สอนลูกให้รู้ค่าของเงิน |
ให้ลูกรับผิดชอบการใช้เงินด้วยตัวเอง การกำหนดค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน หรือรายสัปดาห์
อยากให้ลูกสั่งสมทักษะชีวิตแบบไหน อยู่ที่ผู้ใหญ่จะเป็นตัวอย่างให้ดู
ให้ลูกรับผิดชอบการใช้เงินด้วยตัวเอง
การ กำหนดค่าใช้จ่ายให้ลูกอย่างเหมาะสมในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ เช่น รายอาทิตย์ รายเดือน เป็นการเริ่มต้นฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบขั้นพื้นฐาน ควร สอนให้เด็กรู้จักประเมินการใช้เงินรายวัน และจัดสรรการใช้จ่ายด้วยตัวเอง วันใดจ่ายมากก็ต้องยอมรับสภาพว่าอีกวันต้องอดบ้าง เพื่อเรียนรู้ผลการใช้เงินเกินข้อตกลง
รางวัลมิใช่สิ่งของเสมอไป
การ แสดงความชื่นชมลูกเมื่อเขาทำสิ่งที่ดีใช่ว่าจะต้องให้ของขวัญราคาแพงเสมอไป รางวัลสำหรับลูกอาจเป็นคำชมเชย จดหมายน้อยสักหนึ่งฉบับ ดาวทีละดวง ครบห้าดวงเปลี่ยนเป็นไอศครีม 1 มื้อ เป็นต้น ควรคิดค้นวิธีการให้เด็กตื่นเต้นประทับใจ เช่น การส่งจดหมายถึงเด็กทางไปรษณีย์ แทนที่จะยึดแค่ความสะดวกสบาย โดยการให้รางวัลด้วยวัตถุเป็นหลัก
ไปห้างสรรพสินค้าเมื่อจำเป็น
การพา ครอบครัวไปพักผ่อนด้วยการตากแอร์เย็นๆ ที่ห้างสรรพสินค้า อาจจะให้ผลได้ไม่เท่าเสีย เพราะสภาพแวดล้อมของห้างสรรพสินค้ามี แต่สิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เด็ก และผู้ใหญ่อดใจไม่ไหว การไป แต่ละครั้งอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า เป็นการเพาะนิสัยการบริโภคให้ลูกในความถี่ที่น่าเป็นห่วง
จ่ายกันคนละครึ่ง... ดีไหม?
คุณ พ่อคุณแม่หลายรายใช้หลักจ่ายกันคนละครึ่งกับลูก เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักเก็บเงิน และหากต้องการสิ่งใดจะได้รับผิดชอบจ่ายด้วยตัวเองบ้าง อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง แต่ก็ต้องระวัง โดยการกำหนดกติกาว่าพ่อแม่จะหารด้วยในกรณีที่เป็นของจำเป็นจริงๆ เท่านั้น และระบบหารครึ่งนี้ จะไม่มีเงินผ่อนเด็ดขาด
สิ่งสำคัญที่อยากฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ คือ อย่า รู้สึกผิดที่ไม่มีเวลาให้ลูก สงสารลูกที่ลูกหัวไม่ดี สงสารลูกที่เขาเจ็บป่วยเรื้อรัง แล้วจะไปชดเชยหรือทดแทนให้เขา ด้วยการซื้อของ หรือ ให้เงินแบบไม่มีกฎเกณฑ์ เงินจำนวนมากหรือของเล่นราคาแพงไม่สามารถทดแทนความรู้สึก ‘ขาด’ ในใจลูกได้ เพราะเราทำให้เขา ‘อิ่ม’ ได้ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ค่ะ
ที่มา : http://www.magickidschool.com
No comments:
Post a Comment