http://www.thairath.co.th/content/edu/56329
เทคโนโลยี 'ซ่อมมนุษย์ 'โลกตะลึง! วงการแพทย์ ปี 2010
สร้างเซลล์อะไหล่ปฏิบัติการยื้อชีวิต
"อะไหล่มนุษย์"
"ซ่อมมนุษย์"
นับย้อนหลังไปประมาณ 15 ปีก่อนหน้านี้ หากมีใครพูดถึงเรื่องแบบนี้
คงถูกผู้คนในสังคมมองด้วยสายตาแปลกๆ หรืออาจถึงขั้นโดนกล่าวหาว่าเพ้อเจ้อ
แต่มาถึงวันนี้สิ่งที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน ก็กลับเกิดขึ้นได้จริง
เพราะวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ โดย
เฉพาะความพยายามของมนุษย์ที่จะคิดค้น แสวงหา
ทุกวิถีทางเพื่อยืดช่วงเวลาของความเป็นหนุ่มเป็นสาว
และในที่สุดคือสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ที่เรียกกันว่า
"ชะลอแก่-ชะลอตาย"
เพราะนับจากปี 2010 เป็นต้นไป เซลล์ ยีน ซึ่งหมายถึง
พันธุกรรมของมนุษยชาติ
และสเต็มเซลล์จะเป็นสิ่งที่ทำให้โลกต้องตกตะลึงมากขึ้นเรื่อยๆ
แต่ก่อนที่จะก้าวไปถึงวันที่วงการแพทย์ สามารถสร้างเซลล์อะไหล่ของมนุษย์
เพื่อปฏิบัติ การซ่อม ยืด และถึงที่สุดคือยื้อชีวิตมนุษย์นั้น
ทีมข่าวสาธารณสุข
ขอย้อนอดีตเพื่อไล่เลียงถึงที่มาที่ไปของวิวัฒนาการทางการแพทย์
ที่นำมาสู่การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี สเต็มเซลล์ หรือ เซลล์อะไหล่
ที่กำลังจะกลายเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการแพทย์โลก
เริ่มจากปี ค.ศ. 1995 เทคโนโลยีการผ่าตัด, การปลูกถ่าย หรือเปลี่ยนอวัยวะ
เป็นที่ฮือฮาอย่างมาก เทคโนโลยีการผ่าตัดที่ทันสมัย
ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง หรือแม้แต่
การใช้ระบบนำวิถีเพื่อลงมีดผ่าตัดที่อวัยวะต่างๆ
ลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดพลาดเป้า
โดยเฉพาะการผ่าตัดสมองซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนกว่าอวัยวะอื่นๆ
เป็นที่สนใจอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์โลก และประเทศไทย
ต่อมาในปี ค.ศ. 2000 หรือเมื่อ 10 ปีก่อน ทั่วโลกต้องตกตะลึง
เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทั้งภาครัฐและเอกชน ของสหรัฐฯ อังกฤษ และอีก
หลายประเทศ ร่วมกันแถลงถึงผลงานชิ้นโบแดงแห่งศตวรรษ
ถึงความสำเร็จของโครงการทดลองที่เรียกว่า Human Genom Project หรือ
"การถอดรหัส พันธุกรรมมนุษย์" ซึ่ง ดร. ฟรานซิส คอลลินส์
เป็นผู้อำนวยการโครงการ
ถือเป็นการปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ!
ปฏิบัติการ "ถอดรหัส พันธุกรรมมนุษย์"
ทำให้เกิดศัพท์แสงใหม่ๆเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์ เช่น
การโคลนนิ่ง การตัดต่อยีน รวมไปถึง เทคโนโลยีจีเอ็มโอ
ที่ทำในพืชและสัตว์ด้วย
ว่ากันว่าประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ
เสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนศึกษาค้นคว้าวิจัย และ
พัฒนาเป็นเงินหลายล้านดอลลาร์
สหรัฐฯความสำเร็จของโครงการนี้ คือ การได้ มาซึ่ง "พิมพ์
เขียวพันธุกรรมมนุษย์" ที่เรียกว่า "บุ๊ก ออฟ ไลฟ์" หรือ "คัมภีร์ชีวิต"
ที่ถ่ายทอดความรู้ เกี่ยวกับการถอดรหัสยีน ซึ่งเป็นหน่วยทางพันธุกรรม
เพื่อจัดลำดับอนุกรมทางเคมีของดีเอ็นเอ 3,120 ล้านคู่ ที่มีอยู่
ในยีนของมนุษย์ ซึ่งการถอดรหัสยีนดังกล่าว ทำให้รู้ว่า
ดีเอ็นเอแต่ละหน่วยทำงานอย่างไร หน่วยใดที่ทำให้เราเจ็บป่วย
หรือหน่วยใดที่ช่วยต้านทานโรค ตลอดจนหน่วยใดที่ทำให้ เราแก่ชรา
พิมพ์เขียวพันธุกรรมมนุษย์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถแยกชนิด
และหน้าที่ของโปรตีนที่ยีนผลิตขึ้นมา
ระบบการทำงานของโปรตีนในร่างกายมนุษย์
ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการค้นคว้าวิจัย
เพื่อผลิตยารักษาโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น มะเร็ง, อัลไซเมอร์ หรือเบาหวาน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
รวมไปถึงการพยากรณ์อนาคตของมนุษย์แต่ละคนว่า
มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคร้ายแรงอย่างโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มะเร็ง
อัลไซเมอร์ หรือจิตเภท ได้หรือไม่
นักวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นเรื่องเหล่านี้ถึงขั้นวางแผนไปไกลขนาดที่จะใช้พิมพ์เขียวพันธุกรรมมนุษย์
เป็นตำราในห้องทดลองเพื่อชะลอการชราภาพลงของมนุษย์ หรือพูดง่ายๆก็คือ
ทำให้มนุษย์ไม่ต้องแก่ หรืออาจจะไม่ตายตามกฎแห่งวัฏสงสาร
แต่พอถึงปี ค.ศ.2005 การถอดรหัสพันธุกรรม และพิมพ์เขียวพันธุกรรมมนุษย์
กลายเป็นเรื่องเก่า เพราะนักวิทยาศาสตร์เริ่มคิดค้นสิ่งใหม่ๆ
ในการรักษาโรคและซ่อมสร้างสังขารของมนุษย์ ขึ้นมาใหม่ สิ่งนั้นเรียกว่า
"สเต็มเซลล์"
ที่นับวันยิ่งมีความก้าวหน้าและทันสมัยขึ้นเรื่อยๆ
และในวันนี้ ก็มีการพูดถึงคำว่า "อะไหล่ ร่างกาย"
ที่สามารถเก็บสำรองไว้สำหรับรักษาโรคร้ายหรือความเสื่อมของอวัยวะในอนาคตได้
การฝากเก็บสเต็มเซลล์ ไว้ในธนาคารสเต็ม
เซลล์ เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
โดยเฉพาะเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ.2009
ความเคลื่อนไหวในเรื่องของการวิจัยและพัฒนาสเต็มเซลล์
กลายเป็นประเด็นที่เขย่าความสนใจของวงการวิจัยทางการแพทย์ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย
เมื่อ ประธานาธิบดี บารัค โอ- บามา ประกาศอนุญาตให้มีการวิจัยสเต็มเซลล์
เต็มรูปแบบ ด้วยการลงนามยกเลิกข้อห้ามสมัยอดีตประธานาธิบดี จอร์จ
ดับเบิลยู. บุช ที่ไม่ให้ใช้เงินของรัฐบาลกลางเพื่อสนับสนุนการวิจัยสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนมนุษย์
คำสั่งของประธานาธิบดีโอบามา คือ ให้ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (เอ็นไอเอช)
วางแนวทาง ในการวิจัยด้วยการนำสเต็มเซลล์จากห้องทดลองเอกชนมารวมกันภายใน
120 วัน นับจากวันที่ 9 มี.ค. 2009
ถือเป็นการประกาศบุกเบิกงานวิจัยทาง ด้านนี้อย่างเต็มรูปแบบ
และรัฐบาลอเมริกันยังได้ทุ่มงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการวิจัยถึงกว่า 3,000
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ดังนั้น เริ่มตั้งแต่ปี 2010 เรื่อยไปภายในไม่กี่ปีหลังจากนี้
ผลิตภัณฑ์สเต็มเซลล์
วิศวกรรมเนื้อเยื่อและอวัยวะสังเคราะห์จะเริ่มเกิดขึ้น และแน่นอนที่สุด
ผลิตภัณฑ์มหัศจรรย์จากการคิดค้นของมนุษย์เหล่านี้จะถูกผลักดันเข้าสู่ตลาดการแพทย์ทั่วโลกอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง
ที่เห็นชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่งตอนนี้ก็คือ เทคโนโลยีที่เรียกว่า
"Regenerative medicine" หรือนวัตกรรมยาที่สามารถ สร้างอวัยวะขึ้นมาใหม่
เมื่อได้รับความเสียหายหรือถูกทำลาย ที่นำแนวคิดเริ่มต้นมาจาก "การ
งอกใหม่" ของอวัยวะบางอย่างของสิ่งมีชีวิต เช่น พวกซาลาแมนเดอร์ ไฮดรา
และดาวทะเล ฯลฯ
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานในการ ทดลองนี้ว่า
เมื่ออวัยวะบางอย่างของสิ่งมีชีวิต มีการงอกใหม่ได้
มนุษย์ก็น่าที่จะสร้างอวัยวะที่ขาดหายไปขึ้นมาใหม่ได้ โดยเฉพาะจาก "ยีน"
หรือ "เซลล์" ที่ควบคุมการงอกใหม่ของอวัยวะที่เสียหายเหมือนในสิ่งมีชีวิตบางอย่างดังที่กล่าวมาแล้ว
ซึ่งถ้าการวิจัยนี้สำเร็จ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า
ในอนาคตมนุษย์อาจจะสามารถงอกแขนขาได้ใหม่เหมือนจิ้งจกงอกหางเลยทีเดียว
กลับมาที่เรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นแล้วอย่างสเต็มเซลล์บ้าง
ในเอเชียรวมทั้งประเทศไทยจำนวน "สเต็มเซลล์" ที่ถูกฝากจนล้นในธนาคาร
เท่ากับเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความพยายามที่จะฝืน ยืด ยื้อ
หรือต่อรองกับมัจจุราชในการใช้เวลาบนโลกมนุษย์ให้มากขึ้น
ด้วยการเอาชนะโรคร้ายทุกโรคที่เคยทำให้มนุษย์ต้อง "ตาย" ตามกฎของธรรมชาติ
"สเต็มเซลล์" หรือ เซลล์ต้นกำเนิด ที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า
ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า คือ เซลล์ชนิดไหน แต่กลไกการทำงานของเซลล์ ชนิดนี้
มีความมหัศจรรย์มาก เพราะ ไม่ว่าจะไปอยู่ตรงไหนในร่างกาย
เจ้าสเต็มเซลล์ก็จะทำตัวเป็นเซลล์ของอวัยวะนั้น เช่น
ถ้าไปเกาะที่กล้ามเนื้อหัวใจก็กลายเป็นเซลล์ กล้ามเนื้อหัวใจ
เกาะที่เส้นประสาทก็กลาย เป็นเซลล์เส้นประสาทที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ
เมื่อไปเจอเซลล์ตรงจุดไหนเสื่อม
เจ้าสเต็มเซลล์ที่ฉลาดปราดเปรื่องและขยันขันแข็งตัวนี้
ก็จะทำหน้าที่ซ่อมแซมเซลล์ อวัยวะส่วนนั้น เหมือนเป็นทั้งนายช่าง
และอะไหล่ประจำร่างกายเลยทีเดียว
นักวิทยาศาสตร์ และแพทย์จำนวนไม่น้อยเปรียบเทียบว่า สเต็มเซลล์
อาจจะเป็นเสมือน "อวัยวะ สำรอง"
ของร่างกายที่เมื่ออันหนึ่งเสื่อมไปก็สามารถเปลี่ยนอะไหล่
หรืออวัยวะใหม่เข้าไปแทนที่ได้ เหมือนเปลี่ยนอะไหล่รถ...
ปีที่ผ่านมาวงการแพทย์ทั่วโลกนำสเต็มเซลล์ไปใช้
รักษาโรคร้ายแรงได้มากกว่า 70 ชนิด เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ
โรคอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน โรคเส้น
เลือดในสมองอุดตัน โรคเกี่ยวกับความผิดปกติของเลือดและ ไขกระดูก
โรคเกี่ยวกับความบกพร่องของกล้ามเนื้อ รวมถึงอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต
ไขสันหลังบาดเจ็บ และบาดแผลทางผิวหนัง ฯลฯ
แต่ในปีนี้ จำนวนโรคที่เจ้าเซลล์มหัศจรรย์
ตัวนี้สามารถเป็นอะไหล่เข้าไปซ่อมสร้างได้ ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 100
โรคแล้ว
Dr.Kostas I. Papadopulos
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการแห่งไทยสเต็มไลฟ์
บริษัทจัดเก็บสเต็มเซลล์แห่งแรกและใหญ่ที่สุดของไทย ถึงกับระบุว่า...
"สเต็มเซลล์คือสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดในชีวิตคนเรา"
สำหรับวิธีจัดเก็บสเต็มเซลล์ที่นิยมส่วนใหญ่ มี 2 วิธี คือ
เก็บจากเลือดในรกและสาย สะดือเด็กแรกเกิด และ เก็บจากกระแสโลหิต
ในกรณีของสเต็มเซลล์ที่อยู่ในเลือดจากรกและสายสะดือนั้น
นอกจากจะเป็นอะไหล่ สำหรับเจ้าของรกและสายสะดือแล้ว
หลายครั้งที่มันถูกนำไปเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอะไหล่ให้กับสมาชิกคนอื่นในครอบครัวด้วย
มีกรณีตัวอย่างหลายกรณีที่ลูกคนโตได้ใช้
สเต็มเซลล์จากรกของลูกคนเล็กหรือน้องเพื่อรักษาโรคร้ายแรงของตัวเอง
เพราะโอกาสที่พี่น้องท้องเดียวกันจะมีสเต็มเซลล์ที่ตรงกันมีสูงถึง 1 ใน 4
ปี ค.ศ.2009 หรือ พ.ศ.2552 เมื่อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ
เอช 1 เอ็น 1 ระบาดทั่วโลก
รวมถึงโรคร้ายอย่างมะเร็งเริ่มที่จะปรับตัวให้มีความร้ายกาจในการกัดกินอวัยวะที่ซับซ้อนและรักษาได้ยากมากขึ้น
หลายประเทศถึงขนาดกำหนดเป็นนโยบายให้มีการเก็บสเต็มเซลล์จากรกไว้ให้มากที่สุด
เพื่อการพัฒนาทางการแพทย์ในอนาคต
ยกตัวอย่าง เช่น สิงคโปร์
ซึ่งกำหนดเป็นพันธกิจของรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบจัดเก็บสเต็มเซลล์ของทารกแรกเกิดชาวสิงคโปร์
เอาไว้ทุกคน เพื่อเป็นการประกันสุขภาพของประชากร
อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ในวงการแพทย์ของสิงคโปร์ด้วย
หันกลับมามองในส่วนของประเทศไทย ความก้าวหน้าเรื่องของสเต็มเซลล์
เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้น
แม้ว่ารัฐบาลไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุข โดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์,
แพทยสภา ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพที่กำกับดูแลการประกอบวิชาชีพของแพทย์จะออกมาให้ข้อมูลตรงกันทั้งในเรื่องของกฎหมายและการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กระทำต่อร่างกายมนุษย์ว่า
ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัย แต่ก็มีโรงพยาบาล
ทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งที่นำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ซ่อมแซมอวัยวะที่สึกหรอของร่างกายมนุษย์แล้วอย่างแพร่หลาย
โดยในทางการแพทย์เฉพาะทางหลายสาขาระบุตรงกันว่า
ขณะนี้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านนี้
สามารถแยกเซลล์ตั้งต้นให้บริสุทธิ์ได้ โดยแยกจากเลือดสายรก
ทำให้เซลล์จากเลือดสายรก ปลอดจากเชื้อโรค เชื้อไวรัส เซลล์มะเร็ง
เซลล์เม็ดเลือดขาว หรือโปรตีนอื่นๆ ที่ร่างกายต่อต้าน
ทำให้การใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดสายรก ปลอดภัยในการปลูกถ่ายเซลล์ใหม่
หรือซ่อมอวัยวะที่ตายหรือเสียหาย เช่น ไขสันหลังบาดเจ็บ
หรือเซลล์สมองขาดเลือด ซึ่งการแพทย์
แผนปัจจุบันไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายเซลล์ ใหม่
หรืออวัยวะนั้นไม่อาจรักษาด้วยยาได้แล้ว
และล่าสุดถึงขั้นมีสถานพยาบาลแห่งหนึ่งโฆษณาถึงขั้นที่ว่า
สามารถฉีดเฟรชเซลล์ จากสัตว์โดยเฉพาะแกะเข้าไปยังร่างกายมนุษย์
เซลล์ที่สกัดจากตัวอ่อนของแกะพุ่งตรงไปทำหน้าที่ให้เซลล์เก่าของร่างกาย
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
เช่น ถ้าเป็นโรคพาร์กินสัน เซลล์ก็ไปยังสมอง ถ้าโรคชรา วัยทอง
เซลล์จะไปที่ต่อมหมวกไต ถ้ากล้ามเนื้ออ่อนแรงก็จะไปที่ขา
หรือรักษาโรคหัวใจมันก็จะวิ่งไปยังอวัยวะที่ต้องการเอง
แล้วทุกอย่างก็จะกลับมาสดชื่น ราวกับเกิดใหม่
จริงหรือไม่จริง เป็นไปได้หรือไม่ได้ เป็นสิ่งที่ต้องติดตามดูต่อไป
นับจากปี 2010 เป็นต้นไป
แต่แม้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยจะเป็นความหวัง ที่จะช่วย "ยื้อ"
ชีวิตมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ให้ยืนยาวมากขึ้นได้ หรืออาจจะวิเศษถึงขั้นที่
"ไม่ตาย" ได้
สิ่งที่ ทีมข่าวสาธารณสุข อดที่จะฉุกคิดไม่ได้ก็คือ สัจธรรมของโลกที่ว่า
ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ หรือสิ่งที่มีคุณอนันต์อาจจะมีโทษมหันต์ตามมาด้วย
โดยเฉพาะหากเป็นเรื่องของความพยายามที่จะฝืนกฎหรือความเป็นไปตามธรรมชาติ
ลองคิดดูกันเล่นๆ หากวิทยาการทาง
การแพทย์สามารถยื้อชีวิตมนุษย์ไว้ได้จริง ถึงวันนั้นคนอาจจะล้นโลก
จนต้องแย่งกันกิน แย่งกันอยู่ และถึงที่สุดแล้ว
เราก็อาจจะค้นพบความจริงที่ว่า
ไม่มีอะไรที่จะฝืนกฎเกณฑ์ของ ธรรมชาติไปได้
ทำให้อดไม่ได้ที่จะนึกถึงคำปรารภของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ
ที่ชัดเจนถึงความดำรงอยู่ และสูญสลายไปตามกฎ ของธรรมชาติ
รักฉันก็จงปล่อยให้ฉันตายเถิด...!
ทีมข่าวสาธารณสุข
No comments:
Post a Comment