Pineapple TH-PH

Done

Monday, November 10, 2008

กรพรหม แสงอร่าม นักบิ นที่เป็นหมอผ่าตัดหัวใจคนแรก/ ชอบบรรทัดสุดท้าย

กรพรหม แสงอร่าม นักบินคนแรกที่เป็นหมอผ่าตัดหัวใจ [7 ก.ย. 51 - 00:51]

หมอกับนักบิน ไม่น่าจะหลอมรวมอยู่ในคนเดียวกันได้ ถ้าไม่ใช่เพราะความมุ่ง
มั่น อยากทำในสิ่งที่รัก จน
ในที่สุด คุณหมอต้วง-กรพรหม แสงอร่าม นักบินการบินไทย และนักบินเทสต์ ไฟลท์โบ
อิ้ง 777 สามารถ
พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า คนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องยึดติดกับอาชีพใดอาชีพหนึ่ง
ขอเพียงแต่ใช้ทุกบทบาท
หน้าที่ให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม... เท่านี้ก็ถือว่าบรรลุความเป็นคน
แล้ว
"หมอต้วง" เป็นลูกชายคนเดียวของอดีตนักจัดรายการชื่อดัง "กรรณิกา ธรรมเกษร"
เขาใฝ่ฝันอยาก
เป็นนักบินตั้งแต่จำความได้ อินสุดๆถึงขนาดที่ว่า แค่ได้เห็นเครื่องบิน, ได้
ยินเสียงเครื่องบิน หรือได้
กลิ่นน้ำมันเครื่องบิน ก็มีความสุขได้ทั้งวัน กระนั้น เนื่องจากที่บ้านมีนัก
บินอยู่แล้ว 5-6 คน ทั้งพ่อ, อา
และอาเขย แถมคุณปู่ยังเป็นทหารบก และนักบินพลเรือน คุณพ่อของเขาจึงอยากให้ลูก
ชายเป็นหมอ
มากกว่านักบิน โดยช่วงที่เอ็นทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย ได้เอารางวัลใหญ่มาล่อ
สัญญาว่าถ้าสอบเข้า
แพทย์ได้ จะซื้อรถให้ขับ ด้วยความที่อยากได้รถ ไม่ได้คิดอะไรไปไกลกว่านั้น ทำ
ให้ "หมอต้วง" มุ
มานะอ่านหนังสือจริงจัง จนเอ็นฯติดคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ เลยจับพลัดจับผลูต้อง
เรียนหมอจนจบ 6 ปี
และไปใช้ทุนอีก 3 ปี ที่ จ.ปราจีนบุรี
ฝันอยากเป็นนักบิน แต่ต้องเรียนหมอรู้สึกเซ็งไหม
ใจจริงอยากสอบเข้าโรงเรียนนายเรืออากาศ แต่พอเอ็นฯติดแพทย์ก็ลองเรียนดู ซึ่ง
ต้องอาศัยความอึด
มาก และไหนๆอุตส่าห์เรียนมาได้จนจบ จึงไม่ อยากทิ้งวิชาความรู้ไปเฉยๆ บอกตัว
เองว่า อย่างน้อย
ก็ควรลองเป็นหมอดูสักตั้งก่อน ส่วนเรื่องเป็นนักบินทำเป็นงานอดิเรกก็ได้
จันทร์ถึงศุกร์ ก็เป็นคุณหมอไป
พอเสาร์อาทิตย์ค่อยขับเครื่องบินเล่น โดยระหว่างที่ไปใช้ทุน 3 ปี กะว่าจะแบ่ง
เวลาไปเรียนขับเครื่อง
บินที่สถาบันการบินพลเรือน อ.หัวหิน
ทุกอย่างเป็นไปตามแผนไหมคะ
ก็ถือว่าใกล้เคียง!! คือได้เรียนบินสมใจ เพียงแต่ต้องขับรถไกลหน่อย เพราะจับ
ฉลากปิงปองได้
จ.ปราจีนบุรี ซึ่งใช้เวลาเดินทางเกือบ 5 ชม. กว่าจะถึงหัวหิน พวกเราเรียก
