Pineapple TH-PH

Done

Monday, January 28, 2008

กำลังใจ...ยาอายุวัฒนะขนานเอก

น.พ.ยุทธนา ภาระนันท์

ยามใดที่ท่านต้องการกำลังใจและการปลอบโยนมากกว่ากัน ระหว่าง สูญเสียของรัก กับ สูญเสียบุคคลที่

รัก

คมคิด : มีฤดูกาลสำหรับทุกสิ่ง มีวาระเกิดและวาระจาก มีวาระโศกและวาระคลายโศก

หลังลาพักผ่อนยาว ศรีจันทร์กลับมาทำงานด้วยสีหน้าที่ยังคงเศร้าซึมด้วยญาติผู้ใหญ่เพิ่งเสียชีวิตไป

"ศรีจันทร์ ขอแสดงความเสียใจด้วยนะ" วรรณฤดีจับมือศรีจันทร์พร้อมกล่าวด้วยน้ำเสียงสุภาพจริงใจ

"เธอรู้สึกอย่างไรบ้าง"

ศรีจันทร์น้ำตาคลอ และเริ่มเล่าเรื่อง...ขณะที่วรรณฤดีรับฟัง สบตา ใส่ใจและโอบกอดด้วยความรัก

ความเข้าใจ

หากท่านเป็นศรีจันทร์และมีวรรณฤดีปลอบโยนให้กำลังใจ ท่านจะรู้สึกอย่างไร ในยามที่พสกนิกรไทยถวาย

อาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ให้เราหันมา

ปลอบโยนให้กำลังใจกันและกันเถิด

ความเศร้าโศกเสียใจที่เกิดจากการสูญเสีย โดยเฉพาะการสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นปฏิกิริยาทางจิต

ใจที่ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากเศร้าซึมเสียใจอยู่นานเกิน 2 เดือน หรือมีการบกพร่องในการปฏิบัติ

หน้าที่การงานอย่างมากอยู่นาน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสอนให้เราทุกคนควรมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ซึ่งจะช่วยให้เราปรับตัวได้เมื่อเผชิญกับ

การสูญเสียบุคคลที่เรารัก ในทางจิตวิทยาเชิงบวก เรียกว่าบุคคลนั้นมีความหยุ่นตัว (Resiliency) อัน

เป็นหนึ่งในทุนทางจิตวิทยาที่ผู้บริหารสมัยใหม่ควรมีเพื่อรับมือกับความผันผวนและความไม่แน่นอน

(Turbulence and Uncertainty) ของกระแสโลกาภิวัตน์ดังที่ Prof. Pankaj Ghemawat กล่าว

ไว้ใน Harvard Business School เมื่อ 26 ธันวาคม 2007 ที่ผ่านมา

วันนี้ท่านช่วยผู้อื่นให้รับมือกับความเศร้าโศกเสียใจได้เหมาะสมเพียงใด มาสำรวจด้วยกัน

ท่านช่วยผู้อื่นให้บรรเทาความเศร้าโศกอย่างไรบ้าง

กรุณากาเครื่องหมาย ?หน้าข้อความที่เห็นว่าตรงกับตัวท่าน

_____ ฉันบอกให้เขารู้จักหักห้ามใจ อย่าเสียใจเกินไปเพราะท่านก็จากไปแล้ว

_____ ฉันให้เขาลาพักผ่อน พร้อมแล้วค่อยมาทำงาน

_____ ฉันรู้สึกทุกข์ใจไปกับเขาด้วย และหวังว่าเวลาผ่านไปก็จะดีขึ้น

ข้อเสนอแนะ : หากท่านได้กาเครื่องหมาย ?ในข้อหนึ่งข้อใด อาจใช้ "ทักษะอาลัยใส่ใจ" ช่วยได้

ทักษะอาลัยใส่ใจ (Grief reliever) ช่วยท่านได้

(ทักษะเสริมได้แก่ ทักษะอ่านกายฟังใจ ทักษะสื่อสารอย่างเข้าใจ ดูได้ใน

http://www.oknation.net/blog/youthana)

ทักษะนี้เป็นการช่วยเหลือผู้เศร้าโศกเสียใจจากการสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รัก ซึ่งมักจะมีปฏิกิริยาทางจิตใจ

เป็นลำดับ จาก เสียใจ ตกใจ ปฏิเสธ ซึมเศร้า และโล่งใจ (ดังโมเดลฯ) เพื่อช่วยเขาไม่ติดค้างอยู่ที่

ขั้นใดขั้นหนึ่งนานเกินไปและฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เราช่วยได้ด้วย 3 วิธี ดังคำอธิบายและโมเดล ดังนี้

1.รับฟังอย่างเข้าใจ เป็นการเอาใจใส่ แสดงตัวร่วมกับผู้ทุกข์ใจ โดยไต่ถามและสนใจฟังอย่างจริงใจ

เช่น ถามเปิดว่า "ศรีจันทร์ ขอแสดงความเสียใจด้วย ศรีจันทร์รู้สึกอย่างไร" พร้อมสบตา รับฟัง ไม่ขัด

จังหวะ ไม่พูดสวนความรู้สึก (เช่น ไม่ควรพูดว่า "อย่าเสียใจไปเลย" เพราะจะเป็นการปิดกั้นความรู้

สึก ไม่ให้ระบายออกมา) ซึ่งจะทำให้ผู้ทุกข์ใจรู้สึกมีคนที่รักเขาอยู่ แม้ต้องสูญเสียบุคคลที่เขารักไปก็ตาม

อันเป็นการเชื่อมใจกับผู้ทุกข์ใจ

2.สะท้อนความรู้สึก เป็นการพูดความรู้สึกที่เกิดขึ้นของผู้ทุกข์ให้เขาฟัง ทำให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความรู้

สึกของตนเอง เพื่อเขาจะได้ทบทวนตนเอง เข้าใจตนเองและรับมือได้ดียิ่งขึ้น เช่น

"ศรีจันทร์รู้สึกเสียใจ" "ศรีจันทร์รู้สึกว่าไม่น่าเป็นไปได้" เป็นต้น อันเป็นการสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้

ทุกข์ใจ

3.ถามบวกชวนให้ตัดสินใจ เป็นการถามให้ผู้ทุกข์ใจให้ฉุกคิดในด้านบวกกับเหตุการณ์ ช่วยให้ไม่จมปลักอยู่

ในความเศร้าโศกมากจนเกินไป และชวนเชิญให้ตัดสินใจทำบางอย่างกับชีวิตตนเองที่เหลืออยู่ เช่น

"แม้ท่านจะจากไป ศรีจันทร์คิดว่าชีวิตของท่านได้วางแบบอย่างอะไรให้กับศรีจันทร์บ้าง" อันเป็นการ

ตัดสินใจของผู้ทุกข์ใจ

"หากผู้เศร้าโศกเสียใจอยู่ตรงหน้าท่านขณะนี้ ท่านจะช่วยเขาอย่างไร"

No comments: