัดกำลังพล, ความกล้าหาญหรือความขี้ขลาด ตัดสินกันที่ศักยภาพ (ถ้าสามารถสำแดงศักยภาพ ทหารที่ขี้ขลาดก็พลอยกล้าหาญไปด้วย), ความ เข้มแข็งหรือความอ่อนแอ ตัดสินกันที่กำลังและลักษณะกระบวนทัพ(ถ้าไม่เป็นกระบวน ถึงมีกำลังมากอ่อนแอ) ผู้ที่สันทัดในการบงการข้าศึก จะสามารถสร้าง “ลักษณ์” (สถานการณ์) ลวงให้ข้าศึกเคลื่อนไหว และใช้ผลประโยชน์ล่อให้ข้าศึกช่วงชิงตามที่ฝ่ายตนวางแผนเตรียมกำลังไว้พิฆาต แล้ว ผู้สันทัดในการดำเนินสงคราม จึงเสวงชัยโดยสร้างสภาวการณ์ที่ได้เปรียบอยู่เสมอ ไม่บ่นโทษนักรบไพร่พล และดังนั้น จึงรู้จักเลือกใช้คนโดยคล้อยตามสภาวการณ์ได้เปรียบที่สร้างขึ้น แม่ทัพที่รู้จักคล้อยตามภาวะการณ์ได้เปรียบที่สร้างขึ้นจะสามารถบัญชาการรบ ประหนึ่งงัดไม้ซุงหรือก้อนหินให้กลิ้งไป ธรรมชาติของไม้หรือก้อนหินนั้นถ้าอยู่ในที่ราบ จะนิ่งไม่ขยับเขยื้อน ถ้าอยู่ในที่ลาด จะกลิ้งลงต่ำ ถ้าเป็นเหลี่ยมแหลมจะหยุด ถ้ากลม ก็จะหมุน ผู้สันทัดในการทำสงครามจึงอยู่ในภาวะได้เปรียบ ประหนึ่งงัดหินกลมบนหน้าผาสูงลงเหวลึกพันเยิ่น (1 เยิ่น = 8 ฟุต) บดขยี้ทุกสิ่งแหลกลาญ นี่แลยุทธานุภาพ
บทที่ 6 จริงลวง ฝ่ายใดถึงสมรภูมิก่อนเป็นฝ่ายรอข้าศึก ฝ่ายนั้นไม่อิดโรย ฝ่ายใดถึงสมรภูมิทีหลังอีกทั้งต้องรบอย่างฉุกละหุก ฝ่ายนั้นอิดล้า กองทหารที่สันทัดในการสู้รบ จะเป็นฝ่ายบงการข้าศึก ไม่ยอมให้ข้าศึกบงการ พึงชักนำข้าศึกเข้าสู่พื้นที่กำหนด โดยหลอกล่อด้วยผลได้ และสกัดมิให้ข้าศึกเข้าสู่พื้นที่กำหนด โดยขัดขวางด้วยผลเสีย เพราะฉะนั้น ถึงข้าศึกกระปรี้กระเปร่า ก็ทำให้ข้าศึกอิดโรยได้ ข้าศึกอิ่มหนำ ก็ทำให้ข้าศึกหิวโหยได้ ข้าศึกตั้งมั่นในฐาน ก็ทำให้ข้าศึกเคลื่อนย้ายได้ เพราะเราโจมตีจุดที่ข้าศึกต้องกอบกู้ (ช่วย) กองทัพที่เดินทัพพันลี้ได้โดย ไม่อิดล้า ก็เพราะเดินทัพในเส้นทางที่ปลอดคน เวลาโจมตีเป็นต้องคว้าชัย ก็เพราะโจมตีในจุดที่ข้าศึกไม่สามารถป้องกัน ครั้นถึงคราวตั้งรับ สามารถตั้งรับอย่างมั่นคง ก็เพราะตั้งรับในจุดที่(เรารู้ว่า) ข้าศึกต้องโจมตีแน่ กองทัพที่สันทัดในการบุกโจมตี ข้าศึกไม่รู้ว่าจะป้องกันอย่างไร กองทัพที่สันทัดในการตั้งรับ ข้าศึกไม่รู้ว่าจะเข้าตีอย่างไร มันช่างวิเศษโดยแท้! วิเศษถึงขั้นไม่ปรากฏ “ลักษณ์” มันช่างอัศจรรย์โดยแท้ อัศจรรย์ถึงขั้นไม่ปรากฏ “เสียง” จึง สามารถกุมชะตากรรมของข้าศึกไว้ในกำมือ กองทัพที่บุกโจมตีโดยข้าศึกไม่อาจต้านรับได้ ก็เพราะบุกโจมตีจุดอ่อนเปราะของข้าศึก ครั้นถึงคราวถอย ข้าศึกไม่อาจตามตีได้ ก็เพราะถอยอย่างรวดเร็วกระทันหัน ดังนั้น หากเราต้องการรบ ข้าศึกแม้สร้างป้อมสูงขุดคูลึก ยังต้องละทิ้งที่มั่นออกมารบอยู่ดี เพราะเราโจมตีจุดที่ข้าศึกต้องกอบกู้ (ช่วย) หากเราไม่ต้องการรบ แม้ขีดเส้นตั้งรับบนจุดที่กำหนด ข้าศึกก็ไม่มารบด้วย เพราะเราเบนเป้าโจมตีของข้าศึก ดังนั้น เรากำหนด “ลักษณ์” ข้าศึกได้ แต่เราไร้ “ลักษณ์” จึง สามารถรวมกำลังฝ่ายเรา แบ่งแยกกำลังข้าศึก เรารวมเป็นหนึ่ง ข้าศึกแยกเป็นสิบ เท่ากับเราใช้สิบโจมตีหนึ่ง จึงสามารถสร้างภาวะการณ์ที่เรามีกำลังมาก, ข้าศึกมี กำลังน้อย ผู้ที่สันทัดในการใช้กำลังมากตีกำลังน้อย จะสามารถจัดกำลังฝ่ายข้าศึก เราต้องการรบกับข้าศึกที่ใด ข้าศึกไม่รู้ ไม่รู้จึงต้องป้องกันเกือบทุกแห่ง จุดที่ข้าศึกต้องป้องกันยิ่งมาก กำลังข้าศึกในแต่ละจุดที่เราต้องการโจมตี จะยิ่งน้อย เพราะฉะนั้น ข้าศึกป้องกันด้านหน้า กำลังทหารด้านหลังก็เบาบาง ป้องกันด้านหลัง กำลังทหารด้านหน้าก็เบาบาง ป้องกันปีกขวา กำลังทหารปีกซ้ายก็เบาบาง เมื่อต้องการป้องกันทุกแห่ง กำลังทหารทุกแห่งจึงเบาบาง กำลังทหาร(ข้าศึก) เบาบางอ่อนแอ เพราะต้องกันทุกแห่ง, กำลังทหาร (ฝ่ายเรา) หนาแน่นเข้มแข็ง ก็เพราะสามารถทำให้ข้าศึกต้องป้องกันทุกแห่ง เพราะฉะนั้น กองทหารที่สามารถคาดเวลาและสถานการณ์รับรู้ล่วงหน้าแม้จะอยู่ห่างไกลพันลี้ ก็สามารถทำศึกได้ ถ้าไม่สามารถคาดเวลาและสถานที่สู้รบล่วงหน้า ปีกซ้ายจะช่วยปีกขวาไม่ได้ ปีกขวาก็จะช่วยปีกซ้ายไม่ได้ ด้านหน้าก็จะช่วยด้านหลังไม่ได้ ด้านหลังก็ช่วยด้านหน้าไม่ได้ ยิ่งถ้าอยู่ไกลหลายลี้หรือหลายสิบลี้ จะทำอะไรได้ฤา? ข้าพเจ้า จะเห็นว่า แคว้นเยว่มีกำลังทหารมากมาย แต่หาเป็นประโยชน์กับการชิงชัยไม่! จึงกล่าวกันว่า ชัยชนะนั้นสร้างขึ้นได้ กองทัพข้าศึกมีกำลังมหาศาลก็จริง แต่เราสามารถทำให้กองทัพข้าศึกต่อกรกับเราไม่ได้ ดังนั้นต้องวิเคราะห์ เพื่อทราบจุดอ่อนจุดแข็งของแผนการ, ต้องเคลื่อนไหว เพื่อหยั่งรู้กฎเกณฑ์การเคลื่อนกำลังของข้าศึก, ต้องกำหนด “ลักษณ์” เพื่อทราบจุดเป็นจุดตาย และต้องสู้รบเพื่อหยั่งรู้จุดอ่อนจุดแข็งของทั้งสองฝ่าย สุดยอดแห่งการกำหนด “ลักษณ์” ก็คือทำให้ (ฝ่ายเรา) ไร้ “ลักษณ์” เมื่อไร้”ลักษณ์” ยอดจารชนไม่อาจสืบสภาพ ผู้มีสติปัญญาจึงไม่สามารถวางแผน (รบกับเรา) เพราะว่ากำหนด “ลักษณ์” จึงอำนวยชัยแก่นักรบไพร่พล แต่นักรบไพร่พลหาดูออกไม่ คนทั้งหลายล้วนทราบ “ลักษณ์” เหตุแห่งชัยของเรา แต่หารู้วิธีใช้ “ลักษณ์” แห่งชัยของเราไม่ ก็เพราะเรารบชนะโดยเปลี่ยน “ลักษณ์” พลิกแพลงไร้ขอบเขต ไม่ซ้ำ “ลักษณ์”เดิม “ลักษณ์” แห่ง กองทัพคล้ายน้ำ น้ำไหลโดยหลีกที่สูงลงสู่ที่ต่ำ กอทัพชนะโดยเลี่ยงจุดแข็งตีจุดอ่อน น้ำไหลตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของข้าศึก คือกองทัพแห่งเทพ ธาตุทั้งห้าไม่มีธาตุใดชนะเสนมอ (ธาตุทั้งห้าจะให้กำเนิดและข่มซึ่งกันและกัน) สี่ฤดูหมุนเวียนเคลื่อนคลาด กลางวันมีสั้นมียาว พรจันทร์มีเต็มมีเว้า บที่ 7 การสัประยุทธ์ ซุนวูกล่าวว่า อันหลักการทำศึก เมื่อแม่ทัพขุนทหารได้รับพระบรมราชโองการจากพระเจ้าแผ่นดินให้ระดมเกณฑ์ไพร่ พล จัดตั้งเป็นกองทัพ แลยกตั้งค่ายประจัญหน้าข้าศึก ขั้นตอนนี้หามีสิ่งใดยากเกินกว่าการชิงความได้เปรียบไม่ แลเรื่องยากที่สุดในการชิงความได้เปรียบคือ ต้องแปรเส้นทางที่อ้อมที่วกวนให้เป็นทางลัด แปรความด้อยเปรียบต่าง ๆให้เป็นความได้เปรียบ ดังนั้น หากแสร้งเดินทางอ้อม แลใช้ผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ เข้าล่อใจข้าศึกได้ ก็ย่อมไปถึงที่หมายได้เร็วกว่าข้าศึก ทั้งที่ออกเดินทางทีหลัง นี่แหละคือการรู้จักแปรทางอ้อมให้เป็นทางลัด ดังนั้น การสัประยุทธ์จึงมีทั้งแง่ได้เปรียบและแง่ที่อันตราย หากให้ทหารทั้งกองทัพแบกนำยุทธสัมภาระทั้งหมดเพื่อเข้าชิงยึดชัยภูมิที่ได้ เปรียบ ก็คงไม่อาจไปถึงที่หมายตามกำหนดเวลาได้แต่ถ้าปลดยุทธสัมภาระทิ้งไป ก็อาจสูญเสียยุทธสัมภาระเหล่านี้ไป ด้วยเหตุนี้ การให้ทหารถอดเสื้อเกราะเร่งรุดเดินทัพเป็นทวีคูณทั้งวันทั้งคืนโดยมิหยุด พัก หากเป็นการเดินทัพเพื่อไปชิงยึดชัยภูมิที่ได้เปรียบที่อยู่ไกลออกไปร้อยลี้ แม่ทัพทั้งสามทัพ (ทัพหน้า ทัพหลวง และทัพหลัง) ก็อาจตกเป็นเชลยได้ด้วยว่าพวกทหารที่แข็งแรงก็จะไปถึงที่หมายก่อน ส่วนพวกที่อ่อนแอก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ซึ่งจะมีกำลังทหารเพียงหนึ่งในสิบเท่านั้นที่จะไปถึงที่หมายได้ หากเดินทัพไปถึงชัยภูมิที่ได้เปรียบซึ่งอยู่ไกลออกไปห้าสิบลี้ แม่ทัพทัพหน้าอาจต้องปราชัย ด้วยว่ามีกำลังทหารไปถึงที่หมายเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น และหากเดินทัพไปชิงชัยภูมิที่ได้เปรียบซึ่งอยู่ไกลออกไปสามสิบลี้ ก็จะมีกำลังทหารเพียงสองในสามที่ไปถึงที่หมาย ดังนั้นกองทัพที่ไม่มียุทธสัมภาระ ไม่มีเสบียงกรัง และไม่มียุทธปัจจัยอื่นๆ จึงไม่อาจอยู่รอดได้ ฉะนั้น หากเราไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายทางยุทธศาสตร์ของบรรดาแว่นแคว้นต่างๆ เราก็ไม่อาจเจริญสัมพันธไมตรีด้วยได้ หากเราไม่ค้นเคยกับสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา หุบเหว ที่ลุ่มดอน ห้วยหนองคลองบึง เราก็ไม่สามารถเดินทัพได้ และหากเราไม่ได้คนในท้องถิ่นนำทาง เราก็จะไม่รู้ภูมิประเทศที่ได้เปรียบ ดังนั้น การทำสงคราวจะประสบชัยชนะได้ ก็ด้วยอาศัยเล่ห์กลอุบาย คือพิจารณาว่ามีความได้เปรียบหรือไม่ แล้วจึงค่อยปฏิบัติการ และปรับเปลี่ยนยุทธวิธีด้วยการกระจายหรือรวมกำลังพล ดังนั้น เวลาเดินทัพจะต้องไปได้รวดเร็วดุจลมกรด หยุดทัพได้สงบนิ่งดุจไม่ในพงไพร รุกตีต้องฮือโหมดุจไฟลาม ตั้งรับได้มั่นคงดุจขุนเขา ซุ่มซ่อนได้ดุจเมฆดำคลุมฟ้า และบุกตะลุยศึกได้ฉับไวดุจสายฟ้าฟาด เมื่อเข้าปล้นเมืองได้สินสงครามมา จึงต้องนำมาแบ่งให้แก่เหล่าทหารหาญ และเมื่อยึดขยายดินแดนได้ ก็ต้องแบ่งปันแก่เหล่าแม่ทัพนายกอง ต้องชั่งใจตรองดูผลได้ผลเสียให้ถ่องแท้ก่อน จึงค่อยปฏิบัติการ ผู้ใดเข้าใจการแปรทางอ้อมให้เป็นทางลัดก็จักชนะ นี่คือหลักของการสัประยุทธ์ ตำราพิชัยสงครามโบราณกล่าวว่า “ด้วยว่าเมื่อรบกัน จะสั่งการด้วยวาจาคงไม่ได้ยิน จำต้องตีฆ้องกลอง แลจะใช้สัญญาณมือสั่งการ ก็คงไม่เห็น จำต้องโบกธงแทน” ดัง นั้น หากเป็นการรบในเวลากลางคืน ส่วนมากจะใช้ตีฆ้องกลอง แต่หากเป็นการรบในเวลากลางวัน ก็จะใช้โบกธงฆ้องกลองและธงทิว จึงมีไว้เพื่อให้กองทัพปฏิบัติการให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อทหารทั้งกองทัพต้องปฏิบัติการให้เป็นหนึ่งเดียวกัน พวกบ้าบิ่นที่กล้าตายย่อมจะบุกไปตามลำพังไม่ได้ ส่วนพวกที่มีใจขาดกลัวก็จะถอยหนีตามลำพังไม่ได้เช่นกัน นี่แหละคือ วิธีการบัญชาการรบในกองทัพขนาดใหญ่ เราต้องทำลายขวัญและกองทัพข้าศึก และสั่นคลอนการตัดสินใจของแม่ทัพฝ่ายข้าศึก กองทัพเมื่อแรกรบจะมีขวัญสู้รบเต็มเปี่ยม แต่พอผ่านไปสักช่วงหนึ่งขวัญสู้รบก็จะค่อย ๆ ลดหย่อนลงเรื่อย ๆ และสุดท้ายจะไม่มีขวัญสู้รบเหลืออยู่ ผู้ช่ำชองการสงคราม จึงพึงหลีกเลี่ยงข้าศึกที่มีขวัญสู้รบดีเยี่ยม ให้รอจนกว่าข้าศึกจะขวัญตกและหมดไป จึงค่อยเข้าตี นี่คือวิธีควบคุมขวัญทหาร เราจะใช้ทหารที่มีระเบียบวินัยดีไปโจมตีข้าศึกที่แตกแถวสับสนอลหม่าน เราจะใช้ทหารที่ใจเย็นสุขุมโจมตีข้าศึกที่วู่วามบุ่มบ่าม นี่คือวิธีคุมจิตใจทหาร เราจะใช้สมรภูมิที่อยู่ใกล้ รับมือกับข้าศึกทีเดินทางมาไกล และเราจะใช้ทหารที่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่แล้ว รับมือกับข้าศึกที่เหนื่อยล้า ทั้งเราจะใช้ทหารที่อิ่มท้อง ไปโจมตีข้าศึกที่หิวโหย นี่คือวิธีคุมกำลังรบของกองทัพ เราจะไม่เข้าตีสกัดข้าศึกที่ตั้งขบวนทัพและปักธงทิวไว้อย่างเป็นระเบียบ เราจะไม่จู่โจมข้าศึกที่ตั้งค่ายอย่างแน่นหนาดูน่าเกรงขาม นี่คือวิธีพลิกแพลงกลยุทธ์ หลักการทำสงครามคือ เราจะไม่แหงนคอตั้งบ่าบุกขึ้นไปตีข้าศึกที่ยึดที่มั่นบนภู เราจะไม่บุกตีข้าศึกที่หันหลังอิงเนินเขา เราจะไม่ไล่ตามตีข้าศึกที่ทำทีแสร้งแพ้ล่าถอย เราจะไม่โจมตีกำลังที่เข้มแข็งของข้าศึก เราจะไม่ไปสนใจกองกำลังที่ข้าศึกส่งมาล่อ เราจะไม่ไปตีสกัดข้าศึกที่กำลังถอนกลับประเทศตน การล้อมข้าศึกต้องเปิดช่องว่างไว้ ถ้าข้าศึกจนตรอก จงอย่ารุกบีบกระชั้นจนเกินไป เหล่านี้คือ หลักการสัประยุทธ์