ธรรมเนียมนี้ว่า จับ
ฉลากปิงปองพาโชค นักเรียนหมอที่จบจากทั่วประเทศพันกว่าคน ต้องมาจับฉลากพร้อม
กันหมด เพื่อเลือก
จังหวัดที่ต้องการไปใช้ทุน วิธีจับฉลากคือ จะเอาลูกปิงปองเขียนแต้มไว้
ตั้งแต่ 10-60 ใส่ไว้ในปี๊บ
ใครจับได้คะแนนเยอะสุด ก็มีสิทธิ์เลือกก่อน ฉะนั้น ต้องคำนวณให้รอบคอบ เพราะ
ถ้าจังหวัดไหนคนแห่
เลือกเยอะ โอกาสของเราก็น้อยลง หรือจังหวัดไหนมีโควตาน้อย โอกาสพลาดก็สูง ตอน
นั้น จ.เพชร
บุรีซึ่งใกล้หัวหินที่สุดรับตำแหน่งเดียว คิดแล้วว่าคงสู้ไม่ไหว เลยถอยไปตั้ง
หลักใหม่
จำได้ว่า วันนั้นเอาแผนที่ประเทศไทย และวงเวียนไปกางเลย รอบแรกอยู่ในรัศมี
2-300 กิโลเมตร
จากกรุงเทพฯ แต่ถ้าหลุดรอบแรกไปแล้วจะเริ่มเขยิบออกไปเรื่อยๆ จนรอบสุดท้าย
โน่นไปตกที่ยะลา
หรือนราธิวาส ก็คุยกับเพื่อนๆว่า ถ้าไม่อยากไปจับรอบสุดท้าย ต้องเลือกเอาที่
เดียวแล้วได้เลย ยอม
เลือกไกลๆหน่อย แต่ขอรอบแรก ตอนนั้น จ.ปราจีนบุรี รับ 9 คน ซึ่งก็ไม่ไกล
จากกรุงเทพฯ และ
ก๊วนผมก็ไปกันได้เกือบหมด เลยตกลงเลือกเหมือนกัน ปรากฏว่าได้ยกกลุ่ม!! ตอน
นั้นมีให้เลือกหลาย
อำเภอ แต่ผมขอไปประจำที่โรงพยาบาลเล็กๆใน อ.บ้านสร้าง เพราะมีโควตาหมอแค่
ตำแหน่งเดียว
จะได้ทำงานรวดเดียว ตั้งแต่จันทร์ถึงศุกร์ ไม่ต้องแบ่งเวรกับหมอคนอื่น พอถึง
วันหยุดก็มีเวลาเรียนบิน
เต็มที่ แถมยังได้เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลด้วย
ปราจีนบุรีกับหัวหินห่างกันตั้งไกล ถอดใจยอมแพ้บ้างหรือเปล่า
ขอให้ได้บิน ทำได้ทุกอย่าง!! ทุกอาทิตย์ผมจะตั้งตารอว่า เมื่อไหร่จะถึงวัน
เสาร์อาทิตย์ เพราะอยาก
ไปหัวหิน อยากเป็นนักบินเร็วๆ ส่วนใหญ่จะออกเดินทางตั้งแต่เย็นวันศุกร์ หรือ
ไม่ก็เช้าวันเสาร์ ขับจาก
ปราจีนบุรีไปหัวหิน ใช้เวลา 5 ชม. เสาร์อาทิตย์หนึ่งบินจริง 2-3 ชม. ที่เหลือ
ก็เรียนทฤษฎี ผมใช้ทุน
ทางบ้านไปเรียนบิน หมดไปเกือบ 3 ล้านบาท ในช่วง 2 ปี
เป็น ผอ.ตั้งแต่อายุ 21 ทำยังไงให้คนซูฮกคะ
ไปอยู่ใหม่ๆ ลูกน้องเกลียดผมมาก!! ช่วง 6 เดือนแรก ไม่มีใครพูดด้วยเลย ต้องไป
ซื้อข้าวกินในตลาด
คนเดียว เดินไปตรงไหน ลูกน้องวงแตกหมด ลือกันว่าผมดุเหมือนหมา!! ที่จริงเราก็
ไม่ได้ตวาดนะ แค่
พูดให้ได้คิดเอง เราอยากพัฒนาโรงพยาบาลให้ดีขึ้น แต่พวกเขาคงเคยชินกับระบบข้า
ราชการเก่าๆ
บางคนอายุมากกว่าพ่อผม คงเปลี่ยนยาก!! ที่จริงผมไม่ได้ไปจู้จี้อะไร แค่จัด
ระเบียบในโรงพยาบาล
ใหม่ เช่น บอกฝ่ายธุรการว่า พอ 8 โมงครึ่งให้ขีดเส้นแดงที่สมุดเซ็นชื่อเข้า
งาน แล้วเอาสมุดมาไว้ที่
ห้องผม ใครมาสายให้มาเซ็นกับผมเอง หรืออย่างพื้นโรงพยาบาลสกปรก มีเศษขยะ ผมก็
หยิบไม้กวาด
มาทำเอง เรียกว่าเป็น ผอ.ต้องทำหมดทุกอย่าง ตั้งแต่ตรวจคนไข้, สั่งยา, บริหาร
โรงพยาบาล
เรื่องส้วมตัน หรือกระโถนคนไข้ ก็ต้องดูแลหมด ทำเยอะมากมีปัญหามาก จนช่วง
หนึ่งรู้สึกท้อแท้ คิดว่า
อ.บ้านสร้างมีหมอมาทั้งปีแล้ว ลองไม่มีหมอบ้างก็คงอยู่ได้ เลยตัดสินใจสมัครไป
เป็นแพทย์อาสา ที่
อ.สุคิริน จ.นราธิวาส เป็นติ่งสุดของประเทศไทย อยู่ที่นั่นได้เกือบเดือน ถึง
กลับมาใช้ทุนต่อ
กลับมาปราจีนบุรีรอบสอง สถานการณ์ดีขึ้นไหม
เหมือนเราได้ ไปชาร์จแบต ทำให้ใจเย็นขึ้น ปัญหาเดิมๆก็ยังมีอยู่ แต่เราพยายาม
ทำทุกอย่างให้ลูกน้อง
เห็นความตั้งใจจริงว่าเราอยากพัฒนาโรงพยาบาลจริงๆ จนช่วงปีสุดท้าย พวกเขา
เริ่มเข้าใจ และงาน
โรงพยาบาลก็ไปได้ดี เราได้รางวัลโรงพยาบาลชุมชนดีเด่นภาคตะวันออก เป็นโรง
พยาบาลขวัญใจ
ประชาชน มีแต่คนขอย้ายเข้าไม่มีออก ตอนหลังลูกน้องทุกคนก็แฮปปี้ ช่วงที่ผม
เป็น ผอ.ได้ทำอะไรไว้
เยอะ รวมถึงการเรี่ยไรเงินชาวบ้านได้ 4 ล้านบาท นำมาขยายโรงพยาบาล และซื้อ
อุปกรณ์การแพทย์
ให้ทันสมัยขึ้น
ใช้ทุนเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ได้เป็นนักบินสมใจหรือยัง
ยังติดลมอยู่ เลยเลือกเรียนต่อเฉพาะทางด้านผ่าตัดหัวใจ ที่ รพ.จุฬาฯ อยากเป็น
หมอหัวใจ เพราะ
เมืองไทยยังมีน้อย จะได้ช่วยชีวิตคนเยอะๆ ผมเป็นคนที่ 117 ของประเทศ ก่อน
เรียนผ่าตัดหัวใจต้องปู
พื้นด้วยผ่าตัดทั่วไปก่อน 3 ปี จนจบสอบได้ ถึงมาเรียนผ่าตัดหัวใจอีก 2 ปี ใช้
เวลาคลุกคลีกับการผ่าตัด
อยู่หลายปี ก็เริ่มกลับมาถามตัวเองว่า เราจะยืนผ่าตัดนานๆอย่างนี้จน 60 ไหว
ไหม อย่างธรรมดาๆ
ต้องผ่าตัด 5-6 ชม. เคสที่เคยยืนผ่าตัดนานที่สุด ก็ 18 ชม. เลยกลับไปคิดใหม่
ว่า เรามีใบอนุญาตนัก
บินพาณิชย์อยู่แล้ว น่าจะกลับไปสู้อีกครั้ง ลองสอบนักบินการบินไทยดู ถ้าสอบ
ไม่ได้ก็เป็นหมอต่อไป แต่ถ้า
สอบได้ ค่อยมาคิดว่าอยากเป็นหมอหรือไม่เป็น
เผอิญช่วงสอบการบินไทย ใกล้กับสอบวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญแพทย์ผ่าตัดหัวใจ ตำรา
แพทย์ที่ต้องอ่านกองสูง
ถึงเอว มีเวลาเตรียมตัวแค่เดือนเดียว ก็ต้องตะลุยอ่านหนังสือสลับไปสลับมา
เช้าอ่านเรื่องเครื่องบิน
กลางคืนอ่านหัวใจ เป็นอย่างนี้ทุกวัน ไม่ออกไปไหน ปรากฏว่าสอบผ่านทั้ง
สองอย่าง โอ้โฮดีใจมาก!!