บทที่ 8 ความผันแปร 9 ประการ ซุนวูกล่าวว่า อันหลักการทำศึกนั้น เมื่อแม่ทัพขุนทหารได้รับพระราชโองการจากพระเจ้าแผ่นดินระดมเกณฑ์ทหารจัด ตั้งเป็นกองทัพ สะสมยุทธปัจจัย “ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นเส้นทางผ่าน” อย่ารีรออ้อยอิ่งใน “พื้นที่ที่ไปมาไม่สะดวก ขนส่งเสบียงลำบาก” หากเข้าไปใน “พื้นที่ที่ข้าศึกล้อมไว้” คงรีบหาทางหนีออกมาโดยเร็ว และเมื่ออยู่ใน “พื้นที่ไม่มีทางรอด” ก็ ต้องสู้ยิบตาเพื่อเอาตัวรอด โดยบางครั้งจะไม่เดินเส้นทางบางทางที่หน้าจะเดิน บางครั้งแม้เจอข้าศึกที่ง่ายก็จะไม่ตี บางครั้งก็ไม่เข้าตีเมืองบางเมือง แม้จะยึดตีได้ง่าย บางครั้งจะไม่แย่งชิงพื้นที่บางแห่ง และบางครั้งก็จะไม่รับสนองพระราชโองการจากพระเจ้าแผ่นดิน หากเห็นว่าจะไม่ก่อผลดีต่อการสงคราม ฉะนั้น แม่ทัพผู้ช่ำชองที่รู้จักใช้ความผันแปรเหล่านี้ ถือว่าเป็นผู้รู้แจ้งในหลักการทำสงคราม แต่แม่ทัพผู้ไม่รู้จักใช้ความผันแปรเหล่านี้ แม้จะรู้สภาพภูมิประเทศดี ก็ไม่อาจใช้ให้เกิดความได้เปรียบได้ ถ้าแม่ทัพนำทัพโดยไม่เข้าใจความผันแปรเหล่านี้ แม้จะรู้ความได้เปรียบต่าง ๆดี ก็ไม่อาจบัญชากองทัพได้มีประสิทธิภาพ แม่ทัพที่ฉลาดต้องใคร่ครวญปัญหาโดยคำนึงถึงผลดีและผลเสียไปพร้อมกัน เมื่ออยู่ในสภาพที่เสียเปรียบ ต้องทบทวนให้เห็นความได้เปรียบในนั้น จะได้ช่วยสร้างความมั่นใจ เพื่อให้ภาระกิจสำคัญดำเนินไปได้โดยราบรื่น และเมื่ออยู่ในสภาพได้เปรียบ ก็ต้องทบทวนให้เห็นความเสียเปรียบจะได้ขจัดเพทภัยอันอาจเกิดขึ้นได้ทันท่วง ที จงใช้เรื่องที่แคว้นอื่น ๆ กลัว ข่มให้พวกเขายอมสยบต่อเรา จงใช้ทุกวิถีทาง ทำให้แคว้นอื่นทะเลาะหันให้วุ่นวาย และจงใช้ผลประโยชน์เข้าล่อ ให้แคว้นอื่นฝักใฝ่อยู่ข้างเรา หลักการทำศึกนั้น จงอย่าวางใจว่า ข้าศึกจะไม่มาราวี เราต้องเตรียมพร้อมไว้รับมือ และจงอย่าวางใจว่า ข้าศึกจะไม่เข้าโจมตีเรา เราต้องมีกำลังแข็งแกร่งพอที่ข้าศึกจะสู้ไม่ได้ ผู้เป็นแม่ทัพย่อมมีจุดอ่อนที่ถึงตายอยู่ 5 ข้อ คือ ผู้คิดแต่สู้ตายฝ่ายเดียวอาจถูกลวงไปฆ่าได้ ผู้ที่รักตัวกลัวตาย อาจตกเป็นเชลยผู้ที่ใจร้อนวู่วามโกรธง่าย อาจหลงกลแผนยั่วยุของข้าศึกได้ ผู้ถือตนบริสุทธิ์รักชื่อเสียง อาจตกหลุมพรางการใส่ไคล้ของข้าศึกได้ ผู้ยึดถือแต่ “รักราษฎร” ก็ อาจยุ่งยากใจ ทั้งห้าข้อนี้เป็นเรื่องที่แม่ทัพกระทำผิดพลาดได้ง่าย และเป็นผลร้ายต่อการรบด้วย กองทัพจะพินาศย่อยยับ แม่ทัพจะถูกฆ่า ก็ล้วนแต่เกิดจากจุดอ่อนทั้งห้าข้อ จึงต้องพิเคราะห์ให้ดี
บทที่ 9 การเดินทัพ ซุนวูกล่าวว่า การจัดวางกำลังทหารและสังเกตการณ์สภาพข้าศึกในภูมิประเทศลักษณะต่าง ๆ ควรใส่ใจในเรื่องต่อไปนี้ เมื่อจะยกทัพข้ามเขา จะต้องเดินใกล้หุบเขาที่มีแหล่งน้ำและหญ้า ต้องตั้งทัพบนเนินสูงที่รุกรับและจัดวางกำลังรบได้ อย่ารุกขึ้นไปยึดเนินสูงที่ข้าศึกยึดไว้ก่อน นี่คือการจัดวางกำลังรบในพื้นที่ที่เป็นเนินเขา เมื่อจะยกทัพข้ามแม่น้ำ ควรตั้งทัพให้ห่างไกลจากแม่น้ำ เมื่อข้าศึกยกทัพข้ามแม่น้ำมา จงอย่าลงไปรับข้าศึกในน้ำ ให้รอจนกว่าข้าศึกข้ามน้ำไปได้ครึ่งเดียวจึงค่อยเข้าตี เช่นนี้จะได้ผลดีกว่า ถ้าต้องการสู้รบขั้นแตกหักกับข้าศึก จงอย่าตั้งขบวนทัพเลียบตามริมแม่น้ำ แม้การตั้งค่ายในบริเวณแถบแม่น้ำ ก็ต้องตั้งไว้บนเนินสูง อย่าหันหน้าเข้าหาสายน้ำ นี่คือการจัดกำลังรบในพื้นที่ที่มีแม่น้ำ เมื่อจะยกทัพผ่านเขตที่เป็นหนองบึง ต้องรีบผ่านไปโดยเร็ว อย่ารีรออ้อยอิ่ง ถ้าพบข้าศึกในพื้นที่ที่เป็นหนองบึง จะต้องเข้ายึดพื้นที่ที่มีพืชน้ำขึ้นงอกงาม และต้องหันหลังอิงป่าไว้ นี่คือการจัดการวางกำลังรบในพื้นที่ที่เป็นหนองบึง ถ้าต้องรบในที่ราบ ควรวางกำลังทหารไว้ในที่ที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง โดยให้กำลังปีกสำคัญอิงที่สูง ในลักษณะด้านหน้าเป็นพื้นที่ต่ำ ด้านหลังเป็นพื้นที่สูง นี่คือการจัดวางกำลังรบในที่ราบ ข้อดีของหลักการจัดวางกำลังรบทั้งสี่แบบ ดังกล่าวมานี้ คือ เหตุผลที่พระเจ้าหวงตี้ทรงมีชัยเหนือกษัตริย์อื่น ๆ ทั้งสี่ทิศ การตั้งทัพชอบที่ตั้งที่ตั้งจะอยู่ในที่สูงพื้นแห้ง ไม่พึงตั้งในที่ต่ำพื้นเปียกแฉะ ต้องหันหน้าไปยังทิศที่มีทัศนะวิสัยดี (ทิศอาคเนย์) หลีกเลียงทิศที่มีทัศนะวิสัยไม่ดี (ทิศพายัพ) และพึงตั้งทัพใกล้ที่มีแหล่งน้ำมีหญ้าและพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ เพื่อว่าทหารในกองทัพจะได้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่นนี้ จึงเป็นหลักประกันของชัยชนะ การตั้งทัพบนสันเขาหรือทำนบกั้นน้ำ จะต้องยึดด้านที่มีทัศนะวิสัยดี และวางกำลังปีกสำคัญอิงไว้ มาตรการที่มีผลดีเหล่านี้เป็นการใช้ลักษณะภูมิประเทศที่ได้เปรียบเทียบมา เป็นส่วนหนุนช่วย เมื่อมีฝนตกชุกที่ต้นน้ำ จนอาจมีน้ำป่าไหลหลากลงมาได้อย่างกระทันหัน ห้ามลงลุยน้ำข้ามไปควรรอให้กระแสน้ำมีระดับแน่นอนเสียก่อน จึงค่อยลงลุยน้ำข้ามไปได้ เมื่อยกทัพผ่านภูมิประเทศที่มีลักษณะ เช่น เป็นหุบห้วยในซอกเขา เป็นที่ที่มีผาสูงล้อมรอบเหมือนบ่อลึก เป็นที่ที่มีพงทึบล้อมรอบเป็นที่รกชัฎเต็มไปด้วยขวากหนามเหมือนตาข่าย เป็นที่หล่มเต็มไปด้วยโคลนเลน และเป็นทางแคบมีหุบเหวลึก จะต้องรีบหลีกห่างโดยเร็ว อย่าได้กรายเข้าไปใกล้ เราควรหลีกห่างให้ไกลจากภูมิประเทศลักษณะนี้ ปล่อยข้าศึกให้เข้าไปใกล้ และเราควรหันหน้าเข้าภูมิประเทศลักษณะนี้ ให้ข้าศึกหันหลังอิงมัน หากสองข้างทางที่ยกทัพผ่านทางแคบมีหน้าผาสูงชัน มีห้วยหนองคลองบึง มีสายน้ำไหลผ่านหลายสาย มีพงอ้อกอแขมขึ้นเต็มไปหมด มีแนวป่า และแมกไม้ขึ้นหนาทึบ จะต้องสำรวจดูภูมิประเทศเหล่านี้หลายๆ ครั้งด้วยความระมัดระวัง เพราะข้าศึกอาจวางกองสอดแนมซุ่มอยู่ตามภูมิประเทศดังกล่าวได้ เมื่อข้าศึกยกทัพประชิดแล้ว แต่ยังคงสงบนิ่ง แสดงว่าข้าศึกยึดชัยภูมิที่ได้เปรียบไว้แล้วเมื่อข้าศึกมาท้ารบทั้งที่อยู่ ห่างไกลจากเรามาก แสดงว่าข้าศึกคิดล่อให้เราบุกออกไป ถ้าข้าศึกตั้งทัพอยู่ในที่ราบโล่ง แสดงว่าข้าศึกย่อมคิดว่ามีความได้เปรียบอยู่ หากมีแมกไม้ไหวโยก แสดงว่าข้าศึกอำพรางตัวยกกำลังมา ถ้าเห็นกับดักมากมายอยู่ในพงหญ้า แสดงว่าข้าศึกวางกลลวงไว้ถ้าเห็นนกกาแตกฮือบินหนี แสดงว่ามีข้าศึกซ่อนตัวอยู่ข้างล่าง ถ้าเห็นฝูงสัตว์แตกตื่นวิ่งหนี แสดงว่าข้าศึกยกทัพใหญ่มาราวี ถ้าเห็นฝุ่นฟุ้งตลบลอยสูงแสดงว่าข้าศึกยกขบวนรถศึกมา ถ้าเห็นฝุ่นตลบต่ำและกระจายเป็นบริเวณกว้างแสดงว่าข้าศึกยกพลเดินเท้ามา ถ้าเห็นฝุ่นลอยฟุ้งกระจัดกระจาย แสดงว่าข้าศึกกำลังลากกิ่งไม้เดิน ถ้าเห็นฝุ่นเพียงบางเบา ลอยขึ้นๆ ลง ๆ แสดงว่าข้าศึกกำลังตั้งค่าย ถ้าฝ่ายข้าศึกส่งคนมาเจรจาด้วยวาจาอ่อนน้อมถ่อมตน แต่ทางกองทัพกลับเร่งเสริมกำลังรบแสดงว่า ข้าศึกเตรียมบุกโจมตี ถ้าตัวแทนฝ่ายข้าศึกเจรจาด้วยวาจาโอหังแข็งกร้าว และทางกองทัพก็แสดงท่าทีจะบุกเข้ามา แสดงว่าข้าศึกกำลังเตรียมถอยหนี ถ้าข้าศึกแยกกองรถศึกออกปีกสองข้างแสดงว่ากำลังจัดขบวนทัพเตรียมรบแตกหักกับ ฝ่ายเรา ถ้าข้าศึกมาขอเจรจาสงบศึกทั้งที่ยังไม่ได้รับความสูญเสียและไม่มีเอกสาร รับรองเป็นกิจจะลักษณะ แสดงว่าข้าศึกมีแผนลวงซ่อนอยู่ ถ้าข้าศึกวิ่งไปมาพร้อมตั้งแถวจัดขบวน แสดงว่าข้าศึกกำลังรอรบกับฝ่ายเราให้แตกหัก ถ้าข้าศึกถอยบ้างบุกบ้าง แสดงว่าข้าศึกต้องการล่อหลอกให้เราหลงกล ถ้าข้าศึกยืนเอาด้ามอาวุธยันกาย แสดงว่าข้าศึกกำลังหิวโหย ถ้าข้าศึกไปตักน้ำแล้วตัวเองรีบดื่มกิน แสดงว่าข้าศึกกำลังกระหายน้ำจัด ถ้าข้าศึกไม่บุกเข้าชิงชัยทั้งที่เห็นความได้เปรียบ แสดงว่าข้าศึกอิดโรยอ่อนล้า ถ้ามีนกกาจับกลุ่มบินวนอยู่เหนือค่ายข้าศึก แสดงว่าค่ายนั้นเป็นค่ายร้าง ถ้าข้าศึกร้องตระหนกตกใจในยามกลางคืน แสดงว่าข้าศึกผวาหวาดกลัว ถ้าข้าศึกในค่ายชุลมุนวุ่นวาย แสดงว่าแม่ทัพนายกองไม่เป็นที่เคารพยำเกรงของเหล่าทหาร ถ้าเห็นธงทัพข้าศึกโบกไหวไม่เป็นระเบียบ แสดงว่าข้าศึกได้แตกแถวชุลมุน ถ้านายทหารของข้าศึกโมโหโกรธกริ้วง่าย แสดงว่าเหล่าทหารเหนื่อยอ่อนไม่มีเรียวแรง ถ้าข้าศึกเอาเสบียงข้าวมาเลี้ยงม้า ฆ่าม้ากินเก็บภาชนะหุงต้มขึ้น และไม่ยกกลับเข้าค่ายแสดงว่าข้าศึกกำลังจนตรอกและเตรียมตีฝ่าวงล้อมอย่างไม่ คิดชีวิต ถ้าแม่ทัพนายกองของข้าศึกพูดจากับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างนบนอบขาดความสง่า ผ่าเผย แสดงว่าผู้นั้นไม่เป็นที่เคารพเสื่อมใสของเหล่าทหาร ถ้าแม่ทัพนายกองของข้าศึกต้องคอยปูนบำเหน็จรางวัลให้ทหารอยู่เสมอ แสดงว่าเขาจนปัญญาที่จะบังคับบัญชากองทัพ ถ้าแม่ทัพนายกองของข้าศึกต้องคอยลงโทษทหารอยู่เสมอ แสดงว่าข้าศึกกำลังเข้าตาจนตกอยู่ในสภาพลำบาก ถ้านายทหารแสดงความเหี้ยมโหดต่อทหาร แต่ต่อมาก็กลับหวาดระแวงพวกเขา แสดงว่าเขาเป็นแม่ทัพนายกองที่ไม่ชาญฉลาดที่สุด ถ้าข้าศึกส่งของกำนัลมาเพื่อขอเจรจา แสดงว่าข้าศึกต้องการพักรบ เพื่อให้ทหารได้พักผ่อน ถ้าข้าศึกยกทัพมาตั้งประจัญหน้ากับเราอย่างดุดัน แต่ตั้งอยู่นานก็ไม่ยอมออกรบ และไม่ยอมถอย กลับ เราจะต้องพิจารณาดูจุดประสงค์ของข้าศึกด้วยความระมัดระวัง อันการรบทัพจับศึกนั้น ไม่ใช่ว่ามีกำลังทหารมากแล้วจะดีเสมอไป ขอเพียงไม่ผลีผลามบุ่มบ่ามบุกเข้าตีข้าศึก แต่ให้รวบรวมกำลังทหาร พิจารณาสภาพของข้าศึก และสร้างความสามัคคีขึ้นในหมู่ทหาร ก็เพียงพอแล้ว แม่ทัพที่ไม่มีความคิดและประมาทข้าศึก จะต้องตกเป็นเชลยข้าศึกแน่ หากทำการลงโทษทหารทั้งที่พวกเขายังไม่เคารพนับถือในตัวผู้บังคับบัญชาแล้ว ก็จะใช้พวกเขาเกิดความกระด้างกระเดื่อง ซึ่งยากแก่การบังคับบัญชา และหากไม่มีการลงโทษตามวินัยเมื่อทหารมีความเคารพนับถือในตัวผู้บังคับบัญชา แล้ว ก็จะใช้พวกเขาออกรบไม่ได้ ดังนั้น ถ้าเราต้องการให้ทหารทั้งกองทัพมีความพร้อมเพรียงกัน เราต้องเอาชนะใจพวกเขาด้วยความเมตตากรุณาควบคู่ไปกับการใช้วินัยทหารอย่าง เฉียบขาด เช่นนี้ จึงจะเป็นที่ยำเกรงและรักใคร่ของทหารทุกคน หากปกติแม่ทัพสามารถสั่งสอนให้ทหารปฏิบัติตามคำสั่ง ได้อย่างเคร่งครัด ทหารก็จะเคยชินกับการปฏิบัติตามคำสั่ง เมื่อคำสั่งของแม่ทัพได้รับการปฏิบัติตามอยางเคร่งครัดเป็นปกติวิสัยแล้ว ย่อมแสดงว่าแม่ทัพและเหล่าทหารเข้ากันได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
บทที่ 10 ลักษณะภูมิประเทศ ซุนวูกล่าวว่า ลักษณะภูมิประเทศมีด้วยกันทั้งหมดหกลักษณะคือ พื้นที่ที่ไปมาสะดวกทั้งสองฝ่าย พื้นที่ที่เข้าง่ายออกยาก พื้นที่ที่รุกรบไม่สะดวกทั้งสองฝ่าย พื้นที่ที่เป็นช่องแคบ พื้นที่ที่สำคัญอันตรายและพื้นที่ห่างไกล พื้นที่ไปมาสะดวกทั้งสองฝ่าย หมายถึงพื้นที่ที่ฝ่ายเราเข้าไปได้ ฝ่ายข้าศึกก็เข้าไปได้ ถ้าอยู่ในลักษณะพื้นที่นี้ ควรจะยึดที่สูงมองเห็นได้กว้างไกล และทางที่ส่งกำลังบำรุงได้สะดวกไว้ก่อน จึงจะได้เปรียบในการรบ พื้นที่ที่เข้าง่ายออกยาก หมายถึงพื้นที่ที่รุกเข้าไปง่าย แต่ถอยกลับออกมายาก ถ้าอยู่ในพื้นที่ลักษณะนี้ และข้าศึกไม่ได้เตรียมพร้อมป้องกัน ก็สามารถจู่โจมเอาชนะได้ แต่ถ้าข้าศึกมีการเตรียมพร้อมป้องกันไว้ การเข้าจู่โจมจะไม่ชนะและถอยกลับยาก เช่นนี้เราจะเสียเปรียบมาก พื้นที่ที่รุกรบไม่สะดวกทั้งสองฝ่าย หมายถึงพื้นที่ที่ทั้งฝ่ายเราและฝ้ายข้าศึก ต่างรุกไม่สะดวกด้วยกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งหากอยู่ในพื้นที่ลักษณะนี้ แม้ข้าศึกจะมาหลอกล่อ ก็จงอย่ารุกไล่ตามไป หากแต่ควรแสร้งแพ้ถอยหนี ล่อให้กำลังข้าศึกไล่ตามมาได้ครึ่งหนึ่ง แล้วจึงหวนกลับเข้าตี เช่นนี้เราจึงจะได้เปรียบ พื้นที่ที่เป็นช่องแคบ เราควรเข้ายึดพื้นที่ลักษณะนี้ไว้ก่อน และวางกำลังทหารปิดปากทางไว้ให้แน่น รอข้าศึกยกกำลังมา แต่ถ้าข้าศึกชิงยึดช่องแคบได้ก่อน และวางกำลังทหารป้องกันปากทางไว้อย่างแข็งแรง เราก็จะไม่เข้าตีหากข้าศึกไม่ได้วางทหารป้องกันไว้ ก็ให้เข้าตีได้ พื้นที่ที่ห่างไกล ถ้าทั้งสองฝ่ายมีกำลังพอ ๆ กันก็ไม่ควรจะไปท้ารบหรือฝืนรบด้วย เพราะจะเสียเปรียบข้าศึก ที่กล่าวมาทั้งหกข้อนี้ คือหลักการการใช้ลักษณะภูมิประเทศให้เกิดประโยชน์ เป็นภาระหน้าที่อันสำคัญยิ่งของผู้เป็นแม่ทัพ ที่จะต้องศึกษาพิเคราะห์อย่างจริงจัง ในการรบทัพจับศึกนั้น มีเหตุแห่งความปราชัยอยู่หกประการคือ มุทะลุ หนึ่ง หย่อนยานหนึ่ง อ่อนแอหนึ่ง ขัดคำสั่งหนึ่ง ขาดวินัยหนึ่ง คาดการณ์ผิดหนึ่ง เหตุแห่งความปราชัยทั้งหกประการนี้ มิใช่เป็นภัยพิบัติอันเกิดจากสภาพลมฟ้าอากาศและภูมิประเทศ หากแต่เป็นความผิดพลาดของผู้เป็นแม่ทัพ การใช้กำลังรบแบบหนึ่งต่อสิบในขณะที่ฝ่ายเรากับข้าศึกมีกำลังพลพอ ๆ และไม่ได้เสียเปรียบทางด้านภูมิประเทศ ซึ่งจะต้องพ่ายแพ้แน่เช่นนี้เรียกว่า “มุทะลุ” ทหารมีอาวุธดีและได้รับการฝึกมาอย่างดี แต่นายทหารอ่อนแอ การบังคับบัญชาทหารก็ย่อมจะต้องหย่อนยานด้วย เช่นนี้เรียกว่า”หย่อนยาน” นายทหารเก่งกล้า แต่ทหารอ่อนแอ ย่อมจะทำให้กำลังรบอ่อนด้อยไปด้วย เช่นนี้เรียกว่า “อ่อนแอ” แม่ ทัพชั้นรอง ๆ ไปมีความขุ่นเคือง ไม่ยอมฟังคำสั่งของแม่ทัพ พอพบข้าศึกก็จะนำทหารออกไปรบโดยพละการ ผู้เป็นแม่ทัพก็เข้าควบคุมพวกเขาไม่ได้ จึงย่อมต้องแพ้พังทลาย เช่นนี้เรียกว่า “ขัดคำสั่ง” แม่ทัพอ่อนแอ ไม่มีบารมี ไม่เด็ดขาด และอบรมทหารไม่ดี นายทหารกับไพร่พลมึนตึงต่อกันจัดขบวนแถวสับสนไม่เป็นระเบียบ เช่นนี้เรียกว่า “ขาดวินัย” แม่ ทัพคาดการณ์สภาพข้าศึกผิดพลาด ใช้กำลังน้อยและอ่อนแอกว่าเข้าตีข้าศึกที่มีกำลังมากกว่าและเข้มแข็งกว่า และไม่เลือกทหารชั้นเยี่ยมไว้เป็นกองหน้า ซึ่งย่อมจะต้องพ่ายแพ้แน่ เช่นนี้เรียกว่า “คาดการณ์ผิด” เหตุ ทั้งหกประการคือ สาเหตุที่ก่อให้เกิดความปราชัย และเป็นภาระหน้าที่อันสำคัญยิ่งของผู้เป็นแม่ทัพ ที่จะต้องศึกษาพิเคราะห์อย่างจริงจัง ลักษณะภูมิประเทศเป็นเพียงเงื่อนไขเสริมในการรบเท่านั้น แต่การพิเคราะห์สภาพข้าศึกเพื่อช่วงชิงเอาชัยชนะ การสำรวจลักษณะภูมิประเทศว่าอันตรายหรือปลอดภัย และการคำนึงถึงเสันทางการเดินทัพว่าใกล้หรือไกลเพียงใดต่างหากที่เป็นสิ่ง ที่แม่ทัพผู้ชาญฉลาดจะต้องยึดกุมให้ได้ ผู้ที่บัญชาการกองทัพด้วยความเข้าใจในเหตุผลเหล่านี้ ย่อมจักชนะแน่นอน ส่วนผู้ที่บัญชาการรบโดยไม่เข้าใจเหตุผลเหล่านี้ ย่อมจักปราชัย หากผู้เป็นแม่ทัพได้พิเคราะห์พิจารณาด้วยหลักแห่งยุทธศาสตร์แล้ว มั่นใจในชัยชนะ ถึงแม้พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเป็นประมุขจะรับสั่งว่า อย่ารบ แต่แม่ทัพก็สามารถตัดสินใจเด็ดขาดให้ ออกรบได้ แต่ถ้าแม่ทัพได้พิเคราะห์พิจารณาด้วยหลักแห่งยุทธศาสตร์แล้ว ไม่มั่นใจในชัยชนะ ถึงแม้พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเป็นประมุขจะรับสั่งว่า ต้องรบ แม่ทัพก็อาจตัดสินใจไม่รบได้ ผู้เป็นแม่ทัพจะต้องนำทัพบุกโดยไม่มุ่งหวังในชื่อเสียงเกียรติคุณของตัวเอง และถอยทัพได้โดยเกรงอาญาแผ่นดิน มีแต่เจตจำนงที่จะปกป้องราษฎร และพิทักษ์ผลประโยชน์แห่งองค์พระประมุข แม่ทัพเช่นนี้แหละที่เป็นสมบัติอันล้ำค่าของบ้านเมือง แม่ทัพที่ปฏิบัติต่อทหารดุจมารดาทะนุถนอมลูกน้อย พวกทหารก็ย่อมยินดีร่วมฝ่าฟันความทุกข์ยากกับเขา แม่ทัพที่ปฏิบัติต่อทหารดุจบิดารักบุตรพวกทหารย่อมร่วมเป็นร่วมตายกับเขาได้ ถ้าแม่ทัพได้ปฏิบัติต่อทหารเป็นอย่างดี แต่ไม่ใช่งานพวกเขา รักแต่ไม่อบรมบ่มสอน และเมื่อทหารทำผิดวินัยก็ไม่ได้รับการลงโทษ เช่นนี้ก็เหมือนตามใจลูกจนเสียคน ทหารเหล่านี้ย่อมจะใช้รบไม่ได้ แต่ถ้าแท่ทัพรู้แต่ว่า ฝ่ายตนมีกำลังพอที่จะเข้าตีข้าศึกได้ แต่ไม่รู้ว่าข้าศึกมีกำลังมากไม่สามารถเข้าตีได้ ความหวังที่จะได้ชัยชนะก็มีเพียงครึ่งเดียว และถ้ารู้แต่ว่า ข้าศึกมีกำลังไม่มากสามารถเข้าตีได้ แต่ไม่รู้ว่าฝ่ายตนมีกำลังไม่พอจะเข้าตีข้าศึกได้ เช่นนี้ ความหวังที่จะได้ชัยชนะก็มีเพียงครึ่งเดียวเช่นกัน ถ้ารู้ว่าศึกมีกำลังไม่สามารถเข้าตีได้ และฝ่ายตนมีกำลังพอที่จะตีได้ด้วย แต่ไม่รู้ว่า ฝ่ายตนอยู่ในสภาพภูมิประเทศที่เสียเปรียบ เช่นนี้ ความหวังที่จะได้ชัยชนะก็มีเพียงครึ่งเดียวด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่รู้จักหลักการทำสงคราม ย่อมจะปฏิบัติการได้ไม่พลาด และพลิกแพลงยุทธวิธีการรบได้เรื่อย ๆ ไม่มีทางอับจน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า รู้เขา รู้เรา ย่อมช่วงชิงชัยชนะได้โดยไม่มีอันตราย และรู้สภาพลมฟ้าอากาศ รู้ลักษณะภูมิประเทศ ย่อมประกันชัยชนะได้สมบูรณ์
บทที่ 11 พื้นที่เก้าลักษณะ ซุนวูกล่าวว่า อันหลักการทำศึกนั้น ได้แบ่งพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางทหารออกเป็นเก้าลักษณะคือ พื้นที่ขวัญเสีย พื้นที่หนีง่าย พื้นที่แย่งชิง พื้นที่สะดวก พื้นที่แห่งไมตรี พื้นที่แห่งความเป็นความตาย พื้นที่ทุรวิบาก พื้นที่อ้อมล้อมและพื้นที่มรณะ ข้าศึกบุกเข้ามารบในดินแดนฝ่ายเรา ทหารฝ่ายเราจึงขวัญเสียรับศึกอย่างฉุกละหุก พื้นที่เช่นนี้เรียกว่า พื้นที่ขวัญเสีย ฝ่ายเราบุกเข้าไปรบในดินแดนของข้าศึก แต่ยังบุกเข้าไปไม่ลึกนัก พื้นที่เช่นนี้เรียกว่าพื้นที่หนีง่าย พื้นที่ที่ฝ่ายเรายึดได้แล้ว จะครองความได้เปรียบ และถ้าฝ่ายข้าศึกยึดได้ ข้าศึกก็จะครองความได้เปรียบเช่นกัน พื้นที่เช่นนี้เรียกว่า พื้นที่แย่งชิง พื้นที่ที่ฝ่ายเราเข้าไปได้สะดวก และฝ่ายข้าศึกก็เข้าไปได้สะดวกเช่นกัน พื้นที่เช่นนี้เรียกว่าพื้นที่สะดวก พื้นที่ที่เป็นเขตแดนของหลายประเทศ ซึ่งฝ่ายใดยึดไว้ได้ก่อน ย่อมจะมีโอกาสได้เจริญไมตรีกับประเทศที่อยู่รายรอบก่อน พื้นที่เช่นนี้เรียกว่า พื้นที่แห่งไมตรี ดินแดนของข้าศึกที่ฝ่ายเราบุกยึดได้ โดยบุกฝ่ามาแล้วหลายเมือง พื้นที่เช่นนี้เรียกว่า พื้นที่แห่งความเป็นความตาย พื้นที่ทีเป็นโขดเขา พงไพร เป็นทางทุรวิบาก และเป็นห้วยหนองคลองบึง ซึ่งยากต่อการเดินทัพยิ่ง พื้นที่เช่นนี้เรียกว่าพื้นที่ทุรวิบาก พื้นที่ที่มีปากทางแคบ มีเส้นทางถอยไกลและอ้อมล้อมวกวน ข้าศึกสามารถใช้กำลังน้อยกว่าตีฝ่ายเราแพ้พ่ายได้ง่าย พื้นที่เช่นนี้เรียกว่า พื้นที่อ้อมล้อม พื้นที่ฝ่ายเราจะต้องรีบเผด็จศึกโดยเร็ว หาไม่แล้วฝ่ายเราจะพ่ายแพ้ย่อยยับ พื้นที่เช่นนี้เรียกว่า พื้นที่มรณะ เพราะฉะนั้น ถ้าอยู่ในพื้นที่ขวัญเสีย ก็ไม่ควรรบแตกหักโดยเร็ว ถ้าอยู่ในพื้นที่หนีง่าย จงอย่าได้หยุดทัพ ควรมุ่งหน้าเดินทัพต่อไป ถ้าพบพื้นที่ที่ต้องแย่งชิง และถูกข้าศึกยึดไว้ก่อนแล้ว ก็อย่าได้บุ่มบ่ามบุกเข้าตี ถ้าพบพื้นที่ที่ทุกฝ่ายไปมาสะดวก ให้ยึดไว้ก่อน และวางกำลังทหารต่อเนื่องกัน อย่าให้ขาดการติดต่อกับกองหลัง ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่เป็นเขตแดนของหลายประเทศ ก็ควรเจริญไมตรีกับประเทศเหล่านั้นไว้ก่อน ถ้าถลำลึกเข้าไปในดินแดนข้าศึก ก็ต้องออกปล้นสะสมหาเสบียงเอาไว้ ถ้าอยู่ในพื้นที่ทุรวิบาก ควรรีบเดินทัพออกไปให้พ้นจากพื้นที่นั้นโดยเร็ว ถ้าตกอยู่ในพื้นที่อ้อมล้อม ข้าศึกเข้าตีได้ง่าย ก็ควรวางแผนหาทางออกไปให้ได้ และถ้าเข้าไปอยู่ในพื้นที่มรณะ ก็ต้องสู้ตายเพื่อเอาตัวรอดให้ได้ นักการทหารผู้เชี่ยวชาญการศึกสงครามในสมัยโบราณ ย่อมสามารทำให้ทัพหน้าและทัพหลังของข้าศึกไม่อาจหนุนเนื่องช่วยเหลือกันได้ ด้วยต้องห่วงหน้าพะวงหลัง หน่วยกำลังหลักกับหน่วยกำลังย่อยต่างคนต่างรบ นายทหารและพลทหารต่างไม่ช่วยเหลือกันและกัน หน่วยเหนือและหน่วยในสังกัดขาดการติดต่อประสานงานกัน พวกทหารแตกกระสานซ่านเซ็นไม่เป็นส่ำ และแม้จะรวมพลไม่เป็นขบวนแถว ในสภาพการณ์เช่นนี้ หากเห็นว่าฝ่ายเราได้เปรียบก็ให้ เข้าตีได้ แต่ถ้าฝ่ายเราไม่ได้เปรียบ ก็จงหยุดไว้อย่าได้เข้าตี หากตั้งคำถามว่า “ถ้าข้าศึกมีกำลังพลที่พร้อมเพรียงและเหนือกว่าบุกเข้าตีฝ่ายเรา จะทำอย่างไรดี?” คำตอบก็คือ “จงตีจุดที่ข้าศึกได้เปรียบที่สุดก่อน ก็จักสามารถเข้าควบคุมข้าศึกได้” การ ทำสงครามสำคัญที่ต้องรุกรบได้รวดเร็วฉับไว ฉกฉวยโอกาสที่ข้าศึกรับมือไม่ทัน บุกตีจุดที่ข้าศึกไม่ได้เตรียมพร้อมป้องกันโดยใช้เส้นทางที่ข้าศึกคาดการณ์ ไม่ถึง การบุกตีดินแดนของข้าศึกนั้น มีหลักอันพึงตระหนักคือ ยิ่งสามารถบุกลึกเข้าไปในดินแดนของข้าศึกได้มากเท่าไร ทหารก็จะยิ่งมีขวัญสู้รบมากขึ้นเท่านั้น และข้าศึกก็จะยิ่งไม่สามารถรบชนะฝ่ายเราได้ พึงชิงเอาเสบียงข้าวจากพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ของข้าศึก ให้ทหารทั้งกองทัพมีเสบียงกินอย่างเพียงพอ พึงให้ทหารได้พักผ่อนเอาแรง อย่าให้พวกเขาเหนื่อยล้าเกินไป พึงบำรุงขวัญทหารให้ดีขึ้นและถนอมกำลังไว้ พึงจัดวางกำลังให้เข้มแข็ง วางแผนให้แยบยลเพื่อว่าข้าศึกจะไม่สามารถคาดเดาจุดประสงค์ของฝ่ายเราได้ จงวางกำลังทหารไว้ในที่ที่ไม่มีทางถอยหนี ทหารย่อมจะสู้ไม่ยอมถอยแม้จะต้องตายก็ตาม ในเมื่อทหารยอมตายไม่ยอมถอยเช่นนี้แล้ว จะไม่สู้จนขาดใจดิ้นได้อย่างไรเล่า? ทั้ง นี้เพราะเมื่อทหารอยู่ในภาวะคับขันอันตรายจะไม่เกิดความหวาดกลัว เมื่อพวกเขาไม่มีทางไป ก็ย่อมจะมีขวัญสู้รบดี และเมื่อบุกลึกเข้าไปในดินแดนของข้าศึก ทหารทั้งกองทัพย่อมจะไม่แตกกระสานซ่านเซ็น และจะยืนหยัดต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยวเมื่ออยู่ในภาวะที่จำเป็น ด้วยเหตุนี้ กองทัพที่อยู่ในภาวะเช่นนี้จึงสามารถระมัดระวังได้โดยไม่จำเป็นต้องปับปรุง สามารถบรรลุภาระหน้าที่ได้โดยไม่ต้องบังคับกะเกณฑ์ รักใคร่กลมเกลียวสนิทสนมกันดีโดยไม่จำเป็นต้องปรับปรุง สามารถบรรลุภาระหน้าที่ได้โดยไม่จำเป็นต้องบังคับกะเกณฑ์ รักใคร่กลมเกลียวสนิทสนมกันดีโดยไม่จำเป็นต้อง บังคับฝืนใจ รักษาระเบียบวินัยได้ดีโดยไม่จำเป็นต้องสั่งกำชับ เราพึงขจัดความเชื่อถืองมงาย และความสงสัยกังขาของทหารให้หมดไป เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเขา ก็ย่อมต้องสู้ตายไม่ถอยหนี ทหารของเราไม่ได้มีเงินทองเหลือเฟือ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะไม่ชอบเงินทอง และทหารเราก็ไม่รักตัวกลัวตาย แต่ก็มิได้หมายความว่าจะไม่อยากมีชีวิตยืนยาว เมื่อมีคำสั่งให้ทหารออกรบ พวกทหารที่บาดเจ็บจะนั่งเสียใจจนน้ำตาไหลเปียกชุ่มเสื้อ และพวกทหารที่ล้มป่วยก็น้ำตานองหน้า ด้วยความเสียใจที่ไม่อาจออกไปรบเคียงบ่าเคียงไหลกับเพื่อนทหารได้ ทหารเช่นนี้หากนำไปไว้ในที่ที่ไม่มีทางไป ก็จะกล้าหาญเฉกเช่นจวนจู 1 และ เฉากุ้ย 2 แม่ทัพผู้ซึ่งปกครองและนำกองทัพได้เก่ง จะสามารถทำให้กองทัพเปรียบประดุจดังอสรพิษ “ส้วยหยาน” “ส้วยหยาน” เป็น งูพิษชนิดหนึ่งที่อยู่ที่เขาฉางซาน งูพิษชนิดนี้เมื่อถูกตีที่หัว จะตวัดหางมาช่วย เมื่อถูกตีที่หาง ก็จะหันหัวมาช่วยแว้งกัด และหากถูกตีกลางตัว หัวหางก็จะเข้ามาช่วยพร้อมกัน ถ้าหากจะถามว่า “เราจะสามารถทำกองทัพให้เป็นเสมือนงูพิษส้วยหยานได้หรือไม่?” ก็จะตอบว่า “ได้” เฉก เช่นชาวอู๋กับชาวเย่ที่เป็นอริกัน แต่ถ้าให้พวกเขาลงเรือลำเดียวกัน พวกเขาก็จะช่วยเหลือกันดุจแขนซ้ายและแขนขวา ฉะนั้นการที่คิดจะผูกบังเหียนม้าไว้ติดกันและฝังล้อรถข้าศึกให้จมดินเพื่อ สร้างขวัญให้ทหารเห็นถึงความปักใจที่จะสู้ตาย คงหวังผลอะไรไม่ได้ การที่จะให้ทหารทั้งกองทัพร่วมแรงร่วมใจกันต่อสู้กับข้าศึกอย่างกล้าหาญดุจ คนๆ เดียวกันนั้นย่อมขึ้นอยู่กับการปกครองและนำกองทัพอย่างถูกต้องของแม่ทัพเป็น สำคัญ การที่จะให้ทหารที่อ่อนแอและทหารที่เข้มแข็งสามารถรบได้เต็มความสามารถ ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้ลักษณะภูมิประเทศให้เกิดประโยชน์เป็นสำคัญ ดังนั้น แม่ทัพที่เก่งย่อมจะสามารถทำให้ทหารทั้งกองทัพร่วมมือกันได้ดุจคน ๆ เดียวกัน และที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะผู้เป็นแม่ทัพได้สร้างสถานการณ์ขึ้นมาบังคับให้ทหารต้องทำเช่นนั้น การดูแลรับผิดชอบงานด้านการทหารจะต้องใคร่ครวญถึงแผนการต่าง ๆด้วยความสุขุมคุมภีรภาพและลุ่มลึก ปกครองกองทัพให้มีระเบียบวินัยดี ต้องสามารถปกปิดไม่ให้ทหารล่วงรู้การวางแผนและความเคลื่อนไหวทางทหารได้เลย แม้แต่น้อย สับเปลี่ยนกำลังทหารและปรับเปลี่ยนแผนการเดิม ไม่ให้ผู้ใดรู้เท่าทันกลอุบาย คอยโยกย้ายเปลี่ยนที่มั่นทางทหารและจงใจเดินทัพวกไปวนมาอยู่เสมอ ไม่ให้ผู้ใดคาดเดาเจตนาได้ เมื่อแม่ทัพมอบหมายภาระหน้าที่ให้เหล่าทหารไปแล้ว ต้องตัดเส้นทางถอยของพวกเขาจะได้บุกขึ้นหน้าไป และเมื่อแม่ทัพสั่งให้เหล่าทหารบุกลึกเข้าไปในดินแดนของข้าศึก ทหารพวกนี้จะเหมือนลูกธนูที่ถูกยิงออกไป คือต้องมุ่งไปข้างหน้าอย่างเดียวเท่านั้น การควบคุมทหารเหมือนการต้อนฝูงแกะ จะต้อนไปทางไหนก็ได้ แต่พวกเขาจะไม่รู้ว่าต้องไปทางไหน การชุมนุมพลทั้งกองทัพไว้ในพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วนอันตราย คือภาระหน้าที่สำคัญในการนำกองทัพของแม่ทัพ ดังนั้น เรื่องความแตกต่างกันของพิ้นที่ทั้งเก้าลักษณะความได้เปรียบเสียเปรียบในอัน ที่จะรุกหรือถอย และภาวะจิตใจของทหารทุกคน ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ผู้เป็นแม่ทัพจะต้องศึกษาและพิจารณาใคร่ครวญให้ ละเอียดรอบคอบอย่างจริงจัง กฎของการทำสงครามที่เราเป็นฝ่ายบุกคือ ยิ่งบุกเข้าไปในดินแดนของข้าศึกได้ลึกมากเท่าไร ทหารก็จะยิ่งมีขวัญและกำลังใจหนักแน่นมากขึ้นเท่านั้น ถ้าบุกอยู่แค่ชายแดนของข้าศึก ทหารก็จะมีจิตใจไม่แน่วแน่และขวัญกระเจิงได้ง่าย สมรภูมิที่ฝ่ายเราต้องยกทัพอกจากดินแดนตน บุกเข้าไปรบในดินแดนของข้าศึกเรียกว่า พื้นที่อับจน พื้นที่ที่มีเขตแดนติดหลายประเทศเรียกว่า พื้นที่แห่งไมตรี พื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในดินแดนของข้าศึกไม่มากนัก เรียกว่าพื้นที่หนีง่าย พื้นที่ที่ด้านหน้ามีผาสูงชันแข็งแรง ด้านหลังเป็นฉากแคบวิบาก เรียกว่า พื้นที่อ้อมล้อม พื้นที่ไม่มีทางออก เรียกว่าพื้นที่มรณะ ด้วยเหตุนี้ ถ้าอยู่ในพื้นที่ขวัญเสีย ต้องรวมใจทหารให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ถ้าอยู่ในพื้นที่หนีง่าย จะต้องให้ค่ายต่าง ๆสามารถติดต่อกันได้อย่างใกล้ชิด ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่ต้องแย่งชิง ต้องให้กองหลังเร่งตามติดมาอย่างรวดเร็ว ถ้าพบพื้นที่ที่ทุกฝ่ายไปมาได้สะดวก จะต้องคอยเฝ้ารักษาการณ์อย่างระมัดระวัง ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่เป็นเขตแดนของหลายประทศ จะต้องกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศที่อยู่รอบข้างให้ดี ถ้าถลำลึกเข้าไปในดินแดนข้าศึก ซึ่งเป็นพื้นที่แห่งความเป็นความตาย ก็ต้องหาเสบียงให้เพียงพอ ถ้าอยู่ในพื้นที่ทุรวิบาก จะต้องรีบเดินผ่านไปโดยเร็วไว ถ้าตกอยู่ในพื้นที่อ้อมล้อม ต้องวางกำลังปิดปากทางเข้าออกไว้ และถ้าเข้าไปอยู่ในพื้นที่มรณะ ก็ต้องแสดงให้ทหารเห็นว่ายอมตัดสินใจสู้ตาย ยอมพลีชีพโดยไม่หวั่นไหว ดังนั้น โดยวิสัยของความเป็นทหาร เมื่อถูกล้อม ก็จะพยายามต่อสู้ต้านทานข้าศึกจนสุดความสามารถ เมื่อถูกสถานการณ์อันเลวร้ายคับขันบีบบังคับ ก็จะสู้อย่างสุดใจขาดดิ้น และเมื่อถลำลึกอยู่ในอันตราย ก็จะยอมเชื่อฟังคำสั่งแต่โดยดี ถ้าเราไม่เข้าใจความเคลื่อนไหวทางยุทธศาสตร์ของประเทศต่าง ๆ ก็จงอย่าผูกมิตรกับประเทศนั้น ๆก่อน ถ้าเราไม่คุ้นเคยชำนาญภูมิประเทศที่เป็นป่าเขาพงไพร ห้วยหนองคลองบึง ก็จงอย่าเดินทัพไปทางนั้น ถ้าเราไม่ใช้คนท้องถิ่นนำทาง เราก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากลักษณะภูมิประเทศนั้น ๆ ได้หากผู้เป็นแม่ทัพไม่เข้าใจข้อใดข้อหนึ่งนี้ ก็ไม่อาจสร้างกองทัพให้เป็นกองทัพของมหาราชาได้ อันกองทัพที่เกรียงไกรของมหาราชานั้น หากยกเข้าตีประเทศใหญ่ จะสามารถทำให้ข้าศึกระดมพลกันไม่ติดและรับมือไม่ทัน และเมื่อใช้แสนยานุภาพข่มขวัญข้าศึก จะสามารถทำให้มิตรประเทศของข้าศึกไม่กล้าปฏิบัติตามพันธะกรณีที่มีต่อกัน ฉะนั้น จึงไม่จำเป็นต้องแย่งผูกมิตรกับประเทศต่าง ๆ และไม่จำเป็นต้องสร้างสมอิทธิพลของตนในประเทศต่าง ๆ ด้วย ขอเพียงเราเผยจุดประสงค์ทางยุทธศาสตร์ของตน และสำแดงแสนยานุภาพให้ข้าศึกได้ประจักษ์ ก็สามารถยึดเมืองและครอบครองประเทศของข้าศึกได้ และถ้าเราปูนบำเหน็จให้ทหารได้มากกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบ และออกคำสั่งได้เฉียบขาดกว่าปกติ ก็จะสามารถบังคับบัญชาทหารทั้งกองทัพได้ง่ายเหมือนสั่งคนๆ เดียว การมอบหมายภารกิจสู้รบให้ทหารไปปฏิบัตินั้น ไม่ควรบอกจุดประสงค์ให้รู้ และการมอบหมายภาระหน้าที่ที่เสี่ยงอันตรายให้ทหารไปปฏิบัติ ก็ไม่ควรบอกให้รู้ถึงความได้เปรียบ อันวิสัยทหารนั้น เมื่ออยู่ในที่อันตราย ย่อมจะพลิกผันเหตุร้ายให้กลายเป็นดี และเมื่อตกอยู่ในพื้นที่มรณะ ก็ย่อมจะสู้ยิบตาเพื่อเอาตัวรอด กองทัพซึ่งตกอยู่ในที่ที่เต็มไปด้วยอันตราย ย่อมจะประสบชัยชนะได้ในภายหลัง ดังนั้นการทำสงคราม จึงสำคัญที่ต้องใคร่ครวญจุดประสงค์ของข้าศึกด้วยความสุขุมรอบคอบ รวบรวมกำลังทหารไปไว้ในทิศทางหลักที่จะเข้าตี บุกตะลุยเข้าตีข้าศึกสังหารแม่ทัพของข้าศึก แม้ในระยะทางไกลนับพันลี้ นี่คือการพลิกแพลงใช้กำลังทหารให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่จะพิชิตข้าศึกให้ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อถึงเวลาที่จะต้องสู้รบให้ถึงขั้นแตกหัก ก็ต้องสั่งปิดพรมแดน ยกเลิกการใช้หนังสือเดินทาง ไม่อนุญาตให้ทูตฝ่านข้าศึกมาติดต่อวางแผนลับในศาลบรรพชนเพื่อกำหนดนโยบายทาง ยุทธศาสตร์ เมื่อใดที่ข้าศึกเปิดช่องโหว่ให้ จะต้องรีบฉวยโอกาสบุกทะลวงตีเข้าไปโดยฉับพลัน ต้องเข้ายึดจุดยุทธศาสตร์สำคัญก่อน แต่อย่ากำหนดวันเผด็จศึกง่าย ๆ ต้องคอยพลิกแพลงปรับเปลี่ยนความเคลื่อนไหวของฝ่ายตนไปตามสภาพการณ์ของข้าศึก ที่เปลี่ยนไป ด้วยเหตุนี้ ก่อนจะเปิดศึกทำสงคราม จึงต้องเยือกเย็น เงียบเฉยเหมือนสาวพรหมจรรย์ เพื่อล่อหลอกให้ข้าศึกคลายการระวังป้องกัน และเผยจุดอ่อนให้เห็น เมื่อเริ่มทำสงครามกันแล้ว ก็ต้องปฏิบัติการให้รวดเร็วปราดเปรียวเหมือนกระต่ายป่า เพื่อให้ข้าศึกรับมือไม่ทันและไม่มีเวลาเตรียมการต้านทาน หมายเหตุ : 1. จวน จูเป็นชาวแคว้นอู๋ กงจื่อกวงคิดลอบปลงพระชนม์ เจ้าอู๋เหลียวอ๋อง อูจื่อซวีจึงชักนำให้กงจื่อรู้จักกับจวนจู กวงจื่อกวงสั่งให้จวนจูนำปลาไปถวายเจ้าอู๋เหลียวอ๋องในงานเลี้ยง โดยซ่อนมีดไว้ในตัวปลา จวนจูได้ใช้มีดเล่มนั้นปลงพระชนม์เจ้าอู๋เหลียวอ๋องสำเร็จ แต่ตัวเขาก็ถูกทหารองครักษ์ฆ่าตายในทันทีเหมือนกัน 2. เฉา กุ้ยเป็นชาวแคว้นหลู่ เจ้าหลู่จวงกงแคว้นหลู่ทรงตั้งเขาเป็นแม่ทัพ เมื่อแคว้นฉียกทัพมาตีแคว้นหลู่ ยึดดินแดนของแคว้นหลู่ไปส่วนหนึ่ง จึงมีการเจรจาขอสงบศึกและทวงดินแดนที่เสียไปคืน ในระหว่างที่เจ้าหลู่จวงกงกับเจ้าแคว้นฉีทรงกำลังเจรจากันอยู่นั้น เฉากุ้ยได้ปรากฏตัวขึ้นและปราดเข้าประชิดตัวเจ้าแคว้นฉี เอามีดสั้นจี้บังคับให้เเจ้าแคว้นฉีทรงยินยอมคืนดินแดนให้แคว้นหลู่ได้เป็น ผลสำเร็จ
บทที่ 12 โจมตีด้วยไฟ ซุนวูกล่าวว่า การโจมตีด้วยไฟมีห้าลักษณะคือ หนึ่งเผาทำลายทหารข้าศึก สองเผาทำลายกองเสบียงข้าศึก สามเผาทำลายยุทธสัมภาระของข้าศึก สี่เผาทำลายคลังแสงสรรพาวุธ และห้าเผาทำลายเส้นทางลำเลียงเสบียงของข้าศึก การจะโจมตีด้วยไฟ จะต้องมีเงื่อนไขบางอย่างโดยจะต้องมีการตระเตรียมเงื่อนไขเหล่านี้ไว้เสมอ การวางเพลิงเผาจะต้องดูลมฟ้าอากาศและพิจารณาวันเวลาให้ดี ลมฟ้าอากาศที่ดูนี้ หมายถึงให้ดูว่าอากาศแห้งแล้งหรือไม่ประการใด วันเวลา หมายถึงวันที่ดวงจันทร์เสวยฤกษ์อยู่ระหว่างดาวจี ดาวปี้ ดาวอี้ และดาวเจิ่น * ซึ่งเป็นเวลาที่ลมพัดแรงเป็นพิเศษ การโจมตีด้วยไฟนั้น จะต้องใช้กำลังทหารสนับสนุนอย่างพลิกแพลงไปตามการเปลี่ยนแปลง อันเกิดจากการโจมตีด้วยไฟทั้งห้าลักษณะ นั่นคือ ในกรณีที่เป็นการวางเพลิงจากในค่ายข้าศึก จะต้องใช้กำลังทหารจู่โจมประสานซ้ำเติมจากภายนอกให้ทันเวลา แต่หากไฟไหม้ลุกลามแล้ว ข้าศึกในค่ายยังคงสงบเงียบอยู่ จงอย่าหุนหันพลันแล่น ให้รอดูท่าทีก่อน จะรีบร้อนบุกจู่โจมไม่ได้ ต้องรอให้ไฟไหม้ลุกลามใหญ่โตแล้ว จึงค่อยตัดสินใจตามเหตุการณ์ ซึ่งหากบุกโจมตีได้ ก็ให้บุกโจมตี แต่หากบุกโจมตีไม่ได้ ก็จงหยุดไว้ก่อน ในกรณีที่เป็นการวางเพลิงจากภายนอกข้าศึก ก็ไม่จำเป็นต้องมีการประสานจากภายในขอเพียงให้วางเพลิงได้ถูกกาละ ก็ใช้ได้แล้ว เมื่อวางเพลิงจากทางเหนือลมแล้ว จงอย่าได้บุกโจมตีจากทางใต้ลม และในกลางวันจะมีลมพัดนาน แต่กลางคืนลมจะสงบนิ่งง่าย ผู้เป็นแม่ทัพนายกองพึงรู้จักการใช้การโจมตีด้วยไฟทั้งห้าลักษณะนี้อย่าง พลิกแพลง และรอจังหวะเวลาที่จะบุกโจมตี การใช้ไฟช่วยในการบุกโจมตีนั้น จะเห็นผลชัดเจนมาก ส่วนการใช้น้ำช่วยในการบุกโจมตีก็เพียงช่วยเสริมการโจมตีให้เข้มแข็งขึ้น เท่านั้น ด้วยว่าน้ำสามารถตัดกำลังของข้าศึกออกจากกันได้ แต่ก็ไม่สามารถทำลายยุทธปัจจัยของข้าศึกให้สิ้นไปได้ ในการทำสงครามนั้น หากสามารถรบชนะและยึดเมืองของข้าศึกได้ แต่ไม่สามารถรักษาผลแห่งสงครามให้มั่นคงได้ ก็จักเป็นอันตรายยิ่ง กรณีนี้เรียกว่า “เฟ่ยหลิว” (หมาย ถึงการกระทำที่ทำให้สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ และทำให้กำลังทหารต้องอยู่นอกประเทศ โดยไม่ได้อะไรเป็นแก่นสารขึ้นมา) ฉะนั้น พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเป็นประมุขที่ปรีชาสามารถ ย่อมจะทรงพิจารณาใคร่ครวญปัญหาโดยสุขุมรอบคอบ แม่ทัพที่ดีก็ต้องพิจารณาใคร่ครวญปัญหานี้อย่างจริงจัง เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ได้เปรียบ ก็จะไม่ลงมือปฏิบัติการ ไม่มั่นใจว่าจะเอาชนะได้ ก็จะไม่นำแม่ทัพออกศึก และไม่มีสถานการณ์คับขันบีบบังคับ ก็จะไม่ออกรบ พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเป็นประมุขไม่สมควรที่จะจะทรงก่อสงครามด้วยอารมณ์กริ้ว ชั่ววูบ แม่ทัพก็ไม่สมควรนำทัพออกศึกเพราะอารมณ์โมโหโทโสชั่วแล่นเช่นกัน จะนำทัพออกศึกก็ต่อเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศ ชาติ หากไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศชาติ ก็ต้องหยุดการกระทำนั้นไว้ อันอารมณ์โกรธกริ้วนั้นยังแปรเปลี่ยนให้เป็นอารมณ์ยินดีได้ อารมณ์โมโหโทโสก็แปรเปลี่ยนให้เป็นอารมณ์ดีใจได้ แต่เมื่อชาติสิ้นสูญไปแล้ว ก็ไม่อาจฟื้นความเป็นชาติกลับคืนทาได้ คนเมื่อตายไปแล้ว ก็ไม่อาจช่วยฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาได้ ดังนั้น ในการทำสงคราม พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเป็นประมุขจะต้องทรงมีความสุขุมคัมภีรภาพ แม่ทัพที่ดีก็ต้องระวังเตรียมพร้อมอยู่เสมอ นี่คือหลักการสำคัญที่จะธำรงชาติไว้ให้มั่นคง สถาพรและปกป้องกองทัพให้อยู่รอดปลอดภัย! หมายเหตุ : *ดาวจี อยู่ในกลุ่มดาว Sagittarius ดาวปี้ อยู่ในกลุ่มดาว Pegasus and Andromeda ดาวอี้ อยู่ในกลุ่มดาว Hydra and Crater ดาวเจิ่น อยู่ในกลุ่มดาว Corvus
บทที่ 13 การใช้จารชน ซุนวูกล่าวว่า การระดมกำลังทหารนับแสนไปรบในแดนไกลนับพันลี้ ราษฎรต้องแบกรับภาษีส่วยอากร และรัฐก็ต้องมีงบประมาณใช้จ่ายวันละนับพันตำลึงทอง ทั้งบ้านเมืองก็วุ่นวายขาดเสถียรภาพ ราษฎรจะถูกเกณฑ์แรงงานให้มาเหนื่อยล้ากับการลำเลียงเสบียงอาหารให้กับกองทัพ จนไม่สามารถทำไร่ไถนาหากินได้ตามปกติกันมากถึงเจ็ดแสนครัวเรือน การที่คู่สงครามทั้งสองฝ่ายรบพุ่งกันมานานหลายปี ก็เพื่อให้ชนะขั้นแตกหักในวันเดียวเท่านั้น ซึ่งหากตระหนี่ถี่เหนียวในเรื่องเงินทองและยศตำแหน่งไม่ยอมใช้สิ่งเหล่านี้ มาซื้อตัวจารชน จนทำให้การข่าวไม่ดี ไม่สามารถล่วงรู้สภาพของข้าศึก จนส่งผลให้พ่ายแพ้ นับว่าขาดการุณยธรรมต่อราษฎรอย่างยิ่งทีเดียว คนเช่นนี้ไม่สมควรจะได้เป็นแม่ทัพของกองทัพ ไม่ใช่ผู้แบ่งเบาภาระในบ้านเมือง และไม่ใช่ขุนทหารผู้กำชัยชนะไว้แต่ผู้เดียว การที่พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงพระอัจฉริยะและแม่ทัพนายกองผู้ทรงปัญญาปราช เปรื่องสามารถรบชนะข้าศึกได้ทุกครั้งที่นำทัพออกศึก และประสบผลสำเร็จได้ยอดเยี่ยมเหนือคนทั่วไป ก็เพราะล่วงรู้เข้าใจสภาพของข้าศึกนั่นเอง การที่จะล่วงรู้เข้าใจของสภาพข้าศึกนั้นไม่อาจใช้วิธีสวดวิงวอนผีสางเทวดา ไม่อาจคาดการณ์สถานการณ์จากเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอดีต และไม่อาจใช้วิธีทำนายจากการโคจรของดาวแต่จะต้องขึ้นอยู่ที่คน นั่นคือต้องรู้จักปากของคนที่รู้สภาพข้าศึกเป็นอย่างดี การใช้จารชนมีห้าลักษณะคือ จารชนชาวพื้นเมือง จารชนไส้ศึก จารชนสองหน้า จารชนที่ยอมพลีชีพ และจารชนธรรมดา ถ้าเราใช้จารชนทั้งห้าประเภทนี้พร้อมกัน จะทำให้ข้าศึกไม่รู้กฎเกณฑ์การใช้จารชนของเรา และรู้สึกมืดแปดด้าน มีความลึกลับดุจอำนาจปฏิหาริย์ ทั้งที่เป็นสิ่งวิเศษที่จะเอาชนะข้าศึกได้ จารชนชาวพื้นเมือง คือ ชาวพื้นเมืองของข้าศึกที่เราใช้ให้เป็นประโยชน์ จารชนไส้ศึก คือศึกขุนนางข้าราชการของข้าสึกที่เราใช้ให้เป็นประโยชน์ จารชนสองหน้า คือ จารชนของข้าศึกที่ถูกเราใช้ให้เป็นประโยชน์ จารชนที่ยอมพลีชีพ คือจารชนของเราที่ใช้ให้ไปแฝงตัวอยู่ในฝ่ายข้าศึกเพื่อสร้างข่าวเท็จให้ข้า ศึกหลงเชื่อ โดยเมื่อใดที่เรื่องแดงขึ้น เขาจะต้องถูกฆ่า จารชนธรรมดา คือจารชนที่เราส่งเข้าไปสืบสภาพข้าศึก และสามารถเอาชีวิตรอดกลับมารายงานได้ ดังนั้น จึงไม่มีใครอีกแล้วในกองทัพที่จะสนิทชิดเชื้อเท่ากับแม่ทัพมากยิ่งกว่าจารชน ไม่มีใครอีกแล้วที่จะได้รับบำเหน็จรางวัลยิ่งกว่าจารชน และไม่มีใครอีกแล้วที่จะได้รับมอบความลับสุดยอดยิ่งกว่าจารชน หากไม่ใช่คนที่ฉลาดปราดเปรื่องเหนือคนแล้ว จะไม่สามารถใช้จารชนชนะได้ หากไม่ใช่คนที่มีการุณยธรรม น้ำใจกว้าขวางแล้ว จะไม่สามารถสั่งการจารชนได้ และหากไม่ใช่คนที่ช่างสังเกตมีความคิดลึกล้ำแล้ว ก็ไม่สามารถแยกแยะข่าวที่ได้จากจารชนว่าจริงหรือเท็จ ลึกล้ำแยกยลเสียจริง ๆ! เพราะไม่มีงานด้านไหนเลยที่จะไม่ใช้จารชน หากจารชนยังไม่ทันได้ทำงาน แต่ข่าวได้รั่วไหลแพร่งพรายออกไปก่อน ก็ต้องประหารทั้งจารชนและคนที่รู้ข่าวความลับนั้น หากจะเข้าตีกองกำลังข้าศึกที่เป็นเป้าหมาย เข้ายึดตัวเมือง และลอบสังหารแม่ทัพนายกองของข้าศึก จะต้องรู้ชื่อเสียงเรียงนามของแม่ทัพนายกองผู้รักษาเมือง นายทหารคนสนิทของแม่ทัพ นายทหารสื่อทหาร นายทวารบาล และนายทหารองครักษ์อื่น ๆ โดยสั่งการให้จารชนไปสืบเอาความจริงมาให้กระจ่าง เราต้องสืบจับจารชนที่ข้าศึกส่งมาหาข่าวในกองทัพเราให้ได้ และซื้อตัวเขาไว้ด้วยการให้อามิสรางวัลอย่างงาม เพื่อล่อใจเขาให้เอาอกเอาใจออกห่างจากข้าศึก จากนั้นก็ปล่อยตัวเขาไป เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็สามารถใช้จารชนสองหน้าผู้นี้ให้เป็นประโยชน์ได้ และเมื่อเรารู้ข่าวของข้าศึกจากจารชนสองหน้าแล้ว เราก็สามารถใช้จารชนสองหน้าไปหาจารชนชาวพื้นเมืองและจารชนไส้ศึกได้ สามารถใช้จารชนที่ยอมพลีชีพนำข่าวเท็จไปบอกแก่ข้าศึก และสามารถใช้จารชนธรรมดาไปสืบข่าวและกลับมารายงานได้ พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเป็นประมุข จะต้องทราบเรื่องการใช้จารชนทั้งห้าประเภทนี้ และการรู้สภาพข้าศึกจะขึ้นอยู่กับจารชนสองหน้าเป็นสำคัญ ดังนั้น จึงต้องให้บำเหน็จรางวัลอย่างงามแก่จารชนสองหน้า ในสมัยโบราณราชวงศ์ซางรุ่งเรืองขึ้นมาได้ ก็เพราะอี่จื้อเคยรับราชการอยู่ในแผ่นดินเซี่ย จนรู้สภาพในแคว้นเซี่ยเป็นอย่างดี และราชวงศ์โจวเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้ ก็เพราะเจียงส้างเคยรับราชการอยู่ที่แผ่นดินซาง จนเข้าใจสภาพในแคว้นซางเป็นอย่างดี ดังนั้น พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงพระอัจฉริยะและแม่ทัพผู้มีปัญญาปราดเปรื่องเท่านั้น ที่สามารถใช้คนที่มีปัญญาหลักแหลมเหนือคนทั่วไปมาเป็นจารชนได้ และจะต้องประสบผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่แน่นอน ซึ่งนี่เป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกในการทำสงคราม เพราะกองทัพทั้งกองทัพจะต้องอาศัยข่าวที่ได้จากจารชรมากำหนดปฏิบัติการทาง ทหาร
ตำราพิชัยสงคราม ซุนวู
บทที่ ๑ ประเมินศึก
อันสงครามนั้น เป็นเรื่องของประเทศชาติ เป็นแหล่งแห่งความเป็นความตาย เป็นเหตุแห่งการดำรงอยู่ดับสูญ จักไม่พินิจ พิเคราะห์มิได้
ฉะนั้น พึงวิเคราะห์จากห้าเรื่อง นำมาเปรียบเทียบเพื่อประเมิน ให้ถ่องแท้ในสถานการณ์หนึ่งคือ คุณธรรม สองคือลมฟ้าอากาศ สามคือ ภูมิประเทศ สี่คือ แม่ทัพ ห้าคือ กฎระเบียบ
ที่ว่าคุณธรรม ก็คือ สิ่งที่ทำให้ทวยราษฎร์และเบื้องบนมีเจตนารมณ์ร่วมกัน ร่วมเป็นก็ได้ ร่วมตายก็ได้ ทวยราษฎร์มิหวั่นอันตราย
ที่ว่าลมฟ้าอากาศ ก็คือ สว่างหรือมืด หนาวหรือร้อน ฤดูนี้หรือฤดูนั้น
ที่ว่าภูมิประเทศ ก็คือ สูงหรือต่ำ ใกล้หรือไกล คับขันหรือราบเกรียบ กว้างหรือแคบ เป็นหรือตาย
ที่ว่าแม่ทัพ ก็คือ สติปัญญา ศรัทธา เมตตา กล้าหาญ เข้มงวด
ที่ว่ากฎระเบียบ ก็คือ ระบบจัดกำลัง ระบบยศตำแหน่ง ระบบพลาธิการ
ทั้ง ห้าเรื่องนี้ แม่ทัพพึงรู้แจ้ง ผู้รู้จักชนะ ผู้ไม่รู้จักไม่ชนะ ในสถานการณ์ กล่าวคือ เจ้านายมีคุณธรรมหรือไม่ แม่ทัพสามารถหรือไม่ ฟ้าดินอำนวยหรือไม่ วินัยเข้มงวดหรือไม่ กองทัพเข้มแข็งหรือไม่ ทหารฝึกดีหรือไม่ การรางวัลลงโทษแจ่มชัดหรือไม่ เรารู้ฝ่ายแพ้ชนะได้จากนี้
แม่ทัพใดเชื่อแผนศึกเรา ใช้ก็จักชนะ ให้เอาตัวไว้ แม่ทัพใดไม่เชื่อแผนศึกเรา ใช้ก็จักแพ้ ให้ปลดออกไป
เมื่อ การประเมินผลดีเป็นที่รับฟัง ก็ให้สร้างพลานุภาพขึ้นเพื่อเป็นส่วนช่วยแผนศึก ที่ว่าผลานุภาพ ก็คือการปฏิบัติการตามสภาพอันจะก่อให้เกิดผลนั่นเอง
อัน สงครามนั้น คือการใช่เล่ห์เพทุบาย ฉะนั้น รบได้ให้แสดงรบไม่ได้ จะรุกให้แสดงไม่รุก ใกล้ให้แสดงไกล ไกลให้แสดงใกล้ ให้ล่อด้วยประโยชน์ ให้ชิงเมื่อระส่ำระสาย ข้าศึกแน่นให้เตรียมรับ ข้าศึกแข็งให้หลีกเลี่ยง ข้าศึกโกรธง่ายให้ก่อกวน ข้าศึกยโสให้เหิมเกริม ข้าศึกสบายให้เหนื่อยล้า ข้าศึกกลมเกลียวให้แยกสลาย ให้จู่โจมเมื่อไม่ระวังตัว ให้รุกรบเมื่อไม่คาดคิด นี้คืออันฉริยะของนักการทหาร อันจักกำหนดล่วงหน้ามิได้
การ ประเมินศึกในศาลเทพารักษ์ก่อนรบบ่งบอกชัยชนะเพราะคำนวณผลได้มากกว่า การประเมินผลในศาลเทพารักษ์ก่อนรบบ่งบอกไม่ชนะ เพราะคำนวณผลได้น้อยกว่า คำนวณผลได้มมากก็ชนะ คำนวณผลได้มีน้อยก็แพ้ ถ้าไม่คำนวณก็จักไม่ปรากฎผล เราพิจารณาจากนี้ ก็ประจักษ์ในชัยชนะหรือพ่ายแพ้แล้ว
ภาคปฏิบัติ
"เปรียบเทียบเพื่อประเมินให้ถ่องแท้ในสถานการณ์"
"เจ้านายมีคุณธรรมหรือไม่"
"แม่ทัพสามารถหรือไม่"
"วินัยเข้มงวดหรือไม่"
"กองทัพเข้มแข็งหรือไม่ ทหารฝึกดีหรือไม่"
"การรางวัลลงโทษแจ่มชัดหรือไม่"
"แม่ทัพใดเชื่อแผนศึกเรา ใช้ก็จักชนะ ให้เอาตัวไว้ แม่ทัพใดไม่เชื่อแผนศึกเรา ใช้ก็จักแพ้ ให้ปลดออกไป"
"อันสงครามนั้น คือการใช่เล่ห์เพทุบาย"
"รบได้ให้แสดงรบไม่ได้"
"จะรุกให้แสดงไม่รุก"
"ใกล้ให้แสดงไกล"
"ไกลให้แสดงใกล้"
"ให้ล่อด้วยประโยชน์"
"ให้ชิงเมื่อระส่ำระสาย"
"ข้าศึกแน่นให้เตรียมรับ"
"ข้าศึกแข็งให้หลีกเลี่ยง"
"ข้าศึกโกรธง่ายให้ก่อกวน"
"ข้าศึกยโสให้เหิมเกริม"
"ข้าศึกสบายให้เหนื่อลา"
"ข้าศึกกลมเกลียวให้แยกสลาย"
"ให้จู่โจมเมื่อไม่ระวัง ให้รุกเมื่อไม่คาดคิด"
บทที่ ๒ การทำศึก
อัน หลักแห่งการบัญชาทัพนั้น ต้องใช้รถเร็วพันคัน ค่าใช้จ่ายในและนอกประเทศ ค่าให้จ่ายการทูต ค่าซ่อมสร้าง ยุทโธปกรณ์ ค่ารถรบเสื้อกันเกราะ ต้องสิ้นเปลืองวันละพันตำลึงทองดังนี้ จึงจะเคลื่อนพลสิบหมื่นออกรบได้
เมื่อ รบพึงชนะรวดเร็ว ยืดเยื้อกำลังก็เปลี้ยขวัญทหารก็เสีย ตีเมืองจักไร้พลัง ทำศึกนอกประเทศนาน ในประเทศจักขาดแคลนเมื่อกำลังเปลี้ยขวัญทหารเสีย สูญสิ้นทั้งไพร่พลและเศรษฐกิจ เจ้าครองแคว้นอื่น จักฉวยจุดอ่อนเข้าบุกรุก แม้จะมีผู้เยี่ยมด้วยสติปัญญาก็สุดจะแก้ไขให้กลายดี
เคย ฟังมาว่า ทำศึกพึงชนะเร็วแม้จะไม่ดีนัก แต่ไม่เคยเห็นว่า มีการทำศึกที่ชาญฉลาดทว่าต้องยืดเยื้อ ส่วนที่ว่าทำศึกยืดเยื้อเป็นผลดีแก่ประเทศชาติ ก็ไม่เคยมีมาก่อน ฉะนั้น ผู้มิรู้ผลร้ายแห่งการทำสึกอย่างถ่องแท้ ย่อมไม่สามารถรู้ผลดีแห่งการทำศึกอย่างถ่องแท้ได้เช่นกัน
ผู้สันทัดการบัญชาทัพ จักเกณฑ์พลมิซ้ำสอง ส่งเสบียงมิซ้ำสาม ใช้ยุทโธปกรณ์ประเทศตน เอาเสบียงจากข้าศึก อาหารของกองทัพจึ่งพอเพียง
ประเทศ ชาติยากจนเพราะส่งเสียงไกลให้กองทัพ ส่งเสบียงไกล ราษฎรต้องลำเค็ญ ใกล้กองทัพของจักแพง ของแพงทรัพย์สินราษฎรจักขอดแห้ง เมื่อพระคลังร่อยหรอ ก็เร่งรีดภาษีไพร่พลสูญเสีย ทรัพย์สินสิ้นเปล่อง ทุกครัวเรือนในประเทศจึงว่างเปล่า สมบัติราษฎรต้องสูญไปเจ็ดในสิบส่วน ทรัพย์สินของหลวงรถรบเสียหายม้าศึกอ่อนเปลี้ย เสื้อเกราะและเกาทัณฑ์ ของ้าวและโล่ตั้ง วัวควายและรถสัมภาระ ก็สูญไปหกในสิบส่วน
ฉะนั้น แม่ทัพผู้มีสติปัญญา พึงหาอาหารจากข้าศึก เอาข้าวข้าศึกหนึ่งจง เท่ากับของเราสิบจง เอาอาหารสัตว์หนึ่งสือเท่ากับของเรายี่สิบสือ
ฉะนั้น เมื่อจักเข่นฆ่าข้าศึก พึงให้ไพร่พลโกรธแค้น เมื่อจักกวาดต้อนสินศึก พึงตังรางวัลไพร่พล ฉะนั้น ในศึกรถรบเมื่อยึดรถรบข้าศึกได้กว่าสิบคัน พึงรางวัลผู้ยึดได้ก่อน แล้วให้เปลี่ยนธงบนรถ ขับร่วมในขบวนเรา พึงเลี้ยงดูเชลยให้ดี นี้ก็คือที่ว่ารบชนะข้าศึก เรายิ่งเข้มแข็ง
ฉะนั้น ทำศึกจึ่งสำคัญที่รวดเร็ว ใช่สำคัญที่ยืดเยื้อ
ฉะนั้น แม่ทัพผู้รู้การศึก จึงเป็นผู้กุมชะตากรรมของทวยราษฎร์ เป็นผู้บันดาลความสงบสุขหรือภยันตรายของประเทศชาติ
ภาคปฏิบัติ
"เมื่อ กำลังเปลี้ยขวัญทหารเสีย สูญสิ้นทั้งไพร่พลและเศรษฐกิจ เจ้าครองแคว้นอื่นจักฉวยโอกาสเข้าบุกรุก แม้จะมีผู้เยี่ยมด้วยปัญญาก็สุดจะแก้ไขให้กลายดี"
"ที่ว่าศึกยืดเยื้อเป็นผลดีแก่ประเทศชาติ ก็ไม่เคยมีมาก่อน"
"เอาเสบียงจากข้าศึก"
"แม่ทัพผู้รู้การศึก จึงเป็นผู้กุมชะตากรรมของทวยราษฎร์ เป็นผู้บันดาลความสงบสุข หรือภยันตรายของประเทศชาติ"
บทที่ ๓ กลวิธีรุก
อันหลักแห่งการทำศึกนั้น บ้านเมืองสมบูรณ์เป็นเอก บ้านเมืองบอบช้ำเป็นรอง กองทัพสมบูรณ์เป็นเอก กองทัพบอกช้ำเป็นรอง กอง พลสมบูรณ์เป็นเอก กองพลบอบช้ำเป็นรอง กองร้อยสมบูรณ์เป็นเอก กองร้อยบอบช้ำเป็นรอง หมวดหมู่สมบูรณ์เป็นเอก หมวดหมู่บอบช้ำเป็นรอง เหตุนี้ รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ยังหาใช่ความยอดเยี่ยมในความยอดเยี่ยมไม่ มิต้องรบ แต่สยบทัพข้าศึกได้ จึงจะเป็นความยอดเยี่ยมในความยอดเยี่ยม
ฉะนั้น การบัญชาทัพชั้นเอกคือชนะด้วยอุบาย รองมาคือชนะด้วยการทูต รองมาคือชนะด้วยการรบ เลวสุดคือการตีเมือง ตีเมืองเป็นเรื่องสุดวิสัย เพราะการสร้างรถโล่ การเตรียมยุทโธปกรณ์ สามเดือนแล้วจึงเสร็จ การถมเนินเข้าตีเมือง ต้องอีกสามเดือนจึงลุล่วง แม่ทัพจักกลั้นโทสะมิได้ ทุ่มทหารเข้าตีดุจมดปลวก ต้องล้มตายหนึ่งในตาม แต่เมืองก็มิแตก นี้คือความวิบัติจากการตีเมือง
ฉะนั้น ผู้สันทัดการบัญชาทัพ จักสยบทัพข้าศึกได้โดยมิต้องรบ จักยึดเมืองข้าศึกได้โดยมิต้องตี จักทำลายประเทศข้าศึกได้โดยมิต้องนาน จักครองปฐพีได้ด้วยชัยชนะอันสมบูรณ์ ดังนี้ กองทัพมิต้องเหน็ดเหนื่อยยากเข็ญ ก็ได้ชัยชนะอย่างสมบูรณ์ นี้คือกลวิธีแห่งการรุก
ฉะนั้น หลักแห่งการบัญชาทัพคือ มีสิบเท่าให้ล้อม มีห้าเท่าให้รุก มีหนึ่งเท่าให้แยก มีเท่ากับก็รบได้ มีน้อยกว่าก็เลี่ยงหนี มีไม่ทัดเทียมก็หลบหลีก เหตุนี้ ด้อยกว่าข้าศึกยังขืนรบ ก็จักตนเป็นเชลยข้าศึกที่เข้มแข็งล
อันแม่ทัพนั้น คือผู้ค้ำจุนประเทศ ถ้ารอบคอบ บ้านเมืองจักเข้มแข็ง ถ้าบกพร่อง บ้านเองจักอ่อนแอ
ประมุข นำความวิบัติแก่กองทัพมีสาม ไม่รู้ากองทัพรุก มิได้บัญชาให้รุก ไม่รู้ว่ากองทัพถอยมิได้บัญชาให้ถอย นี้เรียกว่าจำจองกองทัพ ไม่รู้เรื่องของสามทัพ แต่เข้าสอดแทรกกิจการของสามทัพ แม่ทัพนายกองก็สับสน ไม่รู้อำนาจของสามทัพ แต่เข้าแทรกแซงการบัญชาของสามทัพ แม่ทัพนายกองก็สงสัย เมื่อแม่ทัพนายกองทั้งสับสนและสงสัย เจ้าครองแคว้นอื่นก็จักนำภัยมาสู่ นี้เรียกว่าก่อกวนกองทัพ ชักนำข้าศึกให้ชนะ
ฉะนั้น เราสามารถล่วงรู้ชัยชนะได้ห้าทาง ผู้รู้ว่าควรรบ หรือไม่ควรรบจักชนะ ผู้เข้าใจการรบในภาวะกำลังมากหรือกำลังน้อยขักชนะ ฝ่ายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งชั้นบนและชั้นล่างจักชนะ ฝ่ายพร้อมรบบุกฝ่ายไม่พร้อมรบจักชนะ ฝ่ายแม่ทัพมีปัญญาประมุข ไม่ยุ่งเกี่ยวจักชนะ ห้าทางนี้คือวิถีแห่งการล่วงรู้ชัยชนะ
ฉะนั้น จึงกล่าวว่า รู้เขารู้เรา ร้อยรบมิพ่าย ไม่รู้เขาแต่รู้เรา ชนะหนึ่งแพ้หนึ่ง ไม่รู้เขาไม่รู้เรา ทุกรบจักพ่าย
ภาคปฏิบัติ
"อันหลักแห่งการทำศึกนั้น บ้านเมืองสมบูรณ์เป็นเอก"
"มีต้องรบแต่สยบข้าศึกได้ จึงจะเป็นความยอดเยี่ยมในความยอดเยี่ยม"
"การบัญชาทัพชั้นเอก คือชนะด้วยอุบาย"
"รองลงมาคือชนะด้วยการทูต"
"เลวที่สุดคือการเข้าตีเมือง"
"มี ๑๐ เท่าให้ล้อม"
"ด้อยกว่าข้าศึกยังฝืนรบ ก็จักตกเป็นเชลยข้าศึกที่เข้มแข็ง"
"ก่อกวนกองทัพ ชักนำข้าศึกให้ชนะ"
"แม่ทัพมีปัญญา ประมุขไม่ยุ่งเกี่ยวจักชนะ"
"รู้เขารู้เรา ร้อยรบมิพ่าย ไม่รู้เขาแต่รู้เรา ชนะหนึ่งแพ้หนึ่ง ไม่รู้เขาไม่รู้เรา ทุกรบจักพ่าย"
บทที่ ๔ รูปลักษณ์การรบ
ผู้ สันทัดการรบในอดีต จักทำให้ตนมิอาจพิชิตได้ก่อน เพื่อรอโอกาสข้าศึกจะถูกพิชิต มิอาจพิชิตเป็นฝ่ายตน ถูกพิชิตเป็นฝ่ายข้าศึก ฉะนั้น ผู้สันทัดการรบ อาจทำให้ตนมิอาจพิชิตได้ แต่ไม่อาจทำให้ข้าศึกจะต้องถูกพิชิต ดังนี้จึงว่า ชัยชนะอาจล่วงรู้ แต่ไม่อาจกำหนดได้
ผู้ที่เราไม่อาจเอาชนะ พึงตั้งรับ ผู้ที่เราอาจเอาชนะ พึงเข้าตี ตั้งรับเพราะกำลังไม่พอ เข้าตีเพราะกำลังเหลือเฟือ
ผู้ สันทัดการตั้งรับ จักประหนึ่งซ่อนตัวอยู่ใต้บาดาล ผู้สันทัดการเข้าตี จักประหนึ่งเคลื่อนตัวอยู่เหนือฟากฟ้า ฉะนั้น จึงสามารถพิทักษ์ตนเอง ให้ได้รับชัยชนะอย่างสมบูรณ์
หยั่ง เห็นในชัยชนะมิเกินซึ่งคนทั้งปวงรู้ หาใช่ความยอดเยี่ยมที่แท้ไม่ ฉะนั้น ยกขนนกขึ้นได้ใช่ว่าทรงพลัง เห็นแสงเดือนตะวัน ใช่ว่าตาสว่าง ได้ยินเสียงฟ้าคำรณใช่ว่าโสตไว
ที่ โบราณเรียกว่าผู้สันทัดการรบนั้น คือผู้ที่เอาชนะได้ง่าย ฉะนั้น ชัยชนะของผู้สันทัดการรบ จึงมิได้ชื่อว่ามีสติปัญญา มิ้มีควววามชอบในเชิงกล้าหาญ ฉะนั้น ชัยชนะของเขาจึงมีพึงกังขา เหตุที่มิพึงกังขา ก็เพราะปฏิบัติการของเขาจักต้องชนะ จึงชนะผู้ต้องพ่ายแพ้ ฉะนั้น ผู้สันทัดการรบจึงตั้งอยู่ในฐานะไม่แพ้ และไม่สูญเสียโอกาสทำให้ข้าศึกต้องแพ้
เหตุนี้ ฝ่ายชนะรู้ว่าชนะก่อนจึงออกรบ ฝ่ายแพ้รบก่อนแล้วจึงหวังว่าจะชนะ
ฉะนั้น ผู้สันทัดการบัญชาทัพ จักจรรโลงไว้ซึ่งมรรคและกฎระเบียบ ฉะนั้น จึงสามารถกำหนดชัยชนะและพ่ายแพ้ได้
หลักแห่งการทำศึก มี หนึ่งคือวินิจฉัย สองคือคำนวณ สามคือปริมาณ สี่คือเปรียบเทียบ ห้าคือชัยชนะ
พื้นที่ ก่อให้เกิดการวินิจฉัย การวินิจฉัยก่อให้เกิดการคำนวณ การคำนวณก่อให้เกิดปริมาณ ปริมาณก่อให้เกิดการเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบก่อให้เกิดชัยชนะ
ฉะนั้น กองทัพที่ชนะจึงประดุจเอาหนึ่งอี้ไปเปรียบกับหนึ่งจู กองทัพที่แพ้จึงประดุจเอาหนึ่งจูไปเปรียบกับหนึ่งอี้ ไพร่พลของฝ่ายชนะ จึงเสมือนปล่อยน้ำที่กักในลำธารสูงแปดพันเซียะ ให้ทะลักกระโจนลงมา นี้คือรูปลักษณ์ของการรบ
ภาคปฏิบัติ
"จักทำให้ตนมิอาจพิชิตได้ก่อน เพื่อรอโอกาสข้าศึกจะถูกพิชิต"
"ชัยชนะอาจล่วงรู้ แต่ไม่อาจกำหนดได้"
"ผู้ที่เราไม่อาจเอาชนะ พึงตั้งรับ ผู้ที่เราอาจเอาชนะ พึงเข้าตี"
"ผู้สันทัดการตั้งรับ จักประหนึ่งซ่อนตัวอยู่ใต้บาดาล ผู้สันทัดการเข้าตีจักประหนึ่งซ่อนตัวอยู่เหนือฟากฟ้า"
"ผู้สันทัดการรบจึงตั้งอยู่ในฐานะไม่แพ้ และไม่สูญเสียโอกาสทำให้ข้าศึกต้องแพ้"
"ฝ่ายชนะรู้ว่าชนะก่อนจึงออกรบ ฝ่ายแพ้รบก่อนแล้วจึงหวังว่าชนะ"
"ผู้สันทัดการบัญชาทัพ จักจรรโลงไว้ซึ่งมรรคและกฎระเบียบ ฉะนั้นจึงสามารถกำหนดชัยชนะและพ่ายแพ้ได้"
บาที่ ๕ พลานุภาพ
อัน การปกครองไพร่พลมาก ให้เสมือนหนึ่งปกครองไพร่พลน้อย ก็ด้วยการจัดกำลังพล การบัญชาไพร่พลมาก ให้เสมือนหนึ่งบัญชาไพร่พลน้อย ก็ด้วยการจัดอาณัติสัญญาณ ไพร่พลสามทัพมิพ่ายเมื่อสํ้ข้าศึก ก็ด้วยการรบสามัญและพิสดาร การรุกรบข้าศึก ประหนึ่งเอาหินทุ่มไข่ ก็ด้วยการใช้แข็งตีอ่อน
อัน การรบนั้น สู้ศึกด้วยรบสามัญ ชนะด้วยรบพิสดาร ฉะนั้นผู้สันทัดการรบพิสดาร จักไร้สิ้นสุดดุจฟ้ดิน จักมิเหือดแห้งดุจสายน้ำ จักหยุดหรือหวนรบดุจเดือนตะวัน จักตายหรือกลับฟื้นดุจฤดูกาล เสียงมีเพียงห้า ห้าเสียงพลิกผัน จึงฟังมิรู้เบื่อ สีมีเพียงห้า ห้าสีพลิกผัน จึงดูมิรู้หน่ย รสมีเพียงห้า ห้ารสพลิกผัน จึงลิ้มมิรู้จาง สถานะศึก มีเพียงสามัญ และพิสดาร สามัญและพิสดารพลิกผัน จึงเห็นมิรู้จบ สามัญและพิสดารพัวพันหันเหียน ดุจวงกลมที่มิมีจุดเริ่มต้น จักมีที่สิ้นสุดได้ไฉน
ความ แรงของกระแสน้ำไหลเชี่ยว สามารถพัดหินลอยเคลื่อนนี้คือพลานุภาพ ความเร็วยามเหยี่ยวบินโฉบ สามารถพิชิตล่ำสัตว์ นี้คือช่วงระยะ เหตุนี้ ผู้สันทัดการรบ จึงมีพลานุภาพเหี้ยมหาญ มีช่วงระยะสั้น พลานุภาพเหมือนหนึ่งเหนียวน้าวเกาทัณฑ์ช่วงระยะเหมือนหนึ่งปล่อยเกาทัณฑ์สู่ เป้า
การรบจักซับซ้อนสับสน แม้อลผม่านก็มิควรระส่ำระสาย การรบจักชุลมุนวุ่นวาย หากขบวนทัพเป็นระเบียบก็จะมิพ่าย
ความ วุ่นวายเกิดจากความเรียบร้อย ความขลาดกลัวเกิดจากความกล้าหาญ ความอ่อนแอเกิดจากความเข้มแข็ง จักเรียบร้อยหรือวุ่นวาย อยู่ที่การจัดกำลังพล จักกล้าหาญหรือขลาดกลัว อยู่ที่พลานุภาพ จักอ่อนแอหรือเข้มแข็ง อยู่ที่รูปลักษณ์การรบ
ฉะนั้น ผู้สันทัดการเคลื่อนทัพข้าศึก พึงสร้างรูปลักษณ์ให้ข้าศึกต้องคล้อยตาม พึงวางเหยื่อล่อ ให้ข้าศึกรีบฉวย ให้หวั่นไหวด้วยผลประโยชน์ จึ่งพิชิตด้วยกำลัง
ฉะนั้น ผู้สันทัดการรบ พึงแสวงหาจากพลานุภาพ มิพึงเรียกร้องจากผู้อื่น จึงจะสามารถเลือกเฟ้นคนซึ่งใช้พลานุภาพเป็น ผู้ใช้พลานุภาพจักประหนึ่งรุนท่อนซุงและก้อนหิน ธรรมชาติของท่อนซุงและก้อนหิน อยู่ที่ราบก็นิ่ง อยู่ที่ลาดก็เคลื่อน ที่เป็ฯเหลี่ยมก็หยุดที่กลมเกลี้ยงก็กลิ้ง พลานุภาพของผู้สันทัดการรบ จึงประดุจผลักหินกลมลงจากภูเขาสูงแปดพันเซียะ นี้ก็คือพลานุภาพ
ภาคปฏิบัติ
"อันการรบนั้น สู้ศึกด้วยรบสามัญ ชนะด้วยรบพิสดาร"
"สถานะศึกมีเพียงสามัญและพิสดาร สามัญและพิสดารพลิกผัน จึงเห็นมิรู้จบ"
"ผู้สันทัดการรบจึงมีพลานุภาพเหี้ยมหาญ มีจังหวะฉับไว"
"ผู้สันทัดการเคลื่อนทัพข้าศึก พึงสร้างรูปลักษณ์ ให้ข้าศึกคล้อยตาม"
"ผู้ใช้ผลานุภาพ จักประหนึ่งรุนท่อนซุงและก้อนหิน"
บทที่ ๖ ตื้นลึกหนาบาง
ผู้ เข้าสนามรบคอยข้าศึกก่อนย่อมสดชื่น ผู้เข้าสนามรบสู้ศึกฉุกละหุกทีหลังย่อมอิดโรย ฉะนั้น ผู้สันทัดการรบ จึงกระทำต่อผู้อื่นใช่ถูกผู้อื่นกระทำ
ที่ สามารถทำให้ข้าศึกมาเอง ก็เพราะล่อด้วยประโยชน์ที่สามารถทำให้ข้าศึกมิกล้าเข้า ก็เพราะเผยให้เห็นภัย ฉะนั้น ข้าศึกสดชื่นพึงให้อิดโรย อิ่มพึงให้หิว สงบพึงให้เคลื่อน
พึง ดีที่ข้าศึกมิอาจหนุนช่วย พึงรุกที่ข้าศึกมิได้คาดคิด เดินทัพพันลี้มิเหนื่อย เพราะเดินในที่ปลอดคน โจมตีก็ต้องได้เพราะข้าศึกมิอาจป้องกัน รักษาก็ต้องมั่นคง เพราะข้าศึกมิอาจเข้าตี
ฉะนั้น ผู้สันทัดการโจมตี ข้าศึกมิรู้ที่จะตั้งรับ ผู้สันทัดการตั้งรับ ข้าศึกมิรู้ที่จะโจมตี แยบยลแสนจะแยบยล จนมิเห็นแม้วี่แววพิสดารสุดพิสดาร จนไร้สิ้นซึ่งสำเนียง ฉะนั้น จึงสามารถบัญชาชะตากรรมข้าศึก
รุก ก็มิอาจต้านทาน เพราะตีจุดอ่อนข้าศึก ถอยก็มิอาจประชิด เพราะเร็วจนสุดจะไล่ ฉะนั้นเมื่อเราจักรบ แม้ข้าศึกมีป้อมสูงคูลึก ก็จำต้องรบกับเรา เพราะโจมตีจุดที่ข้าศึกต้องช่วย เมื่อเราไม่รบ แม้ป้องกันเพียงขีดเส้นเขต ข้าศึกก็มิอาจรบด้วย เพราะได้ถูกชักนำไปอื่น
ฉะนั้น ให้ข้าศึกเผยรูปลักษณ์แต่เราไร้รูปลักษณ์ เราจึงรวมศูนย์ แต่ข้าศึกกระจาย เรารวมเป็นหนึ่ง ข้าศึกกระจายเป็นสิบ เอาสิบไปตีหนึ่งของข้าศึก เราก็มากแต่ข้าศึกน้อย เมทื่อเอามากไปตีน้อย ผู้ที่เรารบด้วยก็มีจำกัด
พื้นที่ ซึ่งเรากำหนดเป็นสนามรบ มิควรให้รู้ เมื่อมิรู้ ข้าศึกจำต้องเตรียมการมากด้าน เมื่อเตรียมการมากด้าน กำลังที่เรารบด้วยก็น้อย ฉะนั้น เตรียมหน้า หลังก็น้อย เตรียมหลัง หน้าก็น้อย เตรียมซ้าย ขวาก็น้อย เตรียมขวา ซ้ายก็น้อย เตรียมทุกด้าน ทุกด้านก็น้อย ฝ่ายน้อย เพราะเตรียมรับข้าศึก ฝ่ายมาก เพราะให้ข้าศึกเตรียมรับตน
ฉะนั้น เมื่อรู้สนามรบ รู้วันเวลารบ ก็ออกรบได้ไกลพันลี้ หากมิรูสนามรบ มิรู้วันเวลารบ ซ้ายก็มิอาจช่วยขวา ขวาก็มิอาจช่วยซ้าย หน้าก็มิอาจช่วยหลัง หลังก็มิอาจช่วยหน้า จักรบไกลหลายสิบลี้ หรือใกล้ไม่กี่ลี้ได้ไฉน
ตามการคาดคะเนของเรา ชาวแคว้นเย่แม้ทหารจะมาก จักเกิดผลแพ้ชนะได้ไฉน
ฉะนั้น จึงกล่าวว่า ชัยชนะสร้างขึ้นได้ ข้าศึกแม้จะมาก ก็อาจทำให้รบมิได้
ฉะนั้น พึงวินิจฉัยเพื่อรู้แผนซึ่งจะเกิดผลได้เสีย พึงดำเนินการเพื่อรู้เหตุความเป็นไป พึงสังเกตการณ์เพื่อรู้จุดเป็นตาย พึงลองเข้าตีเพื่อรู้ส่วนการเกิน
ฉะนั้น การเผยรูปลักษณ์ชั้นเลิศ จึงปราศจากเค้าเงื่อน เมื่อปราศจากเค้าเงื่อน จารชนที่แฝงตัวก็มิอาจรู้เห็น ผู้มีสติปัญญาก็มิอาจใช้อุบาย
แม้ ชัยชนะจะปรากฎต่อผู้คนเพราะรูปลักษณ์ คนทั้งหลายก็มิอาจรู้ ผู้คนล่วงรู้ว่ารูปลักษณ์ทำให้เราชนะ แต่ไม่รู้รูปลักษณ์ของเราว่าเหตุไฉนจึงชนะ ฉะนั้น ชัยชนะจึงไม่ซ้ำซาก แต่จักมิรู้สิ้นตามรูปลักษณ์
รูป ลักษณ์การรบดุจดั่งน้ำ รูปลักษณ์ของน้ำ เลี่ยงที่สูงลงที่ต่ำ รูปลักษณ์การรบ เลี่ยงที่แข็งตีที่อ่อน น้ำไหลไปตามสภาพพื้นที่การรบชนะตามสภาพข้าศึก ฉะนั้น การรบจึงไม่มีรูปลักณษณ์ตายตัวน้ำ ก็ไม่มีรูปร่างแน่นอน ผู้สามารถเอาชนะขณะที่ข้าศึกเปลี่ยนแปลงเรียกว่าเทพ
ฉะนั้น ห้าธาตุจึงไม่มีธาตุใดชนะตลอดกาล สี่ฤดูก็ไม่อยู่คงที่เสมอไป ดวงตะวันมีสั้นมียาว ดวงเดือนก็มีขึ้นมีแรม
ภาคปฏิบัติ
"ผู้สันทัดการรบ จึงกระทำต่อผู้อื่นใช่ถูกผู้อื่นกระทำ"
"ที่สามารถทำให้บข้าศึกมาเอง ก็เพราะล่อด้วยประโยชน์"
"ที่สามารถทำให้ข้าศึกมิกล้าเข้า ก็เพราะเผยให้เห็นภัย"
"สดชื่นให้อิดโรย"
"อิ่มพึงให้หิว"
"สงบพึงให้เคลื่อน"
"เดินพันลี้มิเหนื่อย เพราะเดินในที่ปลอดคน"
"โจมตีก็ต้องยึดได้ เพราะข้าศึกมิอาจป้องกัน"
"รักษาก็ต้องมั่นง เพราะข้าศึกมิอาจเข้าตี"
"ถอยก็มิอาจประชิด"
"โจมตีจุดที่ข้าศึกต้องช่วย"
"ข้าศึกเผยตัวแต่เราซ่อนแร้ เราจึงรวมแต่ข้าศึกกระจาย"
"เมื่อรู้สนามรบ รู้วันเวลารบ ก็ออกรบได้ไกลพันลี้"
"การเผยรูปลักษณ์ชั้นเลิศ จึงปราศจากเค้าเงื่อน เมื่อปราศจากเค้าเงื่อน จารชนที่แฝงตัวมิอาจรู้เห็น ผู้มีสติปัญญาก็มิอาจใช้อุบาย"
"ชัยชนะไม่ซ้ำซาก แต่จักมิรู้สิ้นตามรูปลักษณ์"
"การรบไม่มีรูปลักษณ์ตายตัว"
บทที่ ๗ การสัประยุทธ์
อัน หลักแห่งการบัญชาทัพนั้น แม่ทัพรับโองการจากประมุข ระดมไพร่รวบรวมพล ตั้งทัพเผชิญข้าศึก ที่ยากคือการชิงชัย ความยากของการชิงชัยอยู่ที่แปลงอ้อมให้เป็นตรง แปลงภยันตรายให้เป็นประโยชน์ ฉะนั้นจึงพึงเดินทางอ้อม แล้วล่อด้วยประโยชน์ เคลื่อนพลทีหลัง ถึงที่หมายก่อน นี้คือผู้รู้กลยุทธ์อ้อมตรง
ฉะนั้น การชิงชัยมีประโยชน์ การชิงชัยมีภัย ยกทัพทั้งกองไปชิงประโยชน์ จักไม่ทันกาล ทิ้งยุทโธปกรณ์ไปชิงประโยชน์ จักสูญเสียสัมภาระ
เหตุ นี้ แม้นเก็บเสื้อเกราะเร่งเดินทัพ ไม่หยุดทั้งกลางวันกลางคืน รีบรุดเป็นทวีคูณ เพื่อไปชิงประโยชน์ในร้อยลี้ แม่ทัพทั้งสามจักเป็นเชลย เพราะผู้แข๋งแรงจะขึ้นหน้า ผู้เหนื่อยล้าจะตกหลัง การนี้จะมีทหารถึงที่หมายเพียงครึ่งเดียว แม้นเพื่อชิงประโยชน์ในสามสิบลี้ ก็จะมีทหารถึงที่หมายเพียงสองในสาม
เหตุนี้ กองทัพที่ขาดยุทธสัมภาระจักล่ม ขาดเสบียงอาหารจักล่ม ขาดคลังสำรองจักล่ม
ฉะนั้น มิรู้เจตจำนงเหล่าเจ้าครองแคว้น ก็มิพึงคบหามิรู้ลักษณะป่าเขา ที่คับขันอันตราย ห้วยหนองคลองบึง ก็มิอาจเดิมทัพ ไม่ใช้มัคคุเทศน์พื้นเมือง ก็มิได้ประโยชน์จากภูมิประเทศ
ฉะนั้น การศึกจึงกำหนดด้วยเล่ห์ เคลื่อนทัพด้วยประโยชน์ กระจายหรือรวมพลตามศึก
ฉะนั้น จึงรวดเร็วดังหนึ่งพายุ เชื่องช้าดังหนึ่งไม้ลู่ รุกไล่ดังหนึ่งเพลิงผลาญ ตั้งมั่นดังหนึ่งภูผา รู้ยากดังหนึ่งความมืด เคลื่อนทัพดังหนึ่งฟ้าคำรณ ได้บ้านให้แบ่งสินศึก ได้เมืองให้ปูนบำเหน็จประมาณการแล้วจึงเคลื่อน ผู้รู้กลยุทธ์อ้อมตรงก่อนจักชนะ นี้คือหลังแห่งการสัประยุทธ์
"ตำรา การทหาร" กล่าวว่า "ส่งเสียงไม่ได้ยิน จึงใช้ฆ้องกลอง แลมองมิได้เห็น จึงใช้ธงทิว" อันฆ้องกลองและธงทิวนั้นเพื่อให้หูตาไพร่พลเป็นหนึ่งเดียว เมื่อไพร่พลเป็นหนึ่งเดียว ผู้กล้าหาญก็ไม่บุกแต่ลำพัง ผู้ขลาดกัวก็ไม่ถอยแต่คนเดียว นี้คือหลักแห่งการบัญชาไพร่พล ฉะนั้น รบกลางคืนจึงมากด้วยแสงไฟเสียงกลอง รบกลางวันจึงมากด้วยธงธวัชสะบัดโบก ดังนี้ จึงเปลี่ยนแปลงหูตาไพร่พลได้
ฉะนั้น สามทัพอาจเสียขวัญ แม่ทัพอาจท้อแท้ โดยเหตุที่ยามเช้ามักฮึกเหิม ยากสายจักอิดโรย ยามเย็นก็สิ้นแรง ฉะนั้นผู้สันทัดการบัญชาทัพ พึงเลี่ยงความฮึกเหิม เข้าตีเมื่ออิดโรย นี้คือคุมขวัญ เอาสงบรอปั่นป่วน เอาเงียบรอโกลาหล นี้คือคุมจิต เอาใกล้รอไกล เอาสบายรอเหนื่อย เอาอิ่มรอหิว นี้คือคุมพลัง อย่าตีสกัลทัพซึ่งธงทิวปลิวไสว อย่าโจมตีทัพซึ่งตั้งอยู่อย่างผ่าเผย นี้คือคุมเปลี่ยนแปลง
ฉะนั้น หลักแห่งการบัญชาทัพ ที่สูงอย่าบุก อิงเนินอย่ารุก แสร้งถอยอย่าไล่ แกร่งกล้าอย่าตี อ่อยเหยื่ออย่ากิน คินถิ่นอย่าขวาง ล้อมพึงเปิดช่อง จนตรอกอย่าเค้น นี้คือหลักแห่งการสัประยุทธ์
ภาคปฏิบัติ
"ความยากของการชิงชัย อยู่ที่แปลงอ้อมให้เป็นตรง แปลงภยันตรายให้เป็นประโยชน์ เคลื่อนพลทีหลังถึงที่หมายก่อน"
"การชิงชัยมีประโยชน์ การชิงชัยมีภัย"
"สามทัพอาจเสียขวัญ แม่ทัพอาจท้อแท้"
"ยามเข้ามักฮึกเหิม ยามสายจักอิดโรย ยามเย็นก็สิ้นแรง"
"ที่สูงอย่าบุก อิงเนินอย่ารุก"
"แสร้งถอยอย่าไล่ อ่อยเหยื่ออย่ากิน"
"คืนถิ่นอย่าขวาง"
"ล้อมพึงเปิดช่อง จนตรอกอย่าเค้น"
บทที่ ๘ เก้าลักษณะ
อัน หลักแห่งการบัญชาทัพนั้น แม่ทัพรับโองการจากประมุข ระดมไพร่รวบรวมพล พื้นที่วิบากไม่ตั้งค่าย พื้นที่คาบเกี่ยวพึงคบมิตร พื้นที่กันดารอย่าหยุดทัพ พื้นที่โอบล้อมใช้กลยุทธ์ พื้นที่มรณะต้องสู้ตาย
เส้นทางบางสายไม่ผ่าน กองทัพบางกองไม่ดี หัวเมืองบางเมืองไม่บุก ชัยภูมิบางแห่งไม่ชิง โองการบางอย่างไม่รับ
ฉะนั้น แม่ทัพผู้แจ้งในประโยชน์แห่งเก้าลักษณะ จึงเป็นผู้รู้การศึก แม่ทัพผู้ไม่แจ้งผลแห่งเก้าลักษณะ แม้จะรู้ภูมิประเทศ ก็จักมิได้ประโยชน์จากพื้นที่ การบัญชาทัพมิรู้กลวิธีแห่งเก้าลักษณะ แม้จะแจ้งในผลดีทั้งห้าก็นำทัพมิได้
เหตุ นี้ การคิดคำนึงของผู้ฉลาด จึงใคร่ครวญทั้งผลดีผลเสีย ใคร่ครวญผลดี จักทำให้เชื่อมั่นในภารกิจ ใคร่ครวญผลเสีย จักปัดเป่าอันตรายให้หายสูญ
เหตุนี้ พึงให้เจ้าครองแคว้นอื่นสยบด้วยภยันตราย ให้เจ้าครองแคว้นอื่นรับใช้ด้วยอิทธิพล ให้เจ้าครองแคว้นอื่นขึ้นต่อด้วยประโยชน์
ฉะนั้น หลักแห่งการบัญชาทัพ อย่าหวังข้าศึกไม่มา เราพึงเตรียมการให้พร้อม อย่าหวังข้าศึกไม่ตี เราพึงทำให้มิอาจโจมตี
ฉะนั้น แม่ทัพจึงมีอันตรายห้าประการ สู้ตายอาจถูกฆ่า กลัวตายอาจถูกจับ ฉุดเฉียวอาจถูกข่ม ซื่อตรงอาจถูกหยาม รักราษฎร์อาจถูกกวน ห้าประการนี้ เป็นความผิดของแม่ทัพ เป็นภัยแก่การบัญชา กองทัพล่มจมแม่ทัพมอดม้วย ก็ดว้ยอันตรายห้าประการนี้ จักไม่พินิจพิเคราะห์มิได้
ภาคปฏิบัติ
"พื้นที่วิบากไม่ตั้งค่าย พื้นที่กันดารอย่าหยุดทัพ"
"พื้นที่คาบเกี่ยวพึงคบมิตร"
"พื้นที่โอบล้อมใช้กลยุทธ์"
"พื้นที่มรณะต้องสู้ตาย"
"เส้นทางบางสายไม่ผ่าน"
"กองทัพบางกองไม่ดี"
"หัวเมืองบางเมืองไม่บุก ชัยภูมิบางแห่งไม่ชิง"
"โองการบางอย่างไม่รับ"
"การคิดคำนึงของผู้ฉลาด จึงใคร่ครวญทั้งผลดีผลเสีย"
"อย่าหวังข้าศึกไม่มา อย่าหวังข้าศึกไม่ตี"
บทที่ ๙ การเดินทัพ
อันการบัญชาทัพวินิจฉัยข้าศึกนั้น ข้ามภูพึงอิงหุบห้วย ตั้งทัพที่สูงโล่งแจ้ง อยู่สูงอย่าไต่ขึ้นตี นี้คือการบัญชาในเขตเขา
ข้าม น้ำพึงรีบผละห่าง ข้าศึกข้ามน้ำเข้าตี อย่าออกปะทะกลางน้ำ ให้ขึ้นฝั่งกึ่งหนึ่งจึงดี จักได้ เมื่อประสงค์จะรบ อย่ารับศึกใกล้น้ำ ตั้งแนวที่สูงโล่งแจ้ง อย่าตั้งค่ายใต้น้ำ นี้คือการบัญชาทัพในเขตน้ำ
ข้าม ที่ลุ่มโคลนตม พึงเร่งจากไปอย่าช้า แม้ต้องรบในที่ลุ่มโคลนตม ต้องยึดแหล่งน้ำมีหญ้าอังอิงแมกไม้ นี้คือการบัญชาทัพในที่ลุ่มโคลนตม
ตั้งทัพที่ราบพึงอยู่ที่โล่ง หลังอิงที่สูง ให้หน้าต่ำหลังสูง นี้คือการบัญชาทัพในที่ราบ
ผลการบัญชาทัพสี่ลักษณะนี้ คือเหตุซึ่งจักรพรรดิหวงตี้ได้ชัยแก่สี่กษัตริย์
อัน การตั้งทัพมักชอบที่สูงชังที่ต่ำ รักที่แจ้งเกลียดที่ทึง มีเสบียงสมบูรณ์ชัยภูมิมั่นคง ไพร่พลจักปราศจากโรคภัย นี้คือเหตุ พึงชนะตั้งทัพแถบเนินเขาทำนบน้ำ พึงหันหน้าหาที่แจ้งเอาหลังพิง ซึ่งการศึกได้ประโยชน์ ก็เพราะภูมิประเทศช่วย
ฝนตกต้นน้ำ ฟองน้ำลอยมา ผู้จักลุยข้าม พึงรอน้ำนิ่ง
พื้นที่ ซึ่งเป็นฟ้วยเหว เป็นก้นกระทะ เป็นขุนเขาโอบ เป็นป่ารกชัฎ เป็นปลักโคลนตม เป็นหุบผาขาด ให้รีบหลีกเร้น อย่าได้กล้ำกราย เราพึงห่างออก ให้ข้าศึกชิด เราหันหน้าหา ให้ข้าศึกพิง
เดินทัพในที่คับขัน เป็นบึงอ้อกอแขม เป็นข่าเขาซับซ้อน พึงตรวจค้นซ้ำซากถี่ถ้วน นี้เป็นแหล่งซุ่มตีสอดแนม
ข้า ศึกใกล้แต่เงียบ เพราะได้ชัยภูมิ อยู่ไกลแต่ท้ารบ เพราะล่อให้ประชิด ตั้งทัพในที่ราบ เพราะได้เปรียบเรา แมกไม้สั่นไหว เพราะบุกเข้ามา กอหญ้าขวางรก เพราะให้ฉงน ฝูงนกบินว่อน เพราะดักซุ่มตี ส่ำสัตว์แตกตื่น เพราะเคลื่อนทัพใหญ่ ฝุ่นคลุ้มปลายเรียว เพราะรถรบเคลื่อน ฝุ่นต่ำแผ่กว้าง เพราะพลเท้ารุก ฝุ่นเป็นเส้นตรง เพราะตัดไม่ฟืน ฝุ่งบางกระจาย เพราะเตรียมตั้งค่าย
วาจานอบน้อม แต่เตรียมพร้อมคึกคัก เพราะมีแผนบุก วาจาแข็งกร้าวทำประชิดติดพัน เพราะเตรียมจะถอย รถรบนำหน้า แยกเป็นปีกกา เพราะเตรียมสู้รบ ขอเจรจาสันติโดยมิได้นัดหมาย เพราะมีอุบาย พลเท้าาแปรขยวนรถรบรายเรียง เพราะใคร่จะรบกึ่งรุกกึ่งถอย เพราะมุ่งล่อลวง
ยืน อาวุธยันกาย เพราะความหิวโหย ตักน้ำแย่งดื่ม เพราะความกระหาย ได้เปรียบไม่รุก เพราะความเหนื่อยอ่อน นกจับเป็นฝูง เพราะค่ายว่างเปล่า ร้องผวายามค่ำ เพราะความหวาดกลัว วุ่นวายในค่าย เพราะแม่ทัพไม่เข้ม ธงทิวโอนเอน เพราะความปั่นป่วน นายทัพฉุนเฉียว เพราะความอิดโรย เอาเสียงเลี้ยงม้าฆ่ากินเนื้อ ไพร่พลทิ้งเครื่องครัวไม่ยอมกลับค่ายพัก เพราะความจนตรอก ไพร่พลจับกลุ่มสุมหัว ซุบซิบนินทา เพราะขาดศรัทธาแม่ทัพ ตกรางวัลบ่อยครั้ง เพราะหมดปัญญา ลงโทษบ่อยครั้ง เพาะเข้าตาจน แม่ทัพเหี้ยมเกรียมแต่กลับกลัวไพร่พลภายหลัง เพราะความโฉดเขลา ส่งทูตมาคำนับ เพราะใคร่สงบศึก ข้าศึกบุกอย่างขุ่นเคืองแต่กลับรั้งรอไม่รบ ทั้งไม่ถอนตัวกลับ พึงคอยสังเกตอย่างระมัดระวัง
การศึกใช่ไพร่พลมากจะดี สำคัญอย่าสุ่มเสียง มีกำลังพอรบ คาดคะแนข้าศึกแม่นยำ ก็ชนะได้ ผู้ไร้สติปัญญาซ้ำปรามาสข้าศึก จักตกเป็นเชลย
ไพร่ พลยังไม่ไกล้ชิดก็ลงโทษ จักกระด้างกระเดื่อง กระด้างกระเดื่องก็ใช้ยาก ไพร่พลใกล้ชิดไม่ยอมรับการลงโทษ ก็มิพึงใช้ ฉะนั้น จักพึงกล่อมเกลาด้วยคุณธรรม ให้พร้อมเพรียงด้วยวินัย นี้คือเหตุซึ่งจักได้ชัยชนะ ฝึกไพร่พลฟังบัญชาเป็นวิสัย ไพร่พลจักจงรัก มิฝึกไพร่พลฟังบัญชาเป็นวิสัย ไพร่พลจักกระด้างกระเดื่อง การฟังบัญชาเป็นวิสัย นี้คือแม่ทัพสมานฉันท์กับไพร่พล
ภาคปฏิบัติ
"การบัญชาทัพในเขตเขา"
"การบัญชาทัพในเขตน้ำ"
"การบัญชาทัพในที่ลุ่มโคลนเลน"
"การบัญชาทัพในที่ราบ"
"การตั้งทัพมักชอบที่สูงชังที่ต่ำ รักที่แจ้งเกลียดที่ทึบ มีเสบียงสมบูรณ์ชัยภูมิมั่นคง"
"ฝนตกต้นน้ำ ฟองน้ำลอยมา ผู้จักลุยข้าม พึงรอน้ำนิ่ง"
"วาจานอบน้อมแต่เตรียมพร้อมคึกคัก เพราะมีแผนบุก"
"วาจาแข็งกร้าวทำประชิดติดพัน เพราะเตรียมจะถอย"
"ตกรางวัลบ่อยครั้ง เพราะหมดปัญญา ลงโทษบ่อยครั้ง เพราะเข้าตาจน"
"รางวัลดั่งขุนเขา ลงโทษดั่งสายน้ำ"
"การศึกใช่ไพร่พลมากจะดี สำคัญอย่าสุ่มเสี่ยง มีกำลังพอรบ คาดคะเนข้าศึกแม่นยำ ก็ชนะได้"
"พึงกล่อมเกลาด้วยคุณธรรม ให้พร้อมเพรียงด้วยวินัย"
"ฝึกไพร่พลฟังบัญชาเป็นวิสัย นี้คือแม่ทัพสมานฉันท์กับไพร่พล"
บทที่ ๑๐ ภูมิประเทศ
อันภูมิประเทศนั้น มีพื้นที่สะดวก มีพื้นที่ซับซ้อน มีพื้นที่ประจัน มีพื้นที่เล็กแคบ มีพื้นที่คับขัน มีพื้นที่ห่างไกล
เราไปก็ได้ เขามาก็ได้ เรียกว่าสะดวก พื้นที่สะดวกเยี่ยงนี้ พึงยึดที่สูงโล่งแจ้งก่อน รักษาเส้นทางเสบียง ก็รบจักชนะ
ไป ได้ แต่ถอยกลับยาก เรียกว่าซับซ้อน พื้นที่ซับซ้อน เยี่ยงนี้ หากข้าศึกไม่ระวัง ออกตีจักชนะ หากข้าศึกเตรียมพร้อม ออกตีไม่ชนะ ถอยกลับก็ลำบาก ไม่เป็นผลดี
เรา ออกตีไม่ดี เขาออกตีก็ไม่ดี เรียกว่าประจัน พื้นที่ประจันเยี่ยงนี้ แม้สภาพข้าศึกเป็นประโยชน์แก่เรา เราก็ไม่ออกตี พึงนำทัพแสร้งถอย ให้ข้าศึกรุกไล่มากึ่งหนึ่ง จึงหวนเข้าตี เป็นผลดี
พื้นที่ เล็กแคบ เราพึงยึดก่อน วางกำลังหนาแน่นรอคอย ข้าศึก หากข้าศึกยึดก่อนวางกำลังหนาแน่นอย่าเข้าตี หากกำลังข้าศึกเบาบางก็จงเข้าตี
พื้นที่คับขัน เราพึงยึดก่อน เลือกที่สูงโล่งแจ้งรอคอยข้าศึก หากข้าศึกยึดก่อน ให้ถอยเสีย อย่ารบด้วย
พื้นที่ห่างไกล กำลังก้ำกึ่ง ยากจักท้ารบ ฝืนรบไม่เป็นผลดี
หกประการนี้ คือหลักแห่งการใช้ภูมิประเทศ เป็นหน้าที่สำคัญของแม่ทัพ จักไม่พินิจพิเคราะห์มิได้
ฉะนั้น ความปราชัยของกองทัพ จึงมีที่เตลิดหนี มีที่หย่อนยาน มีที่ล่มจม มีที่พังทลาย มีที่ปั่นป่วน มีที่ยับเยิน หกประการนี้ มิใช่ภัยจากฟ้า เป็นความผิดของแม่ทัพ
กำลังก้ำกึ่ง กลับเอาหนึ่งไปรบสิบ ทัพจึงเตลิดหนี
ไพร่พลแข็งแกร่งแต่นายกองอ่อน ทัพจึงหย่อนยาน
นางกองแข็งแต่ไพร่พลอ่อน ทัพจึงล่มจม
ขุนพลฉุนเฉียงไม่ฟังบัญชา เผชิญศึกก็โทสะออกรบพลการ แม่ทัพไม่รู้ความสามารถของขุนพล ทัพจึงพังทลาย
แม่ทัพอ่อนแอไม่เขั้มงวด การฝึกอบรมไม่จะแจ้ง นายกองและไพร่พลมิรู้ที่จะปฏิบัติ การจัดกำลังก็สับสน ทัพจึงปั่นป่วน
แม่ทัพคาดคะเนข้าศึกมิได้ เอาน้อยรบมาก เอาอ่อนตีแข็ง ไพร่พลมิเฟ้นที่กล้า ทัพจึงยับเยิน
หกประการนี้ คือหนทางแห่งความปราชัย เป็นหน้าที่สำคัญของแม่ทัพ จักไม่พินิจพิเคราะห์มิได้
อัน ลักษณะภูมิประเทศนั้น คือสิ่งช่วยการศึก การคาดคะเนข้าศึกเพื่อชิงชัย การพิจารณาพื้นที่คับขันอันตรายหรือไกลใกล้ จึงเป็นคุณสมบัติของแม่ทัพเอก ผู้รู้สิ่งเหล่านี้ออกรบจักชนะ ผู้ไม่รู้สิ่งเหล่านี้ออกรบจักแพ้
ฉะนั้น เมื่อวิถีการรบจักชนะ แม้เจ้านายห้ามรบ ก็พึงรบเมื่อวิถีการรบจักไม่ชนะ แม้เจ้านายให้รบ ก็มิพึงรบ ฉะนั้น รุกไม่แสวงหาชื่อเสียง ถอยไม่หลงเลี่ยงอาญา มุ่งปกป้องซึ่งทวยราษฎร์เอื้อประโยชน์แด่เจ้านาย นับเป็นดวงมณีของชาติ
ใส่ ใจไพร่ลพดุจทารก ก็จักร่วมลุยห้วยเหว ใส่ใจไพร่พลดุจบุตรรัก ก็จักร่วมเป็นร่วมตาย ถนอมแต่ใช้ไม่ได้ รักแต่สั่งไม่ได้ ผิดแต่คุมไม่ได้ ก็จักประดุจเด็กดื้อถือแต่ใจ ใช้การมิได้
รู้ ไพร่พลเรารบได้ แต่ไม่รู้ข้าสึกตีไม่ได้ ชนะกึ่งเดียวรู้ข้าศึกตีได้ แต่ไม่รู้ไพร่พลเรารบไม่ได้ ชนะกึ่งเดียว รู้ข้าศึกตีได้ แต่ไม่รู้ภูมิประเทศรบไม่ได้ ชนะกึ่งเกียว ฉะนั้น ผู้รอบรู้การศึก จักเคลื่อนไหวได้ไม่หลง จักทำการได้ไม่อับจน ฉะนั้นจึงกล่าวว่า รู้เขารู้เขา จักชนะมิพ่าย รู้ฟ้ารู้ดิน จักชนะมิสิ้น
ภาคปฏิบัติ
"อันลักษณะภูมิประเทศนั้น คือสิ่งช่วยการศึก"
"การ พิจารณาพื้นที่คับขันอันตรายหรือไกลใกล้ จึงเป็นคุณสมบัติของแม่ทัพเอก ผู้รู้สิ่งเหล่านี้ออกรบจักชนะ ผู้ไม่รู้สิ่งเหล่านี้ออกรบจักแพ้"
"เมื่อวิถีการรบจักชนะ แม้เจ้านายห้ามรบ ก็พึงรบ เมื่อวิถีการรบจักไม่ชนะ แม้เจ้านยให้รบ ก็มิพึงรบ"
"รุกไม่แสวงหาชื่อเสียง ถอยไม่หลบเลี่ยงอาญา มุ่งปกป้องซึ่งทวยราษฎร์"
"ใส่ใจไพร่พลดุจบุตรรัก ก็จักร่วมเป็นร่วมตาย"
"รู้ฟ้ารู้ดิน จักชนะมิสิ้น"
บทที่ ๑๑ เก้ายุทธภูมิ
อัน หลักแห่งการบัญชาทัพนั้น มียุทธภูมิซ่านเซ็น มียุทธภูมิเบา มียุทธภูมิยื้อแย่ง มียุทธภูมิคาบเกี่ยว มียุทธภูมิสัญจร มียุทธภูมิหนัก มียุทธภูมิวิบาก มียุทธภูมิโอบล้อม มียุทธภูมิมรณะ
เจ้าครองแคว้นรบในแดนตก เรียกว่ายุทธภูมิซ่านเซ็น
รุกเข้าแดนผู้อื่นไม่ลึก เรียกว่า ยุทธภูมิเบา
เราได้ก็มีประโยชน์ เขาได้ก็มีประโยชน์ เรียกว่ายุทธภูมิยื้อแย่ง
เราไปก็ได้ เขามาก็ได้ เรียกว่ายุทธภูมิคาบเกี่ยว
เขตแดนต่อแดนสามฝ่าย ใครถึงก่อนจั้กได้มิตรมากมายในปฐพี เรียกว่ายุทธภูมิสัญจร
รบลึกเข้าแดนผู้อื่น ทิ้งเมืองมากหลายไว้เบื้องหลัง เรียกว่า ยุทธภูมิหนัก
เดินทัพในป่าเขา ที่คับขันตราย ห้วยหนองคลองบึงเส้นทางยากเข็ญเหล่านี้ เรียกว่ายุทธภูมิวิบาก
ทหารเข้าเล็กคาบ ทางกลับวกวน เขากำลังน้อยสามารถตีเรากำลังมาก เรียกว่ายุทธภูมิโอบล้อม
รบไม่คิดชีวิตก็รอด รบไม่เต็มกำลังก็สิ้น เรียกว่ายุทธภูมิมรณะ
เหตุ นี้ ในยุทธภูมิซ่านเซ็นอย่ารบ ในยุทธภูมิเบาอย่าหยุด ในยุทธภูมิยื้อแย่งอย่าฝืน ในยุทธภูมิคาบเกี่ยวฟังหนุนเนื่อง ในยุทธภูมิสัญจรพึงคบมิตร ในยุทธภูมิหนักพึงกวาดต้อน ในยุทธภูมิวาบากพึงรีบผ่าน ในยุทธภูมิโอบล้อมใช้อุบาย ในยุทธภูมิมรณะรบสุดชีวิต
ผู้ สันทัดการบัญชาทัพแต่โบราณกาล สามารถตัดหน้าหลังข้าศึกขาดจากกัน ทัพใหญ่ทัพเล็กมิอาจพึ่งกัน นายกับพลมิอาจช่วยกัน หน่วยบนหน่วยล่างมิอาจรวมกัน ไพร่พลกระเจิงไม่เป็นกลุ่มก้อน รวมพลได้ก็ไม่ครบถ้วน ได้ประโยชน์ก็รบ ไม่ได้ประโยชน์ก็หยุด ใคร่ถามว่า "ข้าศึกมากเป็นขบวนจะบุกมา พึงทำฉันใด" ตอบว่า "ยึดจุดสำคัญข้าศึกก่อน จักคล้อยตามเรา"
การทำศึกที่สำคัญที่รวดเร็ว ฉวยโอกาสข้าศึกไม่รู้ตัว บุกในเส้นทางไม่คาดคิด ตีจุดที่มิได้ป้องกัน
อนหลัก แห่งการรบเข้าแดนข้าศึกนั้น เมื่อลึกจะมุ่งมั่น ข้าศึกมิอาจต้าน กว้านเสบียงจากแหล่งอุดม สามทัพจักมีอาหารพอเลี้ยงไพร่พลอย่าให้เหนื่อยยาก บำรุงขวัญสะสมกำลัง เคลื่อนพลพึงใช้อุบาย จนมิอาจคาดการณ์ ทุ่มไพร่พลสู่ที่อับ ก็ยอมตาย มิยอมพ่าย เมื่อสู้ตายย่อมได้ผล ไพร่พลจึ่งรบเต็มกำลัง แม้ตกอยู่ในอันตรายก็มิพรั่น หมดทางไปใจยิ่งมั่นคง ยิ่งลึกยิ่งเหนียวแน่น เมื่อจำเป็นจักสู้
เหตุ นี้ ไพร่พลมิต้องกำชับก็รู้ระวัง มิต้องบอกกล่าวก็ทำสำเร็จ มิต้องบังคับก็ร่วมใจกาย มิต้องสั่งการ ก็เคร่งวินัย ปราบความงมงาย คลายความกังขา แม้รบจนตัวตายก็มิหลีกหนี
ไพร่ พลเราไร้ทรัพย์สิน ใช่เพราะเกลียดสมบัติ ไม่กลัวตายใช่เพราะชังชีวิต ในวันออกคำสั่งร ไพร่พลที่นั่งน้ำตาก็ชุ่มเสื้อ ที่นอนน้ำตาก็อาบแก้ม แม้จะไปรบในที่อับจน ก็หาญกล้าดุจจวนจูฉาวกุ้ย
ฉะนั้น ผู้สันทัดการบัญชาทัพ ก็จักเป็นเช่นส้วนหราง อันส้วยหรางนั้น คืออสรพิษเขาฉางซาน ตีหัวหางจักฉก ตีหางหัวจักฉก ตีท่อนกลางหัวหางฉกพร้อมกัน ใคร่ถามว่า "จักให้กองทัพเป็นดั่งส้วยหรางได้หรือไม่" ตอบว่า "ได้" เหมือนชาวแคว้นอู๋กับแคว้นเย่เกลียดชังกัน ครั้นลงเรือลำเดียวกันข้ามฟาก เจอพายุ ก็ช่ยยกัน ประหนึ่งแขนซ้ายขวา เหตุนี้ การผูกม้าฝังล้อรถเพื่อเรียกขวัญ จึงมิพึงยึดถือความหาญกล้าเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว เกิดจากการบัญชาอันควรเข้มแข็ง หรืออ่อนแอก็รบเต็มกำลัง เพราะรู้จักใช้ภูมิประเทศ ฉะนั้น ผู้สันทัดการบัญชาทัพ จึงควบคุมกองทัพได้ประดุจคนคนเดียว นี้เป็นความจำเป็น
อัน หน้าที่ของแม่ทัพ พึงเยือกเย็นเพื่อขบคิด พึงเที่ยงธรรมเพื่อปกครอง สามารถอำพรางหูตาไพร่พล ให้มิรู้ความ ยามเปลี่ยนภารกิจปรับกลอุบาย ก็ไม่มีผู้ใดสำนึก ยามเปลี่ยนที่ตั้งค่าย ยกทัพวกวน ก็ไม่มีผู้ใดตระหนัก ยามมอบหน้าที่ไพร่พล ก็เหมือนให้ไต่ที่สูงแล้วชักบันได ยามรุกเข้าแดนเจ้าครองแคว้นอื่น ก็ประดุจน้าวลั่นเครื่องยิงเกาทัณฑ์ เผาเรือทุบหม้อข้าว ดังหนึ่งต้อนฝูงแกะ ขับให้ไปไล่ให้มา มิล่วงรู้ความประสงค์ รวรวมไพร่พลสามทัพ ส่งยังที่อันตราย นี้คือหน้าที่แม่ทัพ
การเปลี่ยนแปลงของเก้ายุทธภูมิ ประโยชน์ของการยืดหยุ่น วิสัยของจิตมนุษย์ จักไม่พินิจพิเคร่ะห์มิได้
อัน หลักแห่งการรุกเข้าแดนข้าศึกนั้น เมื่อลึกจะมุ่งมั่น เมื่อตื้นจะซ่านเซ็น การกรีฑาทัพจากบ้านเมืองข้ามพรมแดนไปเป็นยุทธภูมิอับ ไปมาสะดวก เป็นยุทธภูมิสัญจร บุกลึกเข้าไปเป็ยุทธภูมิหนัก บุกค่อนข้างตื้นเป็นยุทธภูมิเบา เบื้องหลังคับขันเบื้องหน้าเล็กแคบ เป็นยุทธภูมิโอบล้อม ไปไหนมิได้ เป็นยุทธภูมิมรณะ
เหตุ นี้ ในยุทธภูมิซ่านเซ็น เราพึงรวมใจให้เป็นหนึ่งในยุทธภูมิเบา เราพึงทำให้เชื่อมต่อกัน ในยุทธภูมิยื้อแย่ง เราพึงอ้อมไปหลังข้าศึก ในยุทธภูมิคาบเกี่ยว เราพึงรักษาให้เข้มงวด ในยุทธภูมิสัญจร เราพึงควบมิตรให้แน่นแฟ้น ในยุทธภูมิหนัก เราพึงให้อาหารไม่ขาดตอน ในยุทธภูมิวิบาก เราพึงเร่งเดินทัพให้พ้น ในยุทธภูมิโอบล้อม เราพึงอุดช่องโหว่ให้แน่น ให้ยุทธภูมิมรณะ เราพึงแสดงว่ายอมตาย ฉะนั้น จิตใจของไพร่พล ถูกล้อมก็ต้าน จำเป็นก็สู้ คับขันก็ฟังบัญชา
เหตุ นี้ หากมิรู้เจตจำนงเจ้าครองแคว้น ก็มิพึงคบหา มิรู้ลักษณะป่าเขา ที่คับขันอันตราย ห้วยหนองคลองบึง ก็มิอาจเดินทัพ ไม่ใช้มัคคุเทศก์พื้นเมือง ก็มิได้ประโยชน์จากภูมิประเทศ ผลดีชั่วของเก้ายุทธภูมิ มิรู้แม้เพียงหนึ่งเดียว ก็มิใช่กองทัพของผู้พิชิต อันกองทัพของผู้พิชิตนั้น เมื่อบุกประเทศใหญ่ ทวยราษฎร์ก็มิทันรวมพล ครั้นข่มศัตรูดวยแสนยานุภาพ การผูกมิตรก็มิสัมฤทธิ์ผล เหตุนี้ จึงมีจำต้องชิงผูกมิตรในปฐพี มิจำต้องเสริมอำนาจในแผ่นดิน เชื่อในกำลังตน ครั้นข่มศัตรูด้วยแสนยานุภาพ ก็จักยึดเมือง ล่มประเทศนั้นได้ การให้รางวัลเกินระเบียบ ออกคำสั่งนอกกำหนด จักบัญชาไพร่พลสามทัพประหนึ่งคนคนเดียว ให้ปฏิบัติภารกิจ ก็มิต้องชี้แจง ให้ช่วงชิงผลประโยชน์ ก็มิต้องแจ้งภัย ส่งไปที่ม้วยจึงอยู่ ตกในที่ตายจึงเป็น ไพร่พลตกอยู่ในอันตราย จึ่งจักรู้แพ้รู้ชนะ
ฉะนั้น การบัญชาทัพ อยู่ที่แสร้งคล้อยตามข้าศึก ทะลวงข้าศึกในจุดเดีย วไล่สังหารขุนพลพันลี้ นี้คือที่ว่า ความแยบยลเป็นผลให้งานสำเร็จ
เหตุ นี้ เมื่อกำหนดการศึกแล้ว พึงปิดด่านตรวจสาร ไม่ส่งทูตแก่กัน ประมาณการณ์รอบคอบในศาลเทพารักษ์ เพื่อวินิจแผนรบ เมื่อข้าศึกเปิดโอกาส พึงรีบโหมบุก รุกยึดจุดสำคัญก่อน อย่านัดวันประจัญบาน พึงปรับแผนตามภาวะข้าศึก เพื่อรบแตกหัก เหตุนี้ พึงสงบเยี่ยงสาวพรหมจารีในชั้นแรก เมื่อข้าศึกเปิดช่อง จึ่งเร็วสุดดุจกระต่ายหลุดบ่วงในภายหลัง ข้าศึกต้านก็มิทัน
ภาคปฏิบัติ
"เก้ายุทธภูมิ"
"ยุทธภูมิซ่านเซ็น ยุทธภูมิเบา"
"ยุทธภูมิยื้อแย่ง"
"ยุทธภูมิสัญจร"
"ยุทธภูมิหนัก"
"ยุทธภูมิเบา"
"ยุทธภูมิวิบาก"
"ยุทธูมิโอบล้อม"
"ยุทธภูมิมรณะ"
"ได้ประโยชน์ก็รบ ไม่ได้ประโยชน์ก็หยุด"
"การทำศึกสำคัญที่รวดเร็ว ฉวยโอกาสข้าศึกไม่รู้ตัว บุกในเส้นทางไม่คาดคิด ตีจุดที่มิได้ป้องกัน"
"ส่งไปที่ม้วยจึงอยู่ ตกในที่ตายจึงเป็น ไพร่พตกอยู่ในอันตราย จึ่งจักรู้แพ้รู้ชนะ"
"ทะลวงข้าศึกในจุดเดียว"
"พึงสงบเยี่ยงสาวพรหมจารีในชั้นแรก เร็วรุดดุจกระต่ายหลุดบ่วงในภายหลัง"
บทที่ ๑๒ โจมตีด้วยเพลิง
อันการโจมตีด้วยเพลิงมีห้า หนึ่งคือเผาไพร่พล สองคือเผายุ้งฉาง สามคือเผายุทธสัมภาระ สี่คือเผาคลังพัสดะ ห้าคือเผาอุปกรณ์ขนส่ง
ใช้เพลิงพึงดูโอกาส ของใช้พึงเตรียมให้พร้อม วางเพลิงพึงดูเวลา จุดเพลิงพึงกำหนดวัน
ที่ว่าเวลา คือความแห้งแล้งของอากาศ ที่ว่าวัน คือดวงจันทร์โคจรไปถึงตำแหน่ง จี ปี้ อี้ เจิ่น อันสี่ตำแหน่งนี้เป็นวันลมจัด
อัน การโจมตีด้วยเพลิงนั้น พึงใช้กำลังพลรุกประสาน ตามลักษณะเพลิงทั้งห้า เพลิงไหม้จากภายใน พึงรุกประสานจากภายนอกโดยเร็ว เพลิงไหม้ข้าศึกสงบเรียบ อย่ารออย่าบุก เมื่อเพลิงไหม้ร้อนแรง ควรบุกให้บุก ไม่ควรบุกให้ยั้ง เพลิงวางจากภายนอกได้ อย่ารอจากภายใน ให้วางเพลิงตามเวลา เพลิงไหม้เหนือลม อย่าบุกใต้ลม กลางวันลมนาน กลางคืนลมหยุด การทำศึกพึงรู้การแปรเปลี่ยนของเพลิงทั้งห้า คำนวณเวลาเฝ้ารอโอกาส
ฉะนั้น การใช้เพลิงช่วยในการโจทตีจักมีผลชัด ใช้น้ำช่วยการโจมตีจักเสริมให้แกร่ง น้ำตัดข้าศึกด้ แต่เผด็จศึกมิได้
อัน การรบชนะได้ดินแดนมาแล้ว หากมิเสริมให้มั่นคงจักเป็นอันตราย เรียกว่าการสิ้นเปลืองอันสูญเปล่า ฉะนั้นจึงกล่าวว่า เจ้านายผู้ชาญฉลาดพึงไตร่ตรองจงหนัก แม่ทัพผู้ยอดเยี่ยมพึงดำเนินการรอบคอบ ไม่เป็นผลดีไม่กรีธาทัพ ไม่มีผลได้ไม่ใช้กำลัง หากไม่คับขันจักไม่ออกรบ
เจ้า นายมิควรเคลื่อนพลเพราะกริ้ว แม่ทัพมิควรทำศึกเพราะโกรธ ต้องด้วยประโยชน์ก็เคลื่อน ไม่ต้องด้วยประโยชน์ก็หยุดกริ้วอาจกลายเป็นรัก โกรธอาจกลายเป็นชอบ แต่สูญชาติมิอาจกลับคืน สิ้นชีพมิอาจกลับฟื้น
ฉะนั้น ประมุขผู้ชาญฉลาดพึงสุขุม แม่ทัพผู้ยอดเยี่ยมพึงระวัง นี้คือหลักแห่งความสงบสุขของบ้านเมืองและความปลอดภัยของกองทัพ
ภาคปฏิบัติ
"การรบด้วยเพลิงมีห้า หนึ่งคือเผาไพร่พล สองคือเผายุ้งฉาง สามคือเผายุทธสัมภาระ สี่คือเผาคลังวัสดุ ห้าคือเผาอุปกรณ์ขนส่ง"
"ใช้เพลิงช่วยการโจมตีจักมีผลชัด ให้น้ำช่วยการโจมตีจักเสริมให้แกร่ง"
"รบได้ดินแดนมาแล้ว หากมิเริมให้มั่นคงจักเป็นอันตราย เรียกว่าการสิ้นเปลืองอันสูญเปล่า"
"เจ้านายมิควรเคลื่อนพลเพราะกริ้ว แม่ทัพมิควรทำศึกเพราะโกรธ"
บทที่ ๑๓ การใช้จารชน
กรีธา ทัพสิบหมื่น ออกรบพันลี้ ฝ่ายราษฎร์ต้องจ่าย ฝ่ายหลวงต้องใช้ วนละพันตำลึงทอง วุ่นวายทั้งภายในภายนอก ราษฎรถูกเกณฑ์ไปเหนื่อยอยู่ตามทาง ทำไร่ไถนามิได้ มีเจ็ดสิบหมื่นครัว
ยัน กันอยู่หลายปี เพื่อชิงชัยในวันเดียว หากตระหนี่การให้ยศศักดิ์ รางวัล จนมิรู้สภาพข้าศึก ก็ขาดเมตตาธรรมยิ่งนัก มิอาจเป็นแม่ทัพของไพร่พล มิอาจเป็นผู้ช่วยของเจ้านาย มิอาจเป็นเจ้านายผู้พิชิต
ฉะนั้น เหตุที่ประมุขผู้ปริชาแม่ทัพผู้สามารถ กรีธาทัพชนะศึกสำเร็จผลเหนือผู้อื่น ก็เพราะล่วงรู้ก่อน การล่วงรู้ก่อน มิควร พึ่งผีสางเทวดา มิควรยึดแบบอย่างในอดีต มิควรถือฤกษ์เบิกยาม แต่พึงเอาจากคน ผู้รู้สภาพข้าศึก
ฉะนั้น การใช้จารชนมีห้า มีจารชนถิ่น มีจารชนใน มีจารชนซ้อน มีจารชนตาย มีจารชนเป็น ห้าจารชนใช้พร้อมกันข้าศึกมิรู้เหตุ นี้เรียกว่าอัศจรรย์ เป็นของวิเศษแห่งประมุข
จาร ชนถิ่น คือใช้คนพื้นเมืองข้าศึก จารชนใน คือใช้ขุนนางข้าศึก จารชนซ้อนคือใใช้จารชนข้าศึก จารชนตาย คือผู้กระจายข่าวลวง ให้จารชนเราทราบ เพื่อแพร่ยังจารชนข้าศึก จารชนเป็น คือผู้กลับมารายงาน
ฉะนั้น ภารกิจของสามทัพ มิมีผู้ไว้ใจได้เท่าจารชน มิมีผู้ได้รางวัลเท่าจารชน มิมีเรื่องใดลึกลับเท่าจารชน ไม่ปราดเปรื่องมิอาจใช้จารชน ไร้เมตตามิอาจบัญชาจารชน ไม่แยบยลมิอาจได้ความจริงจากจารชน แยบยลแสนจะแยบยล มิมีแห่งใดใช้จารชนมิได้แผนจารชนมิทันใช้ มีผู้ล่วงรู้ก่อน ให้ตายทั้งจารชนและผู้รู้
กอง ทัพที่จะโจมตี เมืองที่จะเข้าบุก คนที่จะต้องฆ่า พึงรู้ชื่อแซ่ขุนทัพ คนสนิทซ้ายขวา ผู้สื่อสาร นายทวาร เหล่าบริวารก่อน ควรใช้จารชนเราสืบหามา
พึง สืบหาจารชนที่มาจารกรรมในฝ่ายเขา ชักจูงด้วยอามิสมองานแล้วปล่อยตัวกลับ ฉะนั้น จึงได้ตัวจารชนซ้อนมาใช้ เพราะได้รู้ข่าวจากนี้ ฉะนั้น จึงสามารถใช้จารชนถิ่นกับจารชนในเพราะได้รู้ข่าวจากนี้ ฉะนั้น การกระจายข่าวลวงของจารชนตาย จึงแจ้งแก่ข้าศึกได้ เพราะได้รู้ข่าวจากนี้ ฉะนั้น จารชนเป็นจึงใช้ได้ตามกำหนด งานของจารชนทั้งห้า เจ้านายพึงต้องรู้ ที่รู้ก็จากจารชนซ้อน ฉะนั้น จึงพึงตกรางวัลจารชนซ้อนให้ถึงขนาด
อดีตกาล ความรุ่งเรืองของราชวงศ์ซาง เพาะมีอีจื้อในแคว้นเซี่ย ความรุ่งเรืองของราชวงศ์โจว เพราะมีหลื่อหยาในแคว้นอิน ฉะนั้น จึงมีแต่ประมุขผู้ปรีชาแม่ทัพผู้สามารถเท่านั้น ที่สามารถใช้ผู้มีปัญญาชั้นเลิศเป็นจารชน จนได้รับความสำเร็จใหญ่หลวง นี้เป็นเรื่องสำคัญของการศึก อันสามทัพพึงยึดถือเพื่อเคลื่อนพล
ภาคปฏิบัติ
"จารชนถิ่น"
"จารชนใน"
"จารชนซ้อน"
"จารชนตาย"
"จารชนเป็น"
"มิมีเรื่องใดลึกลับเท่าจารชน"
"มิมีแห่งใดใช้จารชนมิได้"
No comments:
Post a Comment