เชื่อไหมว่าหน้าเรายิ้มอยู่ประมาณเดือนหนึ่ง เรียกว่าตื่นมาหน้าเมื่อยมากเลย
เพราะยิ้มมีความสุขมาก
ที่สอบนักบินได้
แล้วอาชีพหมอละคะ วางมือไปเลยหรือเปล่า
ถึงจะเป็นนักบินการบินไทย แต่งานผ่าตัดหัวใจก็ไม่ได้ทิ้ง เพราะอาจารย์จะโทรมา
ตามให้ไปช่วยตลอด
ช่วยที่ รพ.จุฬาฯ กับนเรศวร พิษณุโลก และช่วงนี้ยังไปช่วยที่ รพ.เด็กด้วย
เพราะในเมืองไทยมีผู้
เชี่ยวชาญด้านนี้น้อยมาก เดือนหนึ่งก็จะผ่าตัดสัก 5 ราย ใช้เวลาช่วงวันหยุด
หรือถ้าฉุกเฉินจริงๆ จะ
ขอลากิจลาป่วย ซึ่งทางการบินไทยก็เข้าใจดี
ทริปแรกที่ได้เป็นนักบินเต็มตัว รู้สึกตื่นเต้นไหมคะ
ทุกอย่างเหมือนฝัน เวลาไปบินไม่เหมือนไปทำงาน เหมือนพักผ่อนมากกว่า ทริปแรก
จำได้ว่าบินไป
ภูเก็ต วิ่งขึ้นตอนกลางคืน อากาศดี ฝนเพิ่งหยุดตก กรุงเทพฯตอนกลางคืนสวย
มาก...โอ้โฮเราได้ขึ้น
มาบิน เครื่องบินใหญ่จริงๆเหรอเนี่ย มีความสุขมาก!! อีกอย่างที่ประทับใจคือ
ในทริปแรกมีสจ๊วตที่เคย
เป็นคนไข้ของผมร่วมบินด้วย เขามีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง และผมเป็น
คนผ่าตัดซ่อมหัวใจให้
เขา ที่ รพ.จุฬาฯ หลังจากนั้นอีก 2 ปี หัวใจที่ซ่อมไว้ก็ไม่ไหวแล้ว ต้อง
เปลี่ยนใหม่ ผมแนะนำให้คนไข้
รอช่วงปีใหม่ เพราะปีใหม่มีอุบัติเหตุเยอะ และก็ได้จริงๆ อาจารย์ผมโทรมาบอก
ช่วงเช้ามืด วันปีใหม่
ว่า ได้หัวใจแล้ว ตอนนั้นผมต้องบินกรุงเทพ-เชียงใหม่ และต่อด้วยกรุงเทพ-ฮานอย
ก็คิดว่าเอาไงดีละ
เลยโทรไปขอลาป่วย บอกตรงๆว่าจะลาไปผ่าตัดคนไข้เป็น พนักงานการบินไทย เขาก็หา
นักบินมาแทน
ให้ คิดไว้แล้วว่า ถ้าหาคนบินแทนไม่ได้จริงๆ จะเรียกคุณพ่อมาบินแทน
เจอเรื่องตื่น เต้นบนเครื่อง บินบ้างไหม
ส่วนใหญ่ เป็นเรื่องอาการป่วยของผู้โดยสาร อย่างไฟลท์ หนึ่งบินไปญี่ปุ่น เกิด
อะไรขึ้นไม่รู้ มีผู้โดยสาร
นอน ป่วยอยู่ท้ายเครื่อง 4-5 คน แอร์โฮสเตสไปตามผมมาดูอาการ เพราะรู้ว่าเป็น
หมอด้วย ผมยัง
แซวว่า นี่เครื่องบิน หรือโรงพยาบาลกันแน่ โชคดีที่ตรวจดูแล้ว ไม่มีใครเป็น
อะไรมาก ส่วนอีกไฟลท์ไป
ญี่ปุ่นเหมือนกัน มีผู้โดยสารปวดท้องมาก ไม่สบาย ก็ประกาศหาหมอในเครื่อง
ปรากฏว่าเจอแต่นาง
พยาบาลญี่ปุ่น เขาก็มาช่วยดู ตรวจเสร็จเรียบร้อย บอกเขาให้ช่วยฉีดยาคนไข้ แถม
ยังสั่งด้วยว่า ให้วัด
ความดันทุก 15 นาทีในช่วงแรก และช่วงต่อไปวัดทุก 1 ชม. เขาก็พยักหน้างงๆ แต่
ก็เต็มใจทำ พอ
เรากลับเข้าไปบินต่อ ถึงค่อยนึกได้ว่า เขาเป็นผู้โดยสารบิสซิเนสคลาส นะ ไปใช้
เขาได้ยังไง
ตั้งแต่เป็นนักบินมาเคยประสบอุบัติเหตุไหมคะ
เป็นนักบินการบินไทยมา 6-7 ปี ยังไม่เคยเจออุบัติเหตุ เพราะถ้ามีพายุก็จะวน
เครื่องบินรอ ไม่ฝืนเอา
เครื่องบินลง แต่เคยเจออุบัติเหตุใหญ่ ตอนเรียนขับเฮลิคอปเตอร์ ตอนนั้น
อาจารย์ปล่อยให้บินเดี่ยวครั้ง
แรก เรากำลังคึกก็บินออกไปเลยด้วยความมั่นใจ ปรากฏว่าบินออกไปได้ไม่เท่าไหร่
เครื่องบินหมุน
ติ้วๆๆ ไม่หยุด ประมาณสัก 7 วินาที เครื่องก็เสียระยะ ค่อยๆหล่นลงมาเรื่อยๆจน
จะถึงพื้นอยู่แล้ว ด้วย
ความที่ประสบการณ์น้อย ทำให้ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น รู้สึกแต่ว่าเราจะตายอยู่
แล้ว สักพักถึงได้ตั้งสติและ
นึกถึงคำพูดครูว่า ถ้าไม่รู้อะไร ให้ลดมุมปะทุหลัก และรีบจูนหัวขึ้นให้มี
ฟอร์เวิร์ด สปีด แล้วจะรอด เรา
ก็ลองทำทีละขั้นตอน ปรากฏว่าหลุดออกมาได้ เป็นครั้งที่เฉียดตายที่สุดแล้ว
เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ขนลุก
จนเจ็บไปทั้งตัว!! ตั้งแต่นั้นมา ก็เลยได้บทเรียนว่า จะเป็นนักบินที่ดีต้องมี
สติ, มีไหวพริบ, ไม่แหกกฎ,
มีการตัดสินใจที่ดี ช้าไปก็ไม่ดี เร็วไปก็ไม่ดี ต้องรู้จักประมวลเหตุการณ์
อะไรหลายๆอย่างมาตัดสินใจ
เพื่อหาทางออกดีที่สุด
ความสุขของการเป็นหมอกับนักบินแตกต่างกันอย่างไรคะ
ผมว่าหมอกับนักบินคล้ายคลึงกันนะ ตอนเป็นหมอ เราจะมีความสุขทุกครั้งที่ได้
เห็นคนไข้เดินกลับบ้าน
อย่างปลอดภัย และมีญาติมารับ ส่วนเป็นนักบิน ก็รู้สึกภูมิใจทุกครั้งที่ได้
เห็นผู้โดยสารเดินลงจากเครื่อง
และถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ เรียกว่าเป็นความสุขใจที่ได้เห็นคนเดินจากไป
ผมว่าถ้าเราเรียนจบหมอ แล้วคิดอยู่อย่างเดียวว่าต้องผ่าตัดคนไข้ ไม่ยอมทำ
อย่างอื่น วันหนึ่งก็ต้องถึง
ทางตัน เชื่อสิว่า คนเราเกิดมาต้องทำทุกอย่างทุกบทบาทที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
อย่างตอนนี้ ผมได้นำ
ความรู้ด้านการแพทย์มาช่วยนักบินการบินไทย ในกลุ่มงานติดตามดูแลเวชศาสตร์นัก
บิน มีหน้าที่ให้คำแนะ
นำวิธีรักษาที่ดีที่สุด และติดต่อประสานงานกับสถาบันวิทยาศาสตร์การบิน รวม
ทั้งเตรียมความพร้อมทาง
การแพทย์บนเครื่องบิน และรณรงค์เรื่องการออกกำลังกายของนักบิน
เกิดเป็นคนทั้งที ต้องไม่หายใจทิ้งไปวันๆ!!

No comments